Friday, March 15, 2013

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๒๔ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๒๔ )
ชาวเขาในประเทศไทย

          คำว่า " ชาวเขา " หมายถึง ชนกลุ่มน้อยซึ่งอาศัยอยู่ในแถบภูเขาทางตอนเหนือของประเทศไทย ชาวเขาแต่ละเผ่าต่างก็มีภาษา วัฒนธรรม การแต่งกายและลัทธิความเชื่อของตนเองห่างจากเผ่าอื่นๆ ชาวเขาเหล่านี้อพยพมยังประเทศไทย จากธิเบต พม่า จีน และประเทศลาวในช่วง ๒๐๐ กว่าปีที่ผ่านมานี้

          ประมาณว่า ในประเทศไทยมีชาวเขาอยู่ถึง ๒๐ เผ่าซึ่งมีประชากรทั้งหมดประมาณ ๕๕๐,๐๐๐ คน ในจำนวนนี้ มี ๖ เผ่าใหญ่ ด้วยกันคือ เย้า กะเหรี่ยง อาข่า ( อีก้อ ) ละฮู ( มูซอ ) ม้ง ( แม้ว ) และลีซอ โดยปกติชาวเขาเหล่านี้จะปลูกข้าว ข้าวโพดและพืชผลการเกษตรอื่นๆ บนเนินเขา ถึงแม้ว่าในอดีต ชาวเขาบางเผ่าเช่น เย้า ลีซอและแม้วจะเคยปลูกฝิ่นมาก่อน แต่ตอนนี้โดยการสนับสนุนของโครงการในพระราชดำริ พวกเขาก็หันไปเลียงชีพ โดยการปลูกผลไม้เมืองหนาวแทน เช่น แอปเปิ้ล สตรอเบอรี่ และพืชเศรษฐกิจอื่นๆ อย่างเช่น ถั่วคิดนีย์ กาแฟ ผัก และไม้ดอก ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้ชาวเขาเลิกทำลายป่าไม้ โดยการแผ้วถางเพื่อทำการเพาะปลูกแบบเลื่อนลอย



           เป็นเรื่องค่อนข้างปกติถ้าพบว่า ชาวเขาแต่ละเผ่า แต่ละหมู่บ้านจะพอใจไปคนละอย่างกันในเรื่องของงรูปทรง และการออกแบบบ้านของพวกเขา แต่โดยทั่วๆ ไปแล้ว บ้านชาวเขาจะสร้างขึ้นโดยยึดหลักเบื้องต้น ๒ ประการ กล่าวคือ ถ้าไม่ปลูกบนพื้นดินและปรับหน้าดินให้เรียบ เพื่อใช้เป็นพื้นแล้วก็จะปลูกโดยการยกพื้นสูงจากดินประมาณ ๒ - ๓ ฟุต โดยมีเสารองรับ วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง โดยทั่วไปก็ใช้เสาไม้ไผ่ ฟาก เสาไม้ แผ่นกระดานหลังคามุงหญ้าแฝก และใบไม้ใหญ่ๆ เช่น ใบตาล เป็นต้น

           ปัจจุบันนี้ มีการติดต่อและค้าขายระหว่างชาวเขา และชาวพื้นราบมากขึ้น ในขณะเดียวกันชาวรุ่นใหม่ก็ใช้ชีวิต โดยออกสู่โลกภายนอกมากขึ้น โดยลงมาศึกษา หรือไม่ก็หางานทำในเมืองดังนั้น เมื่อเราไปเที่ยวทางภาคเหนือ เราก็จะพบว่า มีชาวเขาหลายคนขายผลิตภัณฑ์ทำจากมือและของที่ระลึก บางคนก็พูดภาษาอังกฤษได้ดี ชาวเขารุ่นใหม่ดูจะมีชีวิตที่ดีกว่าบรรพบุรุษของพวกเขามากเพราะว่าบรรพบุรุษของพวกเขามีชีวิตความเป็นอยู่แบบแทบจะตัดขาดจากโลกภายนอกโดยสิ้นเชิงก็ว่าได้





By Essays on Thailand

No comments:

Post a Comment