เปี่ยนเชี่ยขว้างเข็มหิน
กษัตริย์ฉินหวู่แห่งรัฐทรงประชวรด้วยพระยอด ( ฝี ) ขึ้นที่โหนกพระปรางพระองค์รู้สึกเจ็บปวดทรมานมาก จึงตรัสสั่งให้ไปตามเปี่ยนเชี่ยแพทย์ผู้มีความสามารถมาตรวจและรักษา เปี่ยนเชี่ยถวายการตรวจอย่างละเอียดแล้วทูลว่า
" จำเป็นจะต้องถวายการผ่าตัดพรุ่งนี้ข้าพระองค์จะนำเครื่องมือมาพะย่ะค่ะ "
เมื่อหมอเปี่ยนเชี่ยกลับไปแล้ว พวกขุนนางทั้งหลายก็พอกันเข้ามากราบทูลเตือนกษัตริย์ฉินหวู่ว่า
" พระยอดที่เกิดแก่พระองค์นั้น เกิดที่ด้านหน้าพระกรรณตรงใต้พระเนตรทำการผ่าตัดไม่แน่ว่าจะหายหรือได้ผล ตรงกันข้ามอาจทำให้พระองค์ต้องเสียพระเนตรและพระกรรณได้ "
วันรุ่งขึ้น พอหมอเปี่ยนเชี่ยมาเพื่อถวายการผ่าตัด กษัตริย์ฉินหวู่ก็ตรัสว่าพระองค์ไม่มีพระประสงค์จะทำการผ่าตัด และได้นำเอาเหตุผลที่พวกขุนนางทูลนั้นเล่าให้เปี่ยนเชี่ยฟัง เปี่ยนเชี่ยฟังแล้วไม่พอใจมาก เขาเอาเข็มหินขว้างลงบนพื้นกล่าวว่า
" พระองค์หารือกับผู้ที่มีความรู้ แต่กลับถูกพวกที่ไม่มีความรู้ทำให้เสียการ ! "
บันทึกใน " จ้านกว๋อเช่อ "
มุมมองปรัชญา
พวกขุนนางเหล่านั้นไม่มีความรู้ทางการแพทย์แต่กลับออกความเห็นตามใจชอบด้วยเหตุนี้เปี่ยนเชี่ยจึงไม่พอใจมาก
ไม่ว่าเป็นเรื่องอะไรหรือความรู้แขนงไหนก็ตาม ถ้าไม่มีความรู้แล้วก็ไม่ควรเที่ยวออกความคิดเห็น นี่เป็นความรู้พื้นฐาน แต่ในชีวิตประจำวัน คนเรามักจะไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อไม่รู้แทนที่จะศึกษาหาความรู้ กลับชอบออกคำสั่งยับยั้งสั่งห้าม เพื่อแสดงว่ามีอำนาจมาก มีความรอบรู้ดี ผลของมันกลับเป็นการเผยให้เห็นถึงความไม่รู้และก่อความเสียหายแก่การงาน
By ปรัชญาชีวิตใน สุภาษิตจีน
No comments:
Post a Comment