Monday, April 28, 2014
เอาตัวรอด เมื่อใกล้ตาย
เอาตัวรอด เมื่อใกล้ตาย
ในบทนี้เขาเปรียบเทียบให้เห็นการเอาตัวรอดในสถานการณ์ที่คับขันเพื่อรักษาชีวิตเอาไว้ให้ได้ ถ้าเปรียบกับสำนวนไทยอาจจะเหมือนที่ท่านสุนทรภู่กล่าวเอาไว้ว่า " รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี " เพราะในความเป็นจริงนั้นไม่มีอะไรสำคัญกว่าชีวิตอีกแล้ว
หากจะเรียกว่า " ยอมเสียอวัยวะ " เพื่อรักษาชีวิต " ในสุภาษิตจีนก็คงมีความหมายคล้ายๆ กัน
ในสำนวนบทนี้ยังอาจหมายถึงการยอมเอาตัวเข้าเสี่ยงอันตรายเพื่อให้รอดชีวิตได้อีกด้วย
แวดวงธุรกิจการค้านั้นอาจจะมองได้อีกเรื่องหนึ่งว่า การทุ่มเสี่ยงงานสำคัญเพื่อทำให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้หรือการเสียส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่ไว้
บุญชัย เบญจรงคกุล ผู้ก่อตั้งแทค ที่เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือที่ชื่อ " แทค " และภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น " ดีแทค " ตระกูลเบญจรงกุลนั้นต่อสู้ในสมรภูมิธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมนานหลายสิบปีอย่างทรหด อดทนผ่านวันเวลาทั้งดีและร้ายแรงมาหลายครั้ง
ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ต้องเผชิญกับวิกฤตทางการเงินจากการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทของรัฐบาลพลเอกเชาวิต ยงใจยุทธ ทำให้มีหนี้เพิ่มแบบวันเดียวจาก ๔ หมื่นล้านบาทเป็น ๗ หมื่นล้านบาทในพริบตา แทบล้มทั้งยืน
หลังจากนั้นเขาต้องพยายามแก้ปัญหาที่หันกหน่วงมาโดยตลอด ในที่สุดเขาตัดสินใจขายหุ้นเกือบทั้งหมดในตระกูลให้กลุ่มเทเลนอร์จากประเทศนอร์เวย์ เขากล่าวในวันนั้นว่า
" ถ้าผมยอมแพ้ ปล่อยบริษัทล้มไป ผมจะไปมองหน้าใครได้ลูกน้องตั้งหลายพันคนและครอบครัวเขาอีกล่ะ "
การตัดสินใจในครั้งนั้น เขาหวังเพียงเพื่อให้ลูกน้องซึ่งเปรียบได้ดังชีวิตทั้งหมดขององค์กรได้อยู่รอดปลอดภัย และเพื่อที่จะพอมีเวลาที่เขาจะพลิกฟื้นในส่วนของยูคอมที่ไม่เกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือให้ดีขึ้นมาใหม่ ภายใต้ชื่อ บริษัทเบญจจินดา โฮลดิ้งส์ จำกัด ทำโครงสร้างการสำนึกรักบ้านเกิด และทำวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน
By ปรัชญา " ซามูไร "
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment