Friday, February 15, 2013

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๒๐ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๒๐ )
ชีวิตเด็กวัด

          ชีวิตเด็กวัดในต่างจังหวัดนั้นน่าสนใจมาก แต่เช้าตรู่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เขาต้องเตรียมบาตและปิ่นโตให้พระ และเมื่อพระท่านพร้อมสำหรับการออกเดินบิณฑบาตในหมู่บ้าน เด็กวัดก็จะต้องถือปิ่นโตให้พระทุกๆ วันเขาจะติดตามพระผู้ซึ่งออกไปบิณฑบาตห่างออกไปจากวัดประมาณ ๒ - ๓ กม. มีหลายครั้งที่เด็กวัดต้องวิ่งหนีเอาตัวรอด เมื่อต้องเผชิญกับฝูงสุนัขดุ

          โดยปกติแล้วการบิณฑบาตนี้จะแบ่งออกเป็นหลายสาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดที่มีพระภิกษุและสามเฌรมาก บางสายเด็กวัดคนเดียวก็พอ ในขณะที่บางสายก็ต้องมีเด็กวัดติดตามถึง ๒ คน หรือมากกว่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของอาหารที่ชาวบ้านถวาย โดยปกติแล้วชาวพุทธมักจะชอบทำบุญในวันพระ หรือไม่ก็เนื่องในโอกาสสำคัญๆ อย่างเช่น วันขึ้นปีใหม่ เป็นต้น ดังนั้นในโอกาสเช่นนี้อาหารและของไทยธรรมอื่นๆ จะถวายแก่พระและเณรมากเป็นกรณีพิเศษ

           เมื่อกลับมาถึงวัด เด็กวัดก็จะเตรียมอาหารเพื่อถวายพระและเณรทันที ตามพุทธบัญญัติพระภิกษุจะฉันของขบเคี้ยว โดยมิได้มีการประเคนด้วยมือจากอุบาสกหรืออุบาสิกาไม่ได้ ยกเว้นน้ำและของที่มีลักษณะคล้ายเป็นน้ำเท่านั้นที่ไม่ต้องประเคน หลังจากพระภิกษุสงฆ์ฉันอาหารเสร็จแล้ว เด็กวัดก็จะเก็บอาหารบางส่วนไว้ให้พระและเณรได้ฉันในมื้อที่สอง ซึ่งจะต้องฉันก่อนเที่ยงวัน แต่พระภิกษุบางรูปผู้ปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด ก็สมัครใจที่จะฉันอาหารมื้อเช้าเพียงมื้อเดียวเท่านั้น หลังจากนั้นเด็กวัดก็จะรับประทานอาหารที่เหลือไว้ โดยพระและเณรเหล่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะความเชื่อที่ว่าเป็นบาปถ้าหากว่าฆราวาสจะทานสิ่งของใดๆ ก่อนพระหรือเณร หลังจากเที่ยงวันไปแล้ว สิ่งของขบเคี้ยวใดๆ ก็จะไม่รับพุทธานุญาตให้ขบฉันเว้นไว้แต่ของเหลว เช่น น้ำ เครื่องดื่มหรือนมพาสเจอรไรส์ เป็นต้น



          เนื่องจากว่าพระและเณรจะแต่งกายคล้ายคลึงกัน และบางครั้งก็มีอายุเท่ากัน ด้วยเหตุนี้บางครั้งก็เป็นการยากที่จะแยกแยะโดยการดูจากลักษณะภายนอก แม้กระนั้นก็ยังมีข้อแตกต่างกันมากรหว่างพระและเณร กล่าวคือ ในขณะที่พระภิกษุรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ สามเณรรักษาศีลเพียง ๑๐ ข้อ นอกจากนี้พิธรกรรมทางศาสนาที่สำคัญๆ ก็ไม่อนุญาติให้สามเณรเข้าร่วม เช่น พิธีอุปสมบทและในขณะเข้าร่วมพิธีกรรมที่สำคัญๆ นี้พระภิกษุจะต้องคล้องผ้าเหวี่ยงบ่าเรียกว่า " ผ้าสังฆาฏิ "

          เด็กวัดจะทำหน้าที่เหมือนกับสาวใช้ แต่ว่าเด็กวัดไม่ได้รับค่าจ้างเท่านั้นเอง ตรงกันข้ามเขาทำงานก็เพื่อได้บุญกุศล แถมยังมีอาหารและที่พักฟรีอีกต่างหาก ถ้าพูดตามตรงแล้วชีวิตเด็กวัดก็ไม่ได้สบายอย่างที่เห็น โดยฉพาะอย่างยิ่งวัดในชนบท เพราะชาวบ้านใกล้เคียงส่วนใหญ่กจะเป็นชาวนาผู้ยากจน ดังนั้น อาหารที่ถวายพระและเณรก็จะถวายแต่จำกัด ด้วยเหตุนี้ ก็มีอยู่หลายครั้งที่อาหารมีเหลือให้เด็กวัดเพียงนิดหน่อยเท่านั้น

           บางคนอาจจะถามว่า ทำไมเด็กเหล่านี้จึงต้องมาเป็นเด็กวัด ( เด็กผู้หญิงไม่อนุญาติ ) คำตอบก็คือว่า เพราะบิดามารดาของพวกเขาส่วนใหญ่เป็นชาวนาผู้ยากจน ผู้ซึ่งพบว่าการส่งบุตรไปอยู่กับพระที่วัดจะช่วยให้เขาได้รับอาหารและที่พักฟรี พร้อมกันนี้ การได้รับใช้พระและเณรก็ยังจะได้รับบุญกุศลตอบแทนด้วย อย่างไรก็ตามในบางรายก็เป็นเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะดีแต่บิดามารดาต้องการให้เขาอยู่วัด ซึ่งก็เป็นที่ตั้งของโรงเรียนอีกด้วย ในขณะเดียวกัน ถ้าเขาได้อยู่กับพระเขาก็จะเป็นเด็กดี เพราะว่าโดยปกติพระจะอบรมสั่งสอนศีลธรรม และฝึกให้เขามีระเบียบวินัยและเป็นชาวพุทธที่ดี

          ที่เห็นได้ชัด หลายคนที่มีตำแหน่งสูงๆ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนในขณะนี้ก็เคยเป็นเด็กวัดมาก่อน นี่ก็แสดงให้เห็นว่าการใช้ชีวิตในวัดนั้นมีค่าจริงๆ เพราะว่าเด็กๆ สามารถเจริญเติบโตในสิ่งแวดล้อมที่เพรียบพร้อมด้วยจริยธรรม เขาจะได้ซาบซึ้งต่อคำสอนทางศาสนา ซึ่งโดยปกติก็จะสั่งสอนให้ทุกคนเป็นคนดี ละเว้นความชั่วและทำจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ





By Essays on Thailand

No comments:

Post a Comment