Sunday, May 12, 2013

ผมยังไม่โง่ถึงขนาดต้องการให้คนอื่นเรียกผมว่า อาจารย์

ผมยังไม่โง่ถึงขนาดต้องการให้คนอื่นเรียกผมว่า อาจารย์

          ความสัมพันธ์ด้านอาชีพ " ที่ปรึกษานักธุรกิจ " ทำให้ทุกคนมักเรียกผมว่า " อาจารย์ " 

          ครั้งแรกที่คนอื่นเรียกผมว่า " อาจารย์ " คือ ตอนที่ผมจัดงานประชาสัมพันธ์ ขึ้นเวทีแสดงปาฐกาถา เนื่องในโอกาสจัดพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งออกวางตลาด ความรู้สึกที่เป็นจริงตอนนั้นคือ คลื่นไส้ แต่คิดอีกที นี่คือ ความเคยชินที่เรียกกันไปอย่างนั้นเอง จึงพยายามไม่คิด จะเที่ยวปฏิเสธโดยให้เหตุผลทีละข้อ คงไม่ไหว

          จากครูโรงเรียนอนุบาลถึงศาสตราจารย์ในมหาวิทยายลัย ล้วนเป็น " อาจารย์ " หมายความว่า ผู้ทำหน้าที่ประสิทธิ์ประศาสน์ความรู้ให้คนอื่นล้วนเป็น " อาจารย์ " 

          ผมคิดถึงคำว่า " ผมยังไม่โง่ถึงขนาดต้องการให้คนอื่นเรียกว่าผมว่า อาจารย์ " แม้ผมจะไม่มีความสามารถและความอดทนมากนัก แต่ผมกลับต้องสอนคนอื่น พูดไปแล้วประหลาด ผมรู้ชัดว่านี่ผมกำลัง " ทำให้ลูกหลานคนอื่นหลงทาง " ผมไม่ต้องการแก้ต่างให้กับตัวเอง ผมไม่เคยจำหน่ายตัวเองโดยคิดว่าผมเป็นอาจารย์ ผมชอบเขียนหนังสือ อาจจะบังเอิญที่มีคนอ่านหนังสือของผม แล้วอยากสนทนากับผม ( ขอเพียงไม่รังเกียจ... ) ผมจึงเที่ยวแสดงปาฐกถาไปทั่วทุกหนแห่ง นานวันเข้าก็กลายเป็นที่ปรึกษานักธุรกิจ


          คำว่า " ที่ปรึกษานักธุรกิจ " แม้เป็นเป้าหมายของผม แต่ก็เป็นการตั้งชื่อตามความพอใจ และเรียตัวเองแบบนี้ไปก่อน โดยที่ผมรู้ตัวว่ามีคุณสมบัติไม่พอตั้งแต่แรก เป็นเพียงการวาดหวัง

          นับแต่คนอื่นเรียกผมว่า " อาจารย์ " จนทุกวันนี้ล่วงเลยมากว่า ๒๐ ปี ผมเพิ่งรู้ว่า ผมพอจะมีคุณสมบัติบ้างแล้ว แต่ในอีกด้านหนึ่ง ผมยังรู้สึกว่าตัวเองคล้าย " สุนัขจิ้งจอกหลอกยืมอิทธิพลเสือ " อยู่ดี 

          พูดไปแล้วประหลาด คนอื่นเรียกเราว่า " อาจารย์ " เราย่อมรู้สึกปิติยินดี เพราะเป็นการเรียกอย่าง " ยกย่อง " บางคนเล็งเห็นความรู้สึกดังกล่าวจึงเจตนายกย่องใครต่อใครว่า " อาจารย์ " 

           ผมรังเกียจการเสแสร้งนี้มาก แค่เรียกใครว่า " กรรมการผู้จัดการ " ผมต้องใช้ความพยายามอย่างมาก กว่าจะหลุดออกจากปากได้ ไม่ว่าพบใคร ผมจะเรียก " คุณ... " หมด นี่คือ ด้านที่ " ใช้การไม่ได้ " ของผม

           ชาวญี่ปุ่นเรียกคนอื่นว่า XXX KUN ( กุน ในภาษาญี่ปุ่น แปลว่า คุณ ) เช่นกัน แต่เป็นคำที่ผู้ใหญ่เรียกผู้ด้อยอาวุโส การใช้คำว่า KUN เรียกคนอื่นนี้ผมรู้สึกมาโดยตลอดว่า รับไม่ค่อยได้ ทุกวันนี้จึงเรียกคนอื่นว่า " คุณ " ( ในความหมายธรรมดา ) หมด

           นักธุรกิจคนหนึ่งพูดกับผมว่า " จำเป็นด้วยหรือที่ต้องถือทิฐิแบบนั้นมนุษย์ทุกชาติทุกภาษาจำเป็๋นต้องมีการแบ่งชนชั้นทั้งนั้น "

           " ถึงเป็นหมู ถ้ารู้จักยกย่องชมเชยมัน มันก็ปีนขึ้นต้นไม้ได้ " อาจเป็นเพราะเหตุนี้กระมัง เราจึงยอมยกย่องเขาเป็นอาจารย์ ดูซิว่าเขาดีใจหรือไม่ ขณะเดียวกัน ก็ช่วยให้เราเข้าใจการวางตัวของเขาได้อย่างทะลุปรุโปร่ง หรือถ้าเรียกเขาว่า XXX KUN ก็แสดงบารมีของเราได้

          ครั้งไปร่วมงานสมาคมศิษย์เก่าเมื่อปีที่แล้ว อาโตคิ อดีตเพื่อนนักศึกษาหญิงคนเก่งนั่งข้างผมสมัยเรียนห้องเดียวกัน ยังประทับใจและคิดถึงเรื่องในอดีตมาก เธอเรียกชื่อจริงของผมไม่หยุด " โยชิโร... โยชิโร... " ( ชื่อเดิม ) ขณะถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก เธอกุมมือผมไว้แน่นตลอด ตอนนั้นผมเกิดความรู้สึกอย่างลึกซึ้งว่า การถือทิฐิกับคำเรียกยกย่องหนึ่งใดนั้นใช้ไม่ได้สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับคนเราคืออารมณ์และรสนิยมที่ตรงกันมากกว่า




by อิบูคิ ทาคาชิ, โทขุระ โทราโอะ ( คนฉลาดแสร้งโง่ )

No comments:

Post a Comment