Monday, June 09, 2014
จักษุแห่งพุทธะ
จักษุแห่งพุทธะ
มีอยู่วันหนึ่ง ฌานาจารย์เต้าอู๋ ศิษย์ผู้น้องถามฌานาจารย์หยุนเหยี่ยน ศิษย์ผู้พี่ว่า " พระโพธิสัตว์กวนอิมที่ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์ มีพันกร พันจักษุ มิทราบจักษุดวงไหนคือจักษุที่แท้ ?
หยุนเหยียน ตอบว่า " เปรียบได้กับเจ้านอนหลับไป หมอนหล่นลงจากเตียงสู่พื้น ถึงเจ้าไม่ลืมจักษุ ก็เอื้อมมอืเก็บหมอนขึ้นมาหนุนใหม่ได้ ขอถามว่าขณะนั้นเจ้าใช้จักษุอะไรเก็บหมอนขึ้นมา ? " เต้าอู๋ได้ยินเช่นนั้น ก็พูดคล้ายเข้าใจแจ่มแจ้งว่า " อาตมาเข้าใจแล้ว ทั่วร่างมีจักษุ "
หยุนเหยียนยิ้มเล็กน้อยพูดว่า " เจ้าเข้าใจเพียงแปดส่วน "
เต้าอู๋ไม่เข้าใจ ก็ถามไปว่า " ไฉนท่านกล่าวเช่นนี้ ? "
หยุนเหยียนจึงตอบว่า " ตลอดร่างคือจักษุ "
" ทั่วร่างมีจักษุ " เท่ากับรับรู้โดยใช้มโนคติจำแนก เพราะฉะนั้นเต้าอู๋จึงเข้าใจเพียงแปดส่วน " ตลอดร่างคือจักษุ " เท่ากับปรากฎชัดในทางจิตภาวะ จิตเดิมแท้ หรือปัญญาญาณที่ไม่มีการแย่งแยก
เมื่อมองโลกด้วยจักษุแห่งพุทธะ ด้วยจิตที่ไม่มีการแบ่งแยก ทุกสิ่งจึงไร้ความแตกต่างในแง่ภาวะเดิมแท้ และปรากฎเด่นชัด
เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมแบบฌาน การลุถึงฌาน จึงช่วยให้เราใช้จักษุแห่งจิต จิตแห่งพุทธะ ซึ่งเป็นจิตเดิมแท้ พินิจพิจารณาโลกได้ กระทั่งค่อยๆ บรรลุถึงจุดจิตแจ่มกระจ่าง เข้าถึงสุญภาวะ ซึ่งก็คือภาวะมิมีอะไรไม่รู้ มิมีอะไรไม่เข้าใจ นี่คือ คุณประโยชน์ของฌานโดยแท้
By เซ็น : วิถีแห่งความสุขที่แท้
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment