Wednesday, September 05, 2012

ปรัชญาชีวิตแบบแสร้งโง่

     

          เมื่อดูพฤติกรรมอวดฉลาดหรือแสร้งโง่จาก " ผลได้ผลเสียของการอวดฉลาดและการแสร้งโง่ " ขอให้เราลองนำมาเปรียบเทียบกับตัวเองทีละข้อดู ถึงการเปรียบเทียบเช่นนี้ จะมีแนวโน้มเข้าข้างตัวเองไม่มากก็น้อย ความน่าเชื่อถือต่ำ แต่ก็น่าจะพบว่า ตัวเองมีพฤติกรรมอวดฉลาดมากกว่าแสร้งโง่

         ทาขะกิ โตมิสึ รองกรรมการผู้จัดการบริษัทสุราแห่งหนึ่ง ท่านเล่าให้ฟังว่า

          " สมัยตอนผมยังเด็ก คุณพ่อมักพูดว่า ถ้าชกต่อยกับคนอื่น ต้องแพ้กลับมา ! ท่านพูดอีกว่า ถ้าชนะไม่ต้องเข้าบ้าน ชกต่อยชนะเพาะสร้างความแค้นชิงชังไว้ "

         ผมรู้สึกว่า มีเหตุผลลึกซึ้งมาก พ่อของเขาไม่ธรรมดา

         ตระกูลของท่าน ทาขะกิ ตั้งโรงหมักสุราตั้งแต่สมัยเอโดะ บริษัทของเขาชื่อ บริษัทสุราทาขะกิ จำกัด ถึงผมจะได้ยินบ่อยๆ ว่า แต่เมื่อนำคำพูดข้างต้น นี้เปรียบเทียบกับคำถ่อมตัวของท่านทาขะกิที่ว่า  " บริษัทผมเพิ่งมีอายุ 30 ปี " ก็รู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ของท่านและบริษัทนี้อย่างแท้จริง  เคล็ดลับที่บริษัทนี้สามารถผ่านกาลเวลาอันยาวนานคงอยู่ตราบทุกวันนี้ ซ่อนอยู่ในวาทะ " ชกต่อยต้องแพ้กลับมา ถ้าชนะเท่ากับเพาะสร้างความชิงชัง " นี่เอง


         ตารางผลได้ผลเสียอธิบายเหตุผลที่ว่า " อวดฉลาด คนเกลียด " และ " แสร้งโง่ คนรัก " อย่างชัดเจนมาแล้ว

         ด้านหนึ่งเขียนตารางผลได้ผลเสียดังกล่าว อีกด้านหนึ่งก็ค้นพบโทษกรรมของการอวดฉลาดมากขึ้น เราต่างเคยทำให้คนจำนวนไม่น้อยตำหนิบริภาษเรา โดยไม่รู้ตัวมาแล้ว นี่คือความโง่ที่แท้ คือความพยายามจากหลายๆ ทางในการทำให้คนอื่นเกลียดชังเรา

         สาเหตุสำคัญที่ทำให้เราตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ คือ สำนึกแฝงจากความต้องการและสัญชาตญาณในตัวเรานี่เอง

         ความต้องการและสัญชาตญาณ คือ ลักษณะของสัตว์ ซึ่งถือว่าตัวเองเป็นศูนย์กลาง กาสนองความพอใจแก่ตัวเอง จึงมักทำให้คนอื่นไม่พอใจ การทำตามอำเภอใจ มีแต่จะทำให้คนอื่นเกลียดชัง เพราะฉะนั้น เราต้องใช้ " สติ " ควบคุมตัวเอง การควบคุมตัวเองก็คือกรแตะเบรกความต้องการ คือ การใช้ " สติ " ข่มความต้องการ เช่น อย่าหลงตัวเอง อย่าอวดฉลาด ชกต่อยอย่าชนะ

        การข่มความต้องการนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะความต้องการมักเพิ่มความร้อนแรงเมื่อเกิดอารมณ์หงุดหงิด หากไม่ได้ฝึกฝนวิธีแตะเบรกความต้องการมาอย่างดีแล้ว ก็จะตกอยู่ในภาวะไม่สามารถแตะเบรกความต้องการอย่างทันท่วงที เพราะความต้องการเป็นลักษณะของการถือตัวเป็นศูนย์กลาง จึงมักรู้สึกไม่พอใจและโมโหโกรธาต่อการกระทำของคนอื่นอย่างฉับพลันรุนแรง นี่คือความรู้สึกเอาแต่ใจที่ว่า " มึงผิด กูถูก " เมื่อพฤติกรรมถูกอารมณ์ความรู้สึกเช่นนี้ครอบงำแล้ว ก็จะทำให้คนอื่นเกลียดชัง เพราะฉะนั้น ขณะที่เราพบว่าตัวเองกำลังโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ ขอให้ถามตัวเองดูว่า

        " ผมรู้แน่ชัดว่าคุณเป็นคนเฉลียวฉลาด แต่ตอนนี้ลองแสร้งโง่บ้าง ฟังดูว่าคนอื่นเขามีความคิดเห็นอย่างไร ดีไหม " ?

       ผมรู้สึกว่าการแสร้งโง่ก็คือเรื่องทำนองนี้ !!




by อิบูคิ ทาคาชิ, โทขุระ โทราโอะ ( คนฉลาดแสร้งโง่ )

No comments:

Post a Comment