ครั้งหนึ่งกษัตริย์แห่งรัฐฉู่ได้ทรงจัดงานเลี้ยงต้อนรับเอี้ยนจื่อในฐานะที่เป็นทูตมาจากรัฐฉี เมื่อขันทีรินเหล้าให้แก่ผู้มาร่วมงานเลี้ยงครอบสามรอบแล้ว ก็มีหน้าที่จับชายคนหนึ่งนำเข้ามาในห้องโถงกษัตริย์แห่งรัฐฉู่ทรงแสร้งทำเป็นแปลกพระทัย ตรัสถามว่า
" พวกเจ้าจับใครมา "
เจ้าหน้าที่ทูลว่า เป็นคนรัฐฉี มีความผิดในฐานะเป็นโจรพะย่ะค่ะ กษัตริย์แห่งรัฐฉู่หันพระพักตร์มองเอี้ยนจื่อตรัสว่า " อ้อเป็นคนรัฐของพวกท่าน คนรัฐฉีคงมีนิสัยลักขโมยจนเคยชินกระมัง ? "
เอี้ยนจื่อลุกขึ้นยืนกล่าวตอบว่า " ข้าพเจ้าได้ฟังมาว่า ส้มนั้นเมื่อปลูกที่ภาคใต้ก็ออกมาเป็นส้ม แต่เมื่อย้ายไปปลูกภาคเหนือแล้วก็จะกลายเป็นต้นจื้อไป อันต้นจื้อนั้น ถึงแม้ใบมันจะเหมือนส้ม แต่ลูกของมันผิดกันมากการที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะดินฟ้าอากาศต่างกันราษฎรที่กำเนิดในรัฐฉีนั้นไม่เคยมีใครลักขโมยของ แต่เมื่อมารัฐฉู่ก็กลายเป็นขโมยไป ข้าพเจ้าทูลถามพระองค์ว่า นี่จะเป็นเพราะดินฟ้าอากาศของรัฐฉู่ทำให้มีนิสัยกลายเป็นขโมยขโจรไปใช่หรือไม่ ? "
บันทึกใน " เอี้ยนจื่อชุนชิว "
มุมมองปรัชญา
คำพูดของกษัตริย์แห่งรัฐฉู่และของเอี้ยนจื่อทีกล่าวเสียดสีกันในเรื่องนี้ล้วนเป็นการเอาความบังเอิญ ( contingency ) มาแทนความจำเป็นไป ( necessity ) เอาเฉพาะส่วนมาแทรกทั่วไป ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักตรรกวิทยา แต่เนื่องจากเอียนจื่อต้องการจะโต้กลับ และใช้สำนวนที่ว่าส้มย่อมกลายเป็นจื้อเมื่อเปลี่ยนที่ปลูกนั้นเป็นการอธิบายว่า สิ่งเดียวกันเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมเงื่อนไขที่ต่างกัน ย่อมจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไป สภาพแวดล้อมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความประพฤติของคน
By ปรัชญาชีวิตในสุภาษิตจีน
No comments:
Post a Comment