Friday, September 21, 2012

คนฉลาดมักเป็นเครื่องมือของคนโง่ Part 2





คนฉลาดมักเป็นเครื่องมือของคนโง่ Part 2

           ในพจนานุกรมสำนวน อธิบายคำว่า " คนฉลาดมักตกเป็นเครื่องมือของคนโง่ " ไว้ดังนี้

           " คนฉลาดช่วงใช้คนโง่เป็นเรื่องธรรมดา แต่ในสังคนเรานี้ มักเกิดปรากฏการณ์ตรงข้าม ตัวอย่างเช่น ใกล้เลิกงานแล้ว เห็นเพื่อนร่วมงาน คนหนึ่งทำงานยังไม่เสร็จ ในเมื่อทุกคนทำงานด้วยกัน จะกลับบ้านโดยทิ้งเขาไว้คนเดียวก็ไม่ดี ทุกคนทำงานเสร็จแล้ว จึงเข้าไปช่วยกันคนละไม้คนละมือ เห็นได้ชัดว่า คนฉลาดคนเก่ง ล้วนเป็นแบบนี้ ต้องทำงานมากกว่าคนโง่คนไม่เก่ง 2-3 เท่า "

           ข้างต้นนี้ คือ คำอธิบายในพจนานุกรมสำนวน ซึ่งแฝงนัย " คนฉลาดล้วนแต่เข้าเนื้อ " และ " คนฉลาดกลับสิ้นไร้ไม้ตอก "


           นัยอธิบายข้างต้นนี้ ตั้งอยู่บนจุดยืนแฝง " กูทำถูก คนอื่นล้วนไม่ไดเรื่อง " แต่ก็อธิบายต่างมุมได้ดังนี้

            ก่อนอื่นที่สุด คำว่า " คนลาดกลับสิ้นไร้ไม้ตอก " นั้น อาจอธิบายได้ว่า " เพราะขาดความมุ่งมั่นและการควบคุมตัวเอง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำนั้นก็เพียงทำเล่นๆ หรือหยิบโหย่ง ผลคือ ทำไม่เป็นและรู้ไม่จริงสักอย่าง จึงไม่ได้เงิน "

            ผมจะไม่ขอวิจารณ์ว่า คำอธิบายข้างต้นถูกต้องหรือไม่ แต่ผมเห็นว่า เป็นประโยชน์กับการแก้ไขปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น

            ขอพูดถึงคุณคานาซาว่า ครูใหญ่โรงเรียนมัธยมปลาย อำเภอนาระ ซึ่งเป็นครูใหญ่ที่มีชื่อเสียงโด่งดังดังรู้จักกันทั่ว ท่านเคยเล่าประวัติของท่านให้ฟังว่า

            ครั้งหนึ่ง ท่านถูกส่งไปเป็นครูใหญ่ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง สภาพแวดล้อมที่นัั่นแย่มาก แม้แต่ประตูกระจกแตกร้าวไม่ได้เปลี่ยน ครูที่นั่นล้วนพูดกับท่านว่า " อยู่โรงเรียนแบบนี้ ลาออกดีกว่า " แต่ท่านกลับพูดว่า " โรงเรียนนี้ดีมาก ประการแรก ทิวทัศน์สวยดี ผมไม่เคยเห็นโรงเรียนสวยแบบนี้มาก่อน... "

            " ครั้งหนึ่ง นักเรียนกลุ่มหนึ่งจะจับผมโยนลงสระน้ำ ผมบอกว่า ก็ดี ! พวกเธอช่วยไปเอาผ้าเช็ดตัวและสบู่มาให้ด้วย ! " 

             พวกนักเรียนได้ยินเช่นนั้น ไม่รู้จะเอาอย่างไรดี อาจเป็นเพราะว่าสะใจและทึ่งในไหวพริบของท่าน จึงล้มเลิกความตั้งใจที่จะจับท่านโยนลงสระน้ำ โดยที่ท่านคาดไม่ถึง

             " เดี๋ยวนี้การเป็นครูไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะครูส่วนใหญ่คัดมาจากนักศึกษาที่เรียนดีมก่อน แต่พวกเขากลับไม่เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของเด็กนักเรียนที่หัวไม่ดี ขาดพลังแห่งการโน้มน้าวจูงใจแนะนำอบรมสั่งสอน จึงไม่เป็นที่ประทับใจของเด็กนักเรียน "

             ตอนที่ท่านเป็นครูโหญ่โรงเรียนมัธยมแห่งนี้ใหม่ๆ ทุกเช้าจะมีนักเรียนมาสายนับร้อยคน แต่ท่านสันทัดในการแก้ปัญหาประเภทนี้มาก ภายในเวลาไม่นาน ท่านก็สามารถฟื้นฟูระเบียบวินัยขึ้นมา 

             ยามประสบภยันตราย คนฉลาดมกสูญเสียวิจารณญาณ ท่ามกลางวิกฤตนั้น คนที่สามารถปฏิบัติงานอย่างสุขุม ส่วนใหญ่คือ คนฉลาที่รู้จักแสร้งโง่




by อิบูคิ ทาคาชิ, โทขุระ โทราโอะ ( คนฉลาดแสร้งโง่ )