Tuesday, October 07, 2014

มีใจร่วมกัน


มีใจร่วมกัน

         " มีใจร่วมกัน " คือการสื่อสัมพันธ์ที่มีคุณค่ายิ่ง คนที่มีใจตรงกันเรียกว่าสหาย บางคนเรียกว่าเพื่อนร่วมสำนัก เพื่อนร่วมค่าย เพื่อนร่วมเรียน

         คำว่า ร่วมใจ คือมีความตั้งใจร่วมกัน มีความคิดร่วมกัน มีเป้าหมายร่วมกัน มีมุมมองร่วมกัน คนเราแม้ว่ามีหลายอย่างต่างกัน เช่น ต่างประเทศ ต่างชนชาติ ต่างผิวพรรณ ต่างเพศ ต่างภาษา ต่างระดับ แต่ขอเพียงมีใจร่วมกัน ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่ทำไม่สำเร็จ

         ในการบริหารแผ่นดิน แม้ว่าจะต่างพรรคการเมือง แต่อุดมคติเพื่อประเทศชาติต้องร่วมใจกัน ในองค์กรหนึ่ง แม้ว่าผลประโยชน์จะต่างกัน แต่เพื่อแผนพัฒนาองค์กร จึงต้องมีความคิดไปในทิศทางเดียวกัน นิกายต่างๆ ในศาสนาอาจมีอุดมคติต่างกัน แต่การศรัทธาและการพัฒนาต้องมีใจร่วมกัน พี่น้องร่วมใจแข็งแกร่งดุจเพชร ในเมื่อนับถือศาสนาเดียวกัน อยู่องค์กรเดียวกัน ไยจึงมีข้อคิดเห็นแตกต่างกันมากมายได้อย่างไร ภาษิตว่า " ไม่กลัวเสือมีสามปาก แต่กลัวคนมีใจเป็นสอง " จึงเห็นได้ว่าการมีใจร่วมกันเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

          พ่อแม่ไม่ร่วมใจ แม่ลูกไม่ร่วมใจ พี่น้องไม่ร่วมใจกัน โบราณท่านว่า " ครอบครัวไม่สามัคคี ข้างบ้านรุมรังแก " ในทางตรงกันข้าม คนที่แม้จะเกิดต่างสกุล แต่ร่วมสาบานเป็นพี่้น้องกัน เช่น เล่าป่ กวนอู เตียวหุย สาบานว่าร่วมกันทำการใหญ่ กระทั่งสร้างก๊กสู่ขึ้นมาได้ เรื่องราวของพวกเขายังคงเป็นที่เล่าขานมาจนถึงงทุกวันนี้ แต่ก็มีบางกลุ่มบางพวกที่แรกเริ่มร่วมใจกันทำการใหญ่ มีความรักใคร่สามัคคีปรองดองกัน นับถือเป็นพี่เป็นน้องกัน แต่เมื่อการใหญ่ทำสำเร็จ กลับพากันแย่งชิงผลประโยชน์ ยื้อแย่งอำนาจบารมีกัน ต่างระแวงสงสัยกัน อย่างนี้เรียกว่า " มีทุกข์ร่วมต้าน มีสุขไม่ร่วมเสพ " เพราะความไม่ร่วมใจกันจึงต้องพังทลายในที่สุด


         ในระหว่างสงครามต่อต้านญี่ปุ่น ประเทศจีนไม่มีอะไรเลยที่จะไปต่อกรกับประเทศมหาอำนาจอย่างญี่ปุ่น แต่เนื่องจากประชาชนทั้งประเทศต่างเคียดแค้นศัตรูคนเดียวกัน มีใจร่วมกัน ในที่สุดสงครามต่อต้านจึงได้รับชัยชนะ การที่กลุ่มฝักกลุ่มฝ่ายของประเทศจีนในอดีตสามารถสร้างพลังที่เข้มแข็งได้ทั้งนี้เป็นเพราะคติความสามัคคีปรองดองเป็นพี่น้องกัน แสดงให้เห็นถึงความมีคุณธรรมประจำใจร่วมกัน

         คำว่า " มีใจร่วมกัน " ไม่ใช่ว่าจะให้ทั้งประเทศเหมือนกัน คนทั้งหมดเหมือนกัน คนในบ้านเหมือนกัน ขอเพียงแต่ว่า ให้มีเงื่อนไขอันเดียวกัน ความจริงทุกคนต่างมีความมุ่งมั่นของตัวเอง มีเงื่อนไขของตัวเอง เป็นเรื่องปกติซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพียงแต่ต้องมีหลักการใหญ่ไปในทิศทางเดียวกัน ต้องถือส่วนรวมเป็นสำคัญ ดังคำที่ว่า " เสียสละส่วนน้อย เพื่อรักษาส่วนใหญ่ " นี่แหละ คือการมีใจร่วมกัน

         การจะสร้างความร่วมมือร่วมใจระหว่างคนด้วยกันเป็นเรื่องยาก ซึ่งนอกจากร่วมใจแล้ว ยังต้องให้การยอมรับความแตกต่าง นี่ยิ่งยากกว่า พระโพธิสัตว์ซึ่งเปี่ยมด้วยมหาเมตตากรุณา แม้ว่าจะบรรลุธรรมแล้ว ยังมีพระเมตตาจิตอันสุดประมาณ เพราะพระธรรมธาตุทั้งสิบนั้นล้วนอยู่ภายในจิตใจ ไยต้องไปแบ่งแยกให้เสียเวลาเปล่าเล่า ?




By ตื่นอย่างเซน

No comments:

Post a Comment