เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๓๙ )
สภากาชาดไทย
สภากาชาดไทยถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ในช่วงระหว่างเกิดกรณีพิพาทเรื่องชายแดน จึงเป็นเหตุให้เกิดการปะทะกันขึ้นบริเวณชายแดน กลุ่มสตรีไทยชั้นสูงในสมัยนั้นจึงตัดสินใจเข้ารับใช้พระมหากษัตริย์และประเทศชาติ โดยการเข้าช่วยเหลือทหารที่ป่วยและได้รับบาดเจ็บบริเวณชายแดน
สตรีผู้เสนอให้จัดตั้งสภาขึ้นก็คือ ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ( สตรีชั้นสูงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ) หลังจากได้รับพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ ๕ และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภา ผ่องศรี ทรงพระกรุณารับเป็นองค์อุปถัมภ์แล้ว สภาอณุโลมแดงก็ได้รับการจัดตั้งขึ้น ซึ่งในปี พ.ศ.๒๔๓๖ ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสภากาชาดไทยและเข้าเป็นสมาชิกสันนิบาตสภากาชาดเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๔
สภากาชาดไทยได้พัฒนาด้านการบริการและตอบสนองความต้องการของประชาชนเป็นการบรรเทาทุกข์ในท้องถิ่นชนบทห่างไกล โดยการเพิ่มพูนกำลังของสถานีกาชาด หน่วยแพทย์เคลื่อนที่และมุ่งพัฒนาศักยภาพของเหล่ากาชาดและอาสากาชาด เพื่อการร่วมมืออย่างใกล้ชิด
ปัจจุบัน สภากาชาดไทยเป็นองค์การสาธารณกุศลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศได้ดำเนินการมาครบรอบ ๑๐๐ ปีแห่งการให้บริการสังคมไทย ( ๒๔๓๖ - ๒๕๓๖ ) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงให้การอุปถัมภ์สภากาชาดไทยได้รับเกียรติอย่างสูง ทีพระองค์ทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงดำรงตำแหน่งอุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย
Saturday, August 31, 2013
Thailand " Land of Smile " ( Part 39 )
Thailand " Land of Smile " ( Part 39 )
The Thai Red Cross Society
The Thai Red Cross Society was established in 1893 during territorial disputes, resulting in skirmishes along the Thai border. A group of Thai women serving in Royal Court decided to serve their King and their nation by aiding the sick and wounded soldiers at the border.
The woman who put forward the proposal to form a society was Thanpuying Plien Pasakornravong , a Lady of the Royal Court in the Reign of King Chulalongkorn ( Rama V ). With the approval of the king and Her Majestry Queen Saovabha Pongsiri serving as President, the Red Unalom Society was founded, which in 1910 changed its name to the Thai Red Cross Society, and then became a member of the International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies ( IFRC ) on April 18, 1921.
The Thai Red Cross Society continues to improves its services and responses to the plight of the Thai people with emphasis on Relief Operations for those in remote areas by increasing Red Cross stations, mobile clinics and developing more potential of the Provincial Red Cross branches and volunteers for closer cooperation.
Today, the Thai Red Cross Society, the biggest charity organisation in Thailand, has completed its first centennial services to Thai society ( 1893 - 1993 ). Under the patronage of Their Majesties the King and Queen, the Princess Maha Chakri Sirindhorn to the post of Executive Vice President of the Thai Red Cross Society.
The Thai Red Cross Society
The Thai Red Cross Society was established in 1893 during territorial disputes, resulting in skirmishes along the Thai border. A group of Thai women serving in Royal Court decided to serve their King and their nation by aiding the sick and wounded soldiers at the border.
The woman who put forward the proposal to form a society was Thanpuying Plien Pasakornravong , a Lady of the Royal Court in the Reign of King Chulalongkorn ( Rama V ). With the approval of the king and Her Majestry Queen Saovabha Pongsiri serving as President, the Red Unalom Society was founded, which in 1910 changed its name to the Thai Red Cross Society, and then became a member of the International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies ( IFRC ) on April 18, 1921.
The Thai Red Cross Society continues to improves its services and responses to the plight of the Thai people with emphasis on Relief Operations for those in remote areas by increasing Red Cross stations, mobile clinics and developing more potential of the Provincial Red Cross branches and volunteers for closer cooperation.
Today, the Thai Red Cross Society, the biggest charity organisation in Thailand, has completed its first centennial services to Thai society ( 1893 - 1993 ). Under the patronage of Their Majesties the King and Queen, the Princess Maha Chakri Sirindhorn to the post of Executive Vice President of the Thai Red Cross Society.
Friday, August 23, 2013
สรรพสิ่งไร้ชีวิตชีวาเพราะมนุษย์ พลังชีวิตอยู่ในธรรมชาติ
ต้นไม้ในกระถางย่อมขาดพลังชีวิต
นกที่ขังในกรงย่อมลดความเป็นธรรมชาติ
มิสู้ดอกไม้และฝูงนกในป่าเขา
ซึ่งปะปนระคนเคล้ากลายเป็นภาพอันวิจิตร
เหินลมอยู่บนท้องฟ้า
เป็นตัวของตัวเอง
ดื่มด่ำในความอิสระเสรีอย่างซาบซึ้ง
นิทัศน์อุทาหรณ์
แสงดาวที่ร่วงหล่นจากฟากฟ้าต้นไม้เล็กๆ ในป่าเขา ลำต้นโตสั้น กิ่งก้านอวบอ้วน ซ้ำยังมีใบดกหนาเป็นสุมทุมพุ่มพฤกษ์ เขียวขจีชวนชมยื่งนัก
ในคืนฤดูร้อน หิ่งห้อยเปล่งแสงวาววับอยู่กลางทุ่งนา สวยระยับจับตาน่าเพลิดเพลินจำเริญใจอย่างที่สุด
แต่ท่านเคยคิดถึงบ้างไหมว่า ต้นไม้เล็กๆ ที่ปลูกอยู่ในกระถางและหิ่งห้อยที่ถูกจับใส่ไว้ในขวดเป็นอย่างไรบ้าง
ต้นไม้เล็กๆ ที่ปลูกอยู่ในกระถาง จะแคระแกร็นอยู่อย่างนั้นตลอดไป เพราะมันไม่มีสิ่งบำรุงเลี้ยงอันพอเพียง ไม่มีอากาศอันสดชื่นบริสุทธิ์ ใบก็จะค่อยๆ เฉาลง กิ่งก็จะค่อยๆ ย้อยลง มันไม่อาจจะเติบโตสูงใหญ่ได้อีกต่อไป มันได้แต่แอบริษยาต้นไทรใหญ่ข้างบ้านที่เติบโตอยู่บนพื้นดิน
พึงพอใจตัวเอง
พึงพอใจตัวเอง
ลูกศิษย์คนหนึ่งพูดกับฌานาจารย์อู๋เต๋อ ว่า " อาจารย์ฉันศึกษาปฏิบัติธรรมที่นี่หลายปี ฉันรู้สึกว่าพอแล้ว จึงคิดจะกราบลาอาจารย์ ออกธุดงค์ทั่วทุกสารทิศ " ฌานาจารย์ได้ฟังดังนั้น ก็ถามด้วยน้ำเสียงไม่เห็นด้วยว่า " พอแล้วหมายความว่าอย่างไร ? "
ลูกศิษย์ตอบว่า " พอแล้วก็คือเต็มแล้ว หมายความว่าใส่ลงไปไม่ได้อีกแล้ว " ฌานาจารย์จึงสั่งให้ลูกศิษย์นำอ่างมา ใส่ก้อนหินลงไป แล้วถามลูกศิษย์ว่า " เจ้าว่าอ่างใบนี้เต็มแล้วหรือยัง ? " ลูกศิษย์ตอบว่าเต็มแล้ว
ฌานาจารย์จึงใช้มือกอบทรายหลากกำใส่ลงในอ่าง ปรากฏว่าทรายไม่หกล้นออกนอกอ่างแม้แต่เม็ดเดียว ฌานาจารย์ถามลูกศิษย์ว่า " เต็มแล้วหรือยัง ? " ลูกศิษย์ตอบว่าเต็มแล้ว
ลูกศิษย์คนหนึ่งพูดกับฌานาจารย์อู๋เต๋อ ว่า " อาจารย์ฉันศึกษาปฏิบัติธรรมที่นี่หลายปี ฉันรู้สึกว่าพอแล้ว จึงคิดจะกราบลาอาจารย์ ออกธุดงค์ทั่วทุกสารทิศ " ฌานาจารย์ได้ฟังดังนั้น ก็ถามด้วยน้ำเสียงไม่เห็นด้วยว่า " พอแล้วหมายความว่าอย่างไร ? "
ลูกศิษย์ตอบว่า " พอแล้วก็คือเต็มแล้ว หมายความว่าใส่ลงไปไม่ได้อีกแล้ว " ฌานาจารย์จึงสั่งให้ลูกศิษย์นำอ่างมา ใส่ก้อนหินลงไป แล้วถามลูกศิษย์ว่า " เจ้าว่าอ่างใบนี้เต็มแล้วหรือยัง ? " ลูกศิษย์ตอบว่าเต็มแล้ว
ฌานาจารย์จึงใช้มือกอบทรายหลากกำใส่ลงในอ่าง ปรากฏว่าทรายไม่หกล้นออกนอกอ่างแม้แต่เม็ดเดียว ฌานาจารย์ถามลูกศิษย์ว่า " เต็มแล้วหรือยัง ? " ลูกศิษย์ตอบว่าเต็มแล้ว
Thursday, August 22, 2013
ความสุขของกบในบ่อ
ความสุขของกบในบ่อ
ในที่ซึ่งปกคลุมด้วยต้นหญ้า มีบ่อน้ำบ่อหนึ่งที่คนเลิกใช้แล้ว ในบ่อมีกบตัวหนึ่งอาศัยอยู่ วันหนึ่งกบตัวนี้ขึ้นมาพักที่ปากบ่อและได้เห็นตะพาบทะเลตัวหนึ่งหลงทางกำลังคลานต้วมเตี้ยมตรงมายังบ่ออันเป็นที่อาศัยของมัน กบเห็นแล้วดีใจมากร้องบอกว่า
" เร็ว มาซี รีบมาดูสวรรค์อันสวยงามของข้าบ้าง "
เมื่อตะพาบทะเลคลานมาถึงปากบ่อยื่นหัวลงไปมอง เห็นในบ่อมีน้ำที่ขังจนเป็นสีเขียวอยู่นิดเดียว แต่กบก็ยังคุยต่อไปว่า " แกคงไม่เคยได้รับความสุขในสภาพเช่นนี้มาก่อนแน่ๆ ตอนหัวค่ำข้าสามารถขึ้นมาตากลมที่ปากบ่อ ตอนดึกข้าก็มุดเข้าไปนอนในไหแตก ข้ายังสามารถลอยตัวนอนฝันอยู่บนน้ำได้ และกระโดดไปกระโดดมาอย่างสบายใจอยู่บนดินเลน พวกลูกกบและปูนั้นหามีความสุขเสมอเหมือนข้าไม่ ! "
กบบรรยายจนน้ำลายเป็นฟอง ยิ่งพูดก็ยิ่งรู้สึกพอใจ " ดูซิ ทั้งหมดนี้อยู่ในความควบคุมดูแลของข้า เป็นไปตามที่ข้าต้องการทั้งหมด แกไม่อยากจะลงไปดูบ้างหรือ ? "
ตะพาบทะเลคลานที่ปากบ่อ เนื่องจากตัวมันใหญ่ ฉะนั้นยังไม่ทันที่ตีนข้างซ้ายของมันจะยื่นลงไป ตีนข้างขวาก็ติดกิ่งไม้กั้นขอบบ่อเสียแล้วตะพาบทะเลจึงได้แต่ถอยออกมา กล่าวกับกบว่า " แกเคยได้ฟังเรื่องเกี่ยวกับทะเลไหม ? "
กบสั่นหัว ตะพาบจึงพูดต่อไปว่า " ข้านี่แหละอาศัยอยู่ในทะเล ที่เรียกว่าทะเลนั้นมีแต่น้ำสุดลูกหูลูกตามองไม่เห็นฝั่ง ที่ราบพันลี้ก็ยังนำมาเทียบกับทะเลไม่ได้ ดอยสูงพันวา เมื่อเอามาวางลงในทะเลก็จะจมมองไม่เห็นยอด ในยุคแห้งแล้งที่แปดปีฝนแล้งเจ็ดปีนั้น น้ำในทะเลก็ไม่ลดลงแม้แต่น้อย ข้าอยู่ในทะเลอย่างอิสระเต็มที่ ไม่มีอะไรมาขัดขวางกีดกั้น แกรู้สึกว่าความสุขในทะเลเป็นอย่างไรบ้าง ? "
กบฟังแล้วได้แต่ตาโตพูดไม่ออก
ในที่ซึ่งปกคลุมด้วยต้นหญ้า มีบ่อน้ำบ่อหนึ่งที่คนเลิกใช้แล้ว ในบ่อมีกบตัวหนึ่งอาศัยอยู่ วันหนึ่งกบตัวนี้ขึ้นมาพักที่ปากบ่อและได้เห็นตะพาบทะเลตัวหนึ่งหลงทางกำลังคลานต้วมเตี้ยมตรงมายังบ่ออันเป็นที่อาศัยของมัน กบเห็นแล้วดีใจมากร้องบอกว่า
" เร็ว มาซี รีบมาดูสวรรค์อันสวยงามของข้าบ้าง "
เมื่อตะพาบทะเลคลานมาถึงปากบ่อยื่นหัวลงไปมอง เห็นในบ่อมีน้ำที่ขังจนเป็นสีเขียวอยู่นิดเดียว แต่กบก็ยังคุยต่อไปว่า " แกคงไม่เคยได้รับความสุขในสภาพเช่นนี้มาก่อนแน่ๆ ตอนหัวค่ำข้าสามารถขึ้นมาตากลมที่ปากบ่อ ตอนดึกข้าก็มุดเข้าไปนอนในไหแตก ข้ายังสามารถลอยตัวนอนฝันอยู่บนน้ำได้ และกระโดดไปกระโดดมาอย่างสบายใจอยู่บนดินเลน พวกลูกกบและปูนั้นหามีความสุขเสมอเหมือนข้าไม่ ! "
กบบรรยายจนน้ำลายเป็นฟอง ยิ่งพูดก็ยิ่งรู้สึกพอใจ " ดูซิ ทั้งหมดนี้อยู่ในความควบคุมดูแลของข้า เป็นไปตามที่ข้าต้องการทั้งหมด แกไม่อยากจะลงไปดูบ้างหรือ ? "
ตะพาบทะเลคลานที่ปากบ่อ เนื่องจากตัวมันใหญ่ ฉะนั้นยังไม่ทันที่ตีนข้างซ้ายของมันจะยื่นลงไป ตีนข้างขวาก็ติดกิ่งไม้กั้นขอบบ่อเสียแล้วตะพาบทะเลจึงได้แต่ถอยออกมา กล่าวกับกบว่า " แกเคยได้ฟังเรื่องเกี่ยวกับทะเลไหม ? "
กบสั่นหัว ตะพาบจึงพูดต่อไปว่า " ข้านี่แหละอาศัยอยู่ในทะเล ที่เรียกว่าทะเลนั้นมีแต่น้ำสุดลูกหูลูกตามองไม่เห็นฝั่ง ที่ราบพันลี้ก็ยังนำมาเทียบกับทะเลไม่ได้ ดอยสูงพันวา เมื่อเอามาวางลงในทะเลก็จะจมมองไม่เห็นยอด ในยุคแห้งแล้งที่แปดปีฝนแล้งเจ็ดปีนั้น น้ำในทะเลก็ไม่ลดลงแม้แต่น้อย ข้าอยู่ในทะเลอย่างอิสระเต็มที่ ไม่มีอะไรมาขัดขวางกีดกั้น แกรู้สึกว่าความสุขในทะเลเป็นอย่างไรบ้าง ? "
กบฟังแล้วได้แต่ตาโตพูดไม่ออก
บันทึกใน " จวงจื่อ "
Wednesday, August 21, 2013
๖ ศอก ๘ หน้า
๖ ศอก ๘ หน้า
ความชำนาญและคล่องแคล่วที่เหนือกว่าคนปกติ หรือมีความเก่งกว่าคนอื่นหลายเท่านัก
By ปรัชญา ซามูไร
ความชำนาญและคล่องแคล่วที่เหนือกว่าคนปกติ หรือมีความเก่งกว่าคนอื่นหลายเท่านัก
By ปรัชญา ซามูไร
The Law of Kamma
The Law of Kamma
Until this millenium, Thai Theravda Buddhists have been dominated by the creed of Kam Kao, the belief that one's present sufferings or well being were the result of deeds done in the past lives. This is the true Buddha's non - belief one, which emphasized the Buddha. Most of Thai Buddhists have been taught about such the law of Kamma under the influence of past action determinism by many monks around the country. This false belief legitimizes the status quo and the unjust social system that tightened the ruling class's grip on power and assured the view of " monks " as heaven messengers.
Actually, the Law of Kamma is the law of action or deed, the cause of deed and the result of deed. The action or deed includes bodily action, verbal action and ,mental action. The cause of action is desire or craving. The results of action are wholesome, unwholesome and neutral. The roots of unwholesome action are greed, hatred and delusion and of wholesome action are generosity, love and wisdom.
The law of Kamma is one of the triple rounds in the process of Dependent Origination. This interdependent process, according to the Budda' s teaching, is the triple round of defilement, kamma and result.
Until this millenium, Thai Theravda Buddhists have been dominated by the creed of Kam Kao, the belief that one's present sufferings or well being were the result of deeds done in the past lives. This is the true Buddha's non - belief one, which emphasized the Buddha. Most of Thai Buddhists have been taught about such the law of Kamma under the influence of past action determinism by many monks around the country. This false belief legitimizes the status quo and the unjust social system that tightened the ruling class's grip on power and assured the view of " monks " as heaven messengers.
Actually, the Law of Kamma is the law of action or deed, the cause of deed and the result of deed. The action or deed includes bodily action, verbal action and ,mental action. The cause of action is desire or craving. The results of action are wholesome, unwholesome and neutral. The roots of unwholesome action are greed, hatred and delusion and of wholesome action are generosity, love and wisdom.
The law of Kamma is one of the triple rounds in the process of Dependent Origination. This interdependent process, according to the Budda' s teaching, is the triple round of defilement, kamma and result.
Monday, August 19, 2013
กฏแห่งกรรม
กฏแห่งกรรม
ในรอบสหัสวรรษที่ผ่านมา พุทธศาสนิก นิกายเถรวาท ชาวไทยส่วนใหญ่ยังคงตกอยู่ภายใต้แนวความเชื่อความศรัทธาในเรื่องของ " กรรมเก่า " อย่างเหนียวแน่น ว่าการที่ตนได้รับความทุกข์ความสุขอยู่ทุกวันนี้ เป็นผลเนื่องจากกรรมที่เคยทำไว้ในชาติก่อน ความเชื่อเช่นนี้นับว่าค้านกับคำสอนในทางพุทธศาสนา ที่พระพุทธองค์ทรงย้ำอยู่เสมอว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ จะอย่างไรและเป็นเช่นไรก็ตาม จนทุกวันนี้ชาวพุทธทั้งหลายยังได้รับการสอนจากพระหลายๆ องค์เกือบทั่วประเทศเกี่ยวกับ " ปุพเพกตเหตุวาท หรือ ลัทธิกรรมเก่า " ที่ถือว่าทุกข์สุขใดก็ตามที่ตนกำลังได้รับ ล้วนเป็นเพราะกรรมเก่าที่ได้ก่อไว้ในปางก่อน การที่คนไทยชาวพุทธมีความเชื่อเช่นนี้จึงเป็นช่องทางในการเสริมสร้างความชอบธรรมให้กับผู้มีอำนาจในการที่จะคอยควบคุมไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงฐานะทางสังคมที่ไร้ความยุติธรรมกับทั้งยังเพิ่มทัศนคติให้กับชาวพุทธทั้งหลายว่า " พระเท่านั้นที่เป็นเนื้อนาบุญนำคนไปสู่สวรรค์ "
ที่จริงแล้วกฏแห่งกรรมในความหมายทางพุทธศาสนา หมายถึงกฏที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ ( กรรม ) และผลจากการกระทำ ( วิบาก ) ที่มีทั้งดีและชั่ว และที่เป็นกลาง กรรมหรือการกระทำ แบ่งออกเป็น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม สาเหตุในการประกอบกรรมเนื่องมาจากความอยากหรือตัณหา วิบากผลในการทำกรรม แบ่งออกเป็นฝ่ายที่เป็นกุศล ฝ่ายอกุศลและที่เป็นกลางๆ ( อัพยากฤต ) ต้นเหตุแห่งอกุศลกรรมเกิดจากกิเลสทั้งสามคือ โลภ โกรธ หลง ส่วนเหตุแห่งกุศลกรรม เกิดจาก จาคะ เมตตา และปัญญา
กฏแห่งกรรมเป็นผลเนื่องมาจากกระบวนการทางจิตทั้งสาม คือ ไตรวัฏ ที่กล่าวไว้ในวงจรปฏิจจสมุปบาท ได้แก่ กิเลส กรรม วิบาก
รายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการทางจิตในวงจรแห่งปฏิจจสมุปบาทเริ่มต้นจาก อวิชชา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขารเพราะสังขารมี จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมีเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัยอุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมี ชรา มรณะ โศกเศร้า คร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และคับแค้นใจ ตามลำดับ
ในรอบสหัสวรรษที่ผ่านมา พุทธศาสนิก นิกายเถรวาท ชาวไทยส่วนใหญ่ยังคงตกอยู่ภายใต้แนวความเชื่อความศรัทธาในเรื่องของ " กรรมเก่า " อย่างเหนียวแน่น ว่าการที่ตนได้รับความทุกข์ความสุขอยู่ทุกวันนี้ เป็นผลเนื่องจากกรรมที่เคยทำไว้ในชาติก่อน ความเชื่อเช่นนี้นับว่าค้านกับคำสอนในทางพุทธศาสนา ที่พระพุทธองค์ทรงย้ำอยู่เสมอว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ จะอย่างไรและเป็นเช่นไรก็ตาม จนทุกวันนี้ชาวพุทธทั้งหลายยังได้รับการสอนจากพระหลายๆ องค์เกือบทั่วประเทศเกี่ยวกับ " ปุพเพกตเหตุวาท หรือ ลัทธิกรรมเก่า " ที่ถือว่าทุกข์สุขใดก็ตามที่ตนกำลังได้รับ ล้วนเป็นเพราะกรรมเก่าที่ได้ก่อไว้ในปางก่อน การที่คนไทยชาวพุทธมีความเชื่อเช่นนี้จึงเป็นช่องทางในการเสริมสร้างความชอบธรรมให้กับผู้มีอำนาจในการที่จะคอยควบคุมไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงฐานะทางสังคมที่ไร้ความยุติธรรมกับทั้งยังเพิ่มทัศนคติให้กับชาวพุทธทั้งหลายว่า " พระเท่านั้นที่เป็นเนื้อนาบุญนำคนไปสู่สวรรค์ "
ที่จริงแล้วกฏแห่งกรรมในความหมายทางพุทธศาสนา หมายถึงกฏที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ ( กรรม ) และผลจากการกระทำ ( วิบาก ) ที่มีทั้งดีและชั่ว และที่เป็นกลาง กรรมหรือการกระทำ แบ่งออกเป็น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม สาเหตุในการประกอบกรรมเนื่องมาจากความอยากหรือตัณหา วิบากผลในการทำกรรม แบ่งออกเป็นฝ่ายที่เป็นกุศล ฝ่ายอกุศลและที่เป็นกลางๆ ( อัพยากฤต ) ต้นเหตุแห่งอกุศลกรรมเกิดจากกิเลสทั้งสามคือ โลภ โกรธ หลง ส่วนเหตุแห่งกุศลกรรม เกิดจาก จาคะ เมตตา และปัญญา
กฏแห่งกรรมเป็นผลเนื่องมาจากกระบวนการทางจิตทั้งสาม คือ ไตรวัฏ ที่กล่าวไว้ในวงจรปฏิจจสมุปบาท ได้แก่ กิเลส กรรม วิบาก
รายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการทางจิตในวงจรแห่งปฏิจจสมุปบาทเริ่มต้นจาก อวิชชา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขารเพราะสังขารมี จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมีเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัยอุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมี ชรา มรณะ โศกเศร้า คร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และคับแค้นใจ ตามลำดับ
Wednesday, August 14, 2013
เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๓๘ )
เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๓๘ )
การสมรสแบบไทย
โอกาสอันสำคัญที่สุดของชีวิตคนเรา ช่วงหนึ่งหลังจากการเกิดก็คือการได้เข้าพิธีมงคลสมรส เพราะว่าพิธีนี้เป็นช่วงเวลาอันมีค่าช่วงหนึ่ง ระหว่างชายและหญิง ผู้ซึ่งตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตร่วมกันไปจนตลอดชีวิต ดังนั้น พิธีนี้จึงจัดให้มีขึ้นอย่างสวยงามและเป็นสิริมงคล เหนือสิ่งอื่นใดก็คือจะต้องมีการปรึกษาหารือกับโหรล่วงหน้า เพื่อตรวจชะตาราศีของคู่บ่าวสาว แต่ส่วนใหญ่พิธีมงคลสมรสนิยมจึดขึ้นในเดือนสิงหาคม ซึ่งถือกันว่าเป็นเดือนที่เป็นสิริมงคลมากที่สุดสำหรับพิธีมงคลสมรส
โดยปกติในชนบท ชีวิตการแต่งงานจะเริ่มขึ้นเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ในขณะที่ในเมืองอาจจะช้าไปจนถึง ๒๘ - ๓๕ ปี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ที่จะเข้าพิธีวิวาห์ด้วย ในขณะเดียวกันทุกวันนี้ หนุ่มสาวส่วนใหญ่พอใจที่จะเลือกคู่แต่งงานเอง การแต่งงานโดยมีผู้ใหญ่เป็นผู้เลือกคู่ให้นั้นมีน้อยมาก
ที่จริงแล้ว จะต้องมีพิธีหมั้นและพิธีมงคลสมรสในวันเดียวกันไปเลย ทั้งนี้เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย พิธีหมั้นโดยปกติก็จะทำโดยการมอบแหวนหมั้นให้แก่ฝ่ายเจ้าสาว ในขณะที่พิธีแต่งงานจะไม่สมบูรณ์ ถ้าหากไม่มีการมอบเงินสินสอดให้แก่บิดามารดาของเจ้าสาว โดยบิดามารดาของฝ่ายชายเป็นผู้มอบให้ตามจำนวนที่เรียกร้อง
การสมรสแบบไทย
โอกาสอันสำคัญที่สุดของชีวิตคนเรา ช่วงหนึ่งหลังจากการเกิดก็คือการได้เข้าพิธีมงคลสมรส เพราะว่าพิธีนี้เป็นช่วงเวลาอันมีค่าช่วงหนึ่ง ระหว่างชายและหญิง ผู้ซึ่งตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตร่วมกันไปจนตลอดชีวิต ดังนั้น พิธีนี้จึงจัดให้มีขึ้นอย่างสวยงามและเป็นสิริมงคล เหนือสิ่งอื่นใดก็คือจะต้องมีการปรึกษาหารือกับโหรล่วงหน้า เพื่อตรวจชะตาราศีของคู่บ่าวสาว แต่ส่วนใหญ่พิธีมงคลสมรสนิยมจึดขึ้นในเดือนสิงหาคม ซึ่งถือกันว่าเป็นเดือนที่เป็นสิริมงคลมากที่สุดสำหรับพิธีมงคลสมรส
โดยปกติในชนบท ชีวิตการแต่งงานจะเริ่มขึ้นเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ในขณะที่ในเมืองอาจจะช้าไปจนถึง ๒๘ - ๓๕ ปี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ที่จะเข้าพิธีวิวาห์ด้วย ในขณะเดียวกันทุกวันนี้ หนุ่มสาวส่วนใหญ่พอใจที่จะเลือกคู่แต่งงานเอง การแต่งงานโดยมีผู้ใหญ่เป็นผู้เลือกคู่ให้นั้นมีน้อยมาก
ที่จริงแล้ว จะต้องมีพิธีหมั้นและพิธีมงคลสมรสในวันเดียวกันไปเลย ทั้งนี้เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย พิธีหมั้นโดยปกติก็จะทำโดยการมอบแหวนหมั้นให้แก่ฝ่ายเจ้าสาว ในขณะที่พิธีแต่งงานจะไม่สมบูรณ์ ถ้าหากไม่มีการมอบเงินสินสอดให้แก่บิดามารดาของเจ้าสาว โดยบิดามารดาของฝ่ายชายเป็นผู้มอบให้ตามจำนวนที่เรียกร้อง
Tuesday, August 13, 2013
Thailand " Land of Smile " ( Part 38 )
Thailand " Land of Smile " ( Part 38 )
Thai Marriage
One of the most important occasion of the person's life after birth is the marriage ceremony as it places value on that particular moment when man and women have decided to be united in a bond that will influence the rest of their lives. Therefore, the ceremony must be held in a beautiful and sacred way. Above all, astrologers will be consulted beforehand in order to find out if the stars of those to be married are compatible and if so what should be the auspicious day and time for the ceremony. But mostly the ceremony will be held in August which is considered as the most auspicious month for wedding.
Usually in the countryside, a marriage takes place at the age of 20 while in the city this may be late, up to 28 - 35. This depends on the readiness of the persons who want to enter into marriage. At the same time, nowadays most young people select their own marriage partners whiles arranged marriage is very rare.
In fact, the engagement ceremony must take place before the wedding, however, some couples may prefer to hold the engagement and wedding ceremony on the same day as a means of saving money. The engagement ceremony is usually done through the offering of an engagement ring to the girl while the wedding ceremony will be incomplete without the offering of Sin - sod which is the money to be given to the bride's parents by the groom's parents of the amount they demand.
Thai Marriage
One of the most important occasion of the person's life after birth is the marriage ceremony as it places value on that particular moment when man and women have decided to be united in a bond that will influence the rest of their lives. Therefore, the ceremony must be held in a beautiful and sacred way. Above all, astrologers will be consulted beforehand in order to find out if the stars of those to be married are compatible and if so what should be the auspicious day and time for the ceremony. But mostly the ceremony will be held in August which is considered as the most auspicious month for wedding.
Usually in the countryside, a marriage takes place at the age of 20 while in the city this may be late, up to 28 - 35. This depends on the readiness of the persons who want to enter into marriage. At the same time, nowadays most young people select their own marriage partners whiles arranged marriage is very rare.
In fact, the engagement ceremony must take place before the wedding, however, some couples may prefer to hold the engagement and wedding ceremony on the same day as a means of saving money. The engagement ceremony is usually done through the offering of an engagement ring to the girl while the wedding ceremony will be incomplete without the offering of Sin - sod which is the money to be given to the bride's parents by the groom's parents of the amount they demand.
Saturday, August 10, 2013
สามคนเจ้าปัญญา
สามคนเจ้าปัญญา
" ปัญญา " ถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่พระผู้เป็นเจ้าประทานให้แก่มนุษยชาติทุกคนๆ เป็นสิ่งที่คอยชี้นำทางและเป็นแรงผลักดันให้มนุษย์เดินสู่ความเจริญ ซึ่งจะเจริญรุ่งเรืองได้นั้นก็เมื่อเราทุกคนสามารถใช้ปัญญาไปในทางที่ถูกที่ควร
สุภาษิตบทนี้ของญี่ปุ่นชี้เน้นไปที่การรวมปัญญาของคนสามคน ซึ่งจะเกิดประโยชน์และเห็นผลมากกว่าการใช้ปัญญาหรือหัวคิดของคนคนเดียว สามคน สามปัญญาทำให้มีดารคิดรอบด้าน ทุกมุมมอง ทั้งรุก ทั้งรับ และแก้ปัญหา ถ้าลองเปรียบกับสำนวนไทยก็คงคล้ายๆ กับคำว่า " คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย " อะไรทำนองนั้น แต่ของญี่ปุ่นในบทนี้เป็นสามคน
ซึ่งความหมายก็คล้ายๆ กัน ที่บอกว่าการทำอะไรคนเดียวโดยไม่มีคู่คิดหรือคนปรึกษา งานที่ทำนั้นอาจะพลาดหรือเสียหายใหญ่หลวงได้ มีเรื่องตัวอย่างมาเล่าให้ฟังเปรียบเทียบเพื่อความเข้าใจ คราวนี้เป็นเรื่องขององค์การหนึ่งที่ชาวญี่ปุ่นภูมิใจมากๆ ที่ชื่อ " โตโยต้า " ผู้ยิ่งใหญ่ในโลกรถยนต์ที่หลายค่ายยังวิ่งตามความสำเร็จอยู่ในขณะนี้
ก่อนจะผงาดขึ้นเป็นค่ายรถยนต์ระดับโลกที่มีสายการผลิตยานยนต์ในระดับผู้นำ ใครจะเชื่อว่าจุดกำเนิดของโตโยต้า ( TOYOTA ) ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อกว่า ๗๐ ปีที่ผ่านมา จากบริษัทเล็กๆ แห่งหนึ่งในฐานะโรงงานผลิตเครื่องทอผ้าของ ๓ หนุ่มพี่น้องแห่งตระกูล " โตโยดะ "
" ปัญญา " ถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่พระผู้เป็นเจ้าประทานให้แก่มนุษยชาติทุกคนๆ เป็นสิ่งที่คอยชี้นำทางและเป็นแรงผลักดันให้มนุษย์เดินสู่ความเจริญ ซึ่งจะเจริญรุ่งเรืองได้นั้นก็เมื่อเราทุกคนสามารถใช้ปัญญาไปในทางที่ถูกที่ควร
สุภาษิตบทนี้ของญี่ปุ่นชี้เน้นไปที่การรวมปัญญาของคนสามคน ซึ่งจะเกิดประโยชน์และเห็นผลมากกว่าการใช้ปัญญาหรือหัวคิดของคนคนเดียว สามคน สามปัญญาทำให้มีดารคิดรอบด้าน ทุกมุมมอง ทั้งรุก ทั้งรับ และแก้ปัญหา ถ้าลองเปรียบกับสำนวนไทยก็คงคล้ายๆ กับคำว่า " คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย " อะไรทำนองนั้น แต่ของญี่ปุ่นในบทนี้เป็นสามคน
ซึ่งความหมายก็คล้ายๆ กัน ที่บอกว่าการทำอะไรคนเดียวโดยไม่มีคู่คิดหรือคนปรึกษา งานที่ทำนั้นอาจะพลาดหรือเสียหายใหญ่หลวงได้ มีเรื่องตัวอย่างมาเล่าให้ฟังเปรียบเทียบเพื่อความเข้าใจ คราวนี้เป็นเรื่องขององค์การหนึ่งที่ชาวญี่ปุ่นภูมิใจมากๆ ที่ชื่อ " โตโยต้า " ผู้ยิ่งใหญ่ในโลกรถยนต์ที่หลายค่ายยังวิ่งตามความสำเร็จอยู่ในขณะนี้
ก่อนจะผงาดขึ้นเป็นค่ายรถยนต์ระดับโลกที่มีสายการผลิตยานยนต์ในระดับผู้นำ ใครจะเชื่อว่าจุดกำเนิดของโตโยต้า ( TOYOTA ) ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อกว่า ๗๐ ปีที่ผ่านมา จากบริษัทเล็กๆ แห่งหนึ่งในฐานะโรงงานผลิตเครื่องทอผ้าของ ๓ หนุ่มพี่น้องแห่งตระกูล " โตโยดะ "
Thursday, August 08, 2013
คนมั่งมีมากทุกข์ ผู้สูงศักดิ์มากภัย
มีสมบัติมากก็เป็นทุกข์ว่าจะสูญเสีย
มั่งมีจึงมิสู้ยากจนซึ่งไร้ความกังวล
มีฐานะสูงก็กลัวว่าจะตกต่ำ
อยู่สูงจึงมิสู้อยู่ต่ำซึ่งอยู่เย็นเป็นสุข
นิทัศน์อุทาหรณ์
เศรษฐีกับผู้สูงศักดิ์สื้อฉงเป็นมหาเศรษฐีในสมัยราชวงศ์จิ้น โด่งดังในความหยิ่งยโสและฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย เราจะไม่พูดถึงเรื่องความยโสโอหังสุรุ่ยสุร่ายของเขา แต่ใคร่จะพูดถึงจุดจบของเขา
สื้อฉงหลงรักนางร้องคนหนึ่งที่เขาเลี้ยงไว้ในบ้าน นางร้องคนนี้มีชื่อว่าลู่จูลู่จูใช่แต่จะสวยอย่างเดียวหล่อนยังเป่าขลุ่ยได้ไพเราะจับใจ
ในเวลานั้น มีขุนนางผู้ใหญ่คนหนึ่งชื่อซุนซิ่ว อิจฉาสื้อฉงที่มีคนงามมีชื่อไว้ในครอบครอง จึงส่งคนไปเจรจากับสื้อฉง คิดอยากจะให้สื้อฉงมอบลู่จูคนสวยให้กับเขา แต่สื้อฉงไม่ยอม ด้วยเหตุนี้ สื้อฉงถึงถูกซุนซิ่วมีอำนาจอันใหญ่หลวง ใส่ร้ายจับกุมคุมขัง ลู่จูหนีไปกระโดดน้ำตาย
Tuesday, August 06, 2013
ห้าสิบเก้าเย้ยร้อยเก้า
ห้าสิบเก้าเย้ยร้อยเก้า
กษัตริย์เหลียงฮุ่ย มักจะทรงเกณฑ์คนมาเป็นทหารแล้วส่งไปรบเพื่อปล้นชิงทรัพย์สินของรัฐอื่นๆ อยู่เป็นประจำ วันหนึ่งพระองค์ตรัสถามเมิ่งจื่อว่า " กล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าได้ทุ่มเทจิตใจทั้งหมดให้แก่บ้านเมือง เวลาแม่น้ำด้านเหนือเกิดทุพภิกขภัย ข้าพเจ้าก็ย้ายไพร่ฟ้าไปอยู่ด้านแม่น้ำตะวันออก แล้วเอาเสบียงอาหารของแม่น้ำด้านตะวันออกย้ายที่แม่น้ำด้านหนือ เวลาแม่น้ำด้านตะวันออกเกิดทุพภิขภัยข้าพเจ้าก็ทำแบบนี้เช่นเดียวกันข้าพเจ้าพิจารณาดูแล้วรู้สึกว่ากษัตริย์ในรัฐข้างเคียงไม่มีใครที่จะรักเอาใจใส่ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์เหมือนข้าพเจ้าสักคน แต่ไพร่ฟ้าของรัฐใกล้เคียงก็ไม่เคยลดลง ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของข้าพเจ้าก็ไม่เพิ่มขึ้นทั้งนี้เป็นเพราะเหตุใด ? "
เมิ่งจื่อกราบทูลว่า " พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ทรงโปรดการรบทัพจับศึก ข้าพระองค์ขอนำการรบมากล่าวเป็นเรื่องเปรียบเทียบ คือในการสงครามนั้นเมื่อกลองศึกดังขึ้น ทั้งสองฝ่ายก็นำศาสตราวุธต่างๆ เข้าปะทะกัน เมื่อฝ่ายหนึ่งแพ้ก็จะทิ้งอาวุธหนีเอาตัวรอด สมมติว่าบางคนวิ่งหนีไปได้ร้อยก้าว บางคนวิ่งหนี้ไปได้ห้าสิบก้าวตอนนี้ผู้ที่วิ่งหนีไปไกลห้าสิบก้าวก็หัวเราะเยาะ ผู้ที่วิ่งหนีไปไกลกร้อยก้าวว่าเป็นคนขี้ขลาดตาขาวกลัวตาย พระองค์คิดว่าถูกหรือไม่พะยะค่ะ ? "
กษัตริย์เหลียงฮุ่ยตรัสว่า " แน่นอน เป็นการไม่ถูกต้อง เพราะคนที่ว่านั้นเป็นเพียงวิ่งหนีไปไกลไม่ถึงร้อยก้าว แต่มันก็วิ่งหนีด้วยกันทั้งนั้น "
เมิ่งจื่อจึงกราบทูลว่า " เมื่อพระองค์ทรงตระหนักในเหตุผลข้อนี้แล้วทำไมพระองค์จึงหวังจะให้ไพร่ฟ้าของพระองค์มีมากกว่าเพื่อนบ้านเล่า ? "
กษัตริย์เหลียงฮุ่ย มักจะทรงเกณฑ์คนมาเป็นทหารแล้วส่งไปรบเพื่อปล้นชิงทรัพย์สินของรัฐอื่นๆ อยู่เป็นประจำ วันหนึ่งพระองค์ตรัสถามเมิ่งจื่อว่า " กล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าได้ทุ่มเทจิตใจทั้งหมดให้แก่บ้านเมือง เวลาแม่น้ำด้านเหนือเกิดทุพภิกขภัย ข้าพเจ้าก็ย้ายไพร่ฟ้าไปอยู่ด้านแม่น้ำตะวันออก แล้วเอาเสบียงอาหารของแม่น้ำด้านตะวันออกย้ายที่แม่น้ำด้านหนือ เวลาแม่น้ำด้านตะวันออกเกิดทุพภิขภัยข้าพเจ้าก็ทำแบบนี้เช่นเดียวกันข้าพเจ้าพิจารณาดูแล้วรู้สึกว่ากษัตริย์ในรัฐข้างเคียงไม่มีใครที่จะรักเอาใจใส่ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์เหมือนข้าพเจ้าสักคน แต่ไพร่ฟ้าของรัฐใกล้เคียงก็ไม่เคยลดลง ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของข้าพเจ้าก็ไม่เพิ่มขึ้นทั้งนี้เป็นเพราะเหตุใด ? "
เมิ่งจื่อกราบทูลว่า " พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ทรงโปรดการรบทัพจับศึก ข้าพระองค์ขอนำการรบมากล่าวเป็นเรื่องเปรียบเทียบ คือในการสงครามนั้นเมื่อกลองศึกดังขึ้น ทั้งสองฝ่ายก็นำศาสตราวุธต่างๆ เข้าปะทะกัน เมื่อฝ่ายหนึ่งแพ้ก็จะทิ้งอาวุธหนีเอาตัวรอด สมมติว่าบางคนวิ่งหนีไปได้ร้อยก้าว บางคนวิ่งหนี้ไปได้ห้าสิบก้าวตอนนี้ผู้ที่วิ่งหนีไปไกลห้าสิบก้าวก็หัวเราะเยาะ ผู้ที่วิ่งหนีไปไกลกร้อยก้าวว่าเป็นคนขี้ขลาดตาขาวกลัวตาย พระองค์คิดว่าถูกหรือไม่พะยะค่ะ ? "
กษัตริย์เหลียงฮุ่ยตรัสว่า " แน่นอน เป็นการไม่ถูกต้อง เพราะคนที่ว่านั้นเป็นเพียงวิ่งหนีไปไกลไม่ถึงร้อยก้าว แต่มันก็วิ่งหนีด้วยกันทั้งนั้น "
เมิ่งจื่อจึงกราบทูลว่า " เมื่อพระองค์ทรงตระหนักในเหตุผลข้อนี้แล้วทำไมพระองค์จึงหวังจะให้ไพร่ฟ้าของพระองค์มีมากกว่าเพื่อนบ้านเล่า ? "
บันทึกใน " เมิ่งจื่อ "
Monday, August 05, 2013
โลกในสภาวะแบบฌาน
โลกในสภาวะแบบฌาน
หลวงจีนเต้าเนี่ยนออกบวชกว่าสิบปีแล้ว ยังไม่บรรลุธรรม จึงออกธุดงค์ศึกษาธรรมจากฌานาจารย์ทั่วทุกแห่งหน มาวันหนึ่ง ท่านธุดงค์มาถึงกุฏิฌานาจารย์สือโถว ก็ขอร้องฌานาจารย์สือโถวอย่างจริงใจ ให้ช่วยแนะนำทางสว่างแก่ตนเอง
ฌานาจารย์ถามกลับว่า " ท่านเพิ่งจากที่ใดมา ก่อนถึงที่นี่ ? "
เต้าเนี่ยนตอบว่า " แคว้นเหลียง ถาง จิ้น ฮั่น โจว ธุดงค์ทั่วทุกสารทิศ "
ฌานาจารย์ถามว่า " เจ้าแคว้นเหลียง ถาง จิ้น ฮั่น โจว เห็นคุณค่าของพุทธรรมหรือไม่ ? "
เต้าเนี่ยนตอบว่า " เคราะห์ดีที่ถามอาตมา ถ้าถามคนอื่น ก็อาจชักนำเภทภัยถึงตัว "
ฌานาจารย์ถามว่า " เพราะอะไรหรือ ? "
หลวงจีนเต้าเนี่ยนออกบวชกว่าสิบปีแล้ว ยังไม่บรรลุธรรม จึงออกธุดงค์ศึกษาธรรมจากฌานาจารย์ทั่วทุกแห่งหน มาวันหนึ่ง ท่านธุดงค์มาถึงกุฏิฌานาจารย์สือโถว ก็ขอร้องฌานาจารย์สือโถวอย่างจริงใจ ให้ช่วยแนะนำทางสว่างแก่ตนเอง
ฌานาจารย์ถามกลับว่า " ท่านเพิ่งจากที่ใดมา ก่อนถึงที่นี่ ? "
เต้าเนี่ยนตอบว่า " แคว้นเหลียง ถาง จิ้น ฮั่น โจว ธุดงค์ทั่วทุกสารทิศ "
ฌานาจารย์ถามว่า " เจ้าแคว้นเหลียง ถาง จิ้น ฮั่น โจว เห็นคุณค่าของพุทธรรมหรือไม่ ? "
เต้าเนี่ยนตอบว่า " เคราะห์ดีที่ถามอาตมา ถ้าถามคนอื่น ก็อาจชักนำเภทภัยถึงตัว "
ฌานาจารย์ถามว่า " เพราะอะไรหรือ ? "
Saturday, August 03, 2013
The ontological status of Nirvana
The ontological status of Nirvana
Since Nirvana is regarded as the cessation of existence [ bhavanirodha ] or the end of Samsara, then it is viewed as annihilation by some thinkers. The Buddha himself was accused of preaching annihilation. To clarify his position, the Buddha says :
" In the respect, one may rightly say of me that I teach annihilation that I propound my doctrine for the purpose of annihilation, and that I herein train my disciples, for certainly I do teach annihilation - the annihilation, namely of greed, hatred and delusion, as well as of manifold evil and unwholesome things."
What we can say here is that Nirvana is not self - annihilation, since there is no self to annihilate. If at all, it is the annihilation of ignorance [ avijja ], of the false ideal of self.
Followers of the Buddha, however , hold different views on the ontological status of Nirvana. The Sautrantika , for example, contends that Nirvana does not have a positive reality. It is nothingness [ abhava ]. Just as space [ akasa ] is the absence of a solid body or anything tangible, so also Nirvana is the absence of causes that are responsible for rebirth. The Sauntrantika's position appears to be nihilistic.
Since Nirvana is regarded as the cessation of existence [ bhavanirodha ] or the end of Samsara, then it is viewed as annihilation by some thinkers. The Buddha himself was accused of preaching annihilation. To clarify his position, the Buddha says :
" In the respect, one may rightly say of me that I teach annihilation that I propound my doctrine for the purpose of annihilation, and that I herein train my disciples, for certainly I do teach annihilation - the annihilation, namely of greed, hatred and delusion, as well as of manifold evil and unwholesome things."
What we can say here is that Nirvana is not self - annihilation, since there is no self to annihilate. If at all, it is the annihilation of ignorance [ avijja ], of the false ideal of self.
Followers of the Buddha, however , hold different views on the ontological status of Nirvana. The Sautrantika , for example, contends that Nirvana does not have a positive reality. It is nothingness [ abhava ]. Just as space [ akasa ] is the absence of a solid body or anything tangible, so also Nirvana is the absence of causes that are responsible for rebirth. The Sauntrantika's position appears to be nihilistic.
สภาวะของนิพพาน
สภาวะของนิพพาน
การนิยามความหมายของนิพพานว่า คือภาวะนิโรธหรือภาวะที่สิ้นสุดแห่งวัฏสงสาร นั้นเคยมีผู้สงสัยกล่าวหาว่าพระพุทธเจ้าแสดงธรรมเข้าข่ายความเห็นของฝ่ายอุจเฉททิฏฐิ ปัญหานี้ พระพุทธเจ้าทรงชี้แจงไว้ดังนี้
" ในกรณีที่มีผู้สงสัยว่าตถาคตแสดงธรรมตามแบบอุจเฉทวาทนั้น อธิบายได้ว่า ด้วยธรรมทั้งหลายที่ตถาคตได้แสดงไว้นั้นก็เพื่อให้สาวกนำไปปฏิบัติตามเป้าหมายแห่งความสูญสิ้นก็จริง แต่เป็นเพียงการสูญสิ้นแห่งความ โลภ โกรธ หลง และจากความชั่วบาปทั้งหลายทั้งปวง "
ดังนั้น การอธิบายหมายของคำว่านิพพาน จึงมิใช่เป็นการขาดสูญของอัตตา เพราะพุทธศาสนาไม่เชื่อว่ามีอัตตาที่จะขาดสูญ แต่เป็นการสูญสิ้นแห่งอวิชชาที่ก่อให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ( อัตตวาทุปาทาน )
แม้ว่าจะมีการอธิบายความหมายของนิพพานตามแนวความคิดนี้แล้วก็ตาม แต่ต่อมาก็มีผู้รู้ทั้งหลายในทางพุทธศาสนาเลือกสรรหาคำนิยามทางภววิทยาในแบบอื่นมาใช้ในการอธิบายสภาวะของนิพานในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ดังเช่นในนิกายสุตตันตริกะ อ้างว่า นิพพานเป็น อภาวะ เป็นสุญญตา เป็นความว่าง ( อากาสะ ) ปราศจากสรรพสิ่งที่รับรู้ ปราศจากเหตุปัจจัยต่อการเกิดดับ การให้คำนิยามสภาวะนิพพานปรัชญาฝ่ายนี้จึงเป็นดูประหนึ่งเป็นอุจเฉทวาทหรือภาวะที่ขาดสูญ
การนิยามความหมายของนิพพานว่า คือภาวะนิโรธหรือภาวะที่สิ้นสุดแห่งวัฏสงสาร นั้นเคยมีผู้สงสัยกล่าวหาว่าพระพุทธเจ้าแสดงธรรมเข้าข่ายความเห็นของฝ่ายอุจเฉททิฏฐิ ปัญหานี้ พระพุทธเจ้าทรงชี้แจงไว้ดังนี้
" ในกรณีที่มีผู้สงสัยว่าตถาคตแสดงธรรมตามแบบอุจเฉทวาทนั้น อธิบายได้ว่า ด้วยธรรมทั้งหลายที่ตถาคตได้แสดงไว้นั้นก็เพื่อให้สาวกนำไปปฏิบัติตามเป้าหมายแห่งความสูญสิ้นก็จริง แต่เป็นเพียงการสูญสิ้นแห่งความ โลภ โกรธ หลง และจากความชั่วบาปทั้งหลายทั้งปวง "
ดังนั้น การอธิบายหมายของคำว่านิพพาน จึงมิใช่เป็นการขาดสูญของอัตตา เพราะพุทธศาสนาไม่เชื่อว่ามีอัตตาที่จะขาดสูญ แต่เป็นการสูญสิ้นแห่งอวิชชาที่ก่อให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ( อัตตวาทุปาทาน )
แม้ว่าจะมีการอธิบายความหมายของนิพพานตามแนวความคิดนี้แล้วก็ตาม แต่ต่อมาก็มีผู้รู้ทั้งหลายในทางพุทธศาสนาเลือกสรรหาคำนิยามทางภววิทยาในแบบอื่นมาใช้ในการอธิบายสภาวะของนิพานในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ดังเช่นในนิกายสุตตันตริกะ อ้างว่า นิพพานเป็น อภาวะ เป็นสุญญตา เป็นความว่าง ( อากาสะ ) ปราศจากสรรพสิ่งที่รับรู้ ปราศจากเหตุปัจจัยต่อการเกิดดับ การให้คำนิยามสภาวะนิพพานปรัชญาฝ่ายนี้จึงเป็นดูประหนึ่งเป็นอุจเฉทวาทหรือภาวะที่ขาดสูญ
Subscribe to:
Posts (Atom)