ขงจื้อกับศิษย์
วันหนึ่งจื่อเซี่ยศิษย์คนหนึ่งของขงจื้อถามขงจื้อว่า " หยวนหุยคนนี้เป็นอย่างไร ? " ขงจื้อตอบว่า " หยวนหุยเป็นคนมีเมตตาธรรมดีกว่าข้าพเจ้า "
จื่อเซี่ยถามต่อไปว่า " จื้อกงเป็นคนอย่างไร ? " ขงจื้อตอบว่า " จื้อกงมีฝีปากเหนือกว่าข้าพเจ้า "
จื่อเซี่ยถามต่อไปอีกว่า " จื่อลู่เป็นคนอย่างไร ? " ขงจื้อตอบว่า " ความกล้าหาญของจื่อลู่นั้นข้าพเจ้าสู้ไม่ได้ "
จื่อเซี่ยถามอีกว่า " จื่อจางเป็นคนอย่างไร ? " ขงจื้อตอบว่า " จื่อจางมีความเคร่งครัดมากกว่าข้าพเจ้า "
จื้อเซี่ยได้ฟังแล้วรู้สึกประหลาดใจ ลุกขึ้นยืนถามว่า " เมื่อพวกเขาต่างเหนือกว่าท่าน แล้วทำไมพวกเขาถึงได้ยินดีศึกษาจากท่านโดยถือท่านเป็นครูเล่า ? "
ขงจื้อตอบว่า " นั่งลง ฟังข้าพเจ้าอธิาย หยวนหุยนั้นมีเมตตาธรรมดาขาดความพลิกแพลง จื่อกงมีฝีปากดีแต่ถ่อมตัวน้อยไปหน่อย จื่อลู่กล้าหาญมากแต่ไม่รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว ส่วนจื่อจางถึงจะเคร่งครัดแต่ก็เข้ากับคนไม่ได้ ทั้งสี่คนนี้ แต่ละคนมีจุดดีและก็มีจุดด้อยของตน ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงยินดีสมัครเป็นศิษย์ศึกษาจากข้าพเจ้า "
บันทึกใน " เลี่ยจื่อ "
มุมมองปรัชญา
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ขงจื้อสังเกตและเข้าใจศิษย์ของตนเป็นอย่างดี เห็นทั้งด้านที่เด่นและด้านที่ด้อยของพวกเขา ดังนั้นจึงสามารถวิพากษ์วิจารณ์ศิษย์ของตนได้อย่างถูกต้อง
คนเราไม่อาจที่จะมีแต่ข้อดีไร้ซึ่งข้อบกพร่อง ตรงกันข้าม คนเราก็จะไม่อาจจะมีแต่ข้อบกพร่องปราศจากข้อดี คนฉลาดก็คือคนที่รู้จักนำเอาข้อดีของผู้อื่นมาเสริมสิ่งที่ตนเองยังขาดอยู่
By ปรัชญาชีวิตใน สุภาษิตจีน
No comments:
Post a Comment