เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๓๙ )
สภากาชาดไทย
สภากาชาดไทยถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ในช่วงระหว่างเกิดกรณีพิพาทเรื่องชายแดน จึงเป็นเหตุให้เกิดการปะทะกันขึ้นบริเวณชายแดน กลุ่มสตรีไทยชั้นสูงในสมัยนั้นจึงตัดสินใจเข้ารับใช้พระมหากษัตริย์และประเทศชาติ โดยการเข้าช่วยเหลือทหารที่ป่วยและได้รับบาดเจ็บบริเวณชายแดน
สตรีผู้เสนอให้จัดตั้งสภาขึ้นก็คือ ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ( สตรีชั้นสูงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ) หลังจากได้รับพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ ๕ และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภา ผ่องศรี ทรงพระกรุณารับเป็นองค์อุปถัมภ์แล้ว สภาอณุโลมแดงก็ได้รับการจัดตั้งขึ้น ซึ่งในปี พ.ศ.๒๔๓๖ ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสภากาชาดไทยและเข้าเป็นสมาชิกสันนิบาตสภากาชาดเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๔
สภากาชาดไทยได้พัฒนาด้านการบริการและตอบสนองความต้องการของประชาชนเป็นการบรรเทาทุกข์ในท้องถิ่นชนบทห่างไกล โดยการเพิ่มพูนกำลังของสถานีกาชาด หน่วยแพทย์เคลื่อนที่และมุ่งพัฒนาศักยภาพของเหล่ากาชาดและอาสากาชาด เพื่อการร่วมมืออย่างใกล้ชิด
ปัจจุบัน สภากาชาดไทยเป็นองค์การสาธารณกุศลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศได้ดำเนินการมาครบรอบ ๑๐๐ ปีแห่งการให้บริการสังคมไทย ( ๒๔๓๖ - ๒๕๓๖ ) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงให้การอุปถัมภ์สภากาชาดไทยได้รับเกียรติอย่างสูง ทีพระองค์ทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงดำรงตำแหน่งอุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย
จากขอบข่ายงานอันกว้างขวางและการริเริ่มที่สำคัญต่อวงการแพทย์และงานการสงเคราะห์ช่วยเหลือสังคมไทย ตลอดจนหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ย่อมพิสูจน์ให้เห็นเต็มเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะช่วยเหลือสังคมโดยไม่หวังสิ่งใดๆ ตอบแทน เพราะเป็นองค์การสาธารณกุศลที่ให้เปล่าแก่ผู้เดือดร้อน ยากไร้ เจ็บไข้ ทั้งยามสงครามและยามสงบอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม องค์การก็ยังคงต้องการความช่วยเหลือและกาสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากใจจริงของประชาชน เพราะถ้าขาดความช่วยเหลือเสียแล้ว องค์การก็คงจะยืนหยัดอยู่ต่อไปได้
By Essays on Thailand
No comments:
Post a Comment