Sunday, June 30, 2013

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๓๖ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๓๖ )
ผ้าไหมไทย

         ไหมไทยเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนตั้งแต่ดั้งเดิม ซึ่งเป็นอาชีพของคนไทยในภาคอีสานมาเป็นเวลาช้านานแล้ว สมัยนั้นการทอผ้าเป็นงานฝีมือพื้นบ้านที่สืบทอดกันมาตามประเพณี เพื่อเป็นการสืบทอดรอยเท้าบรรพบุรุษของชนถิ่นนี้ สตรีชาวอีสานเอง ก็เคยเลี้ยงไหม ปั่นและย้อมด้าย โดยวิธีการที่ล้าสมัย เพื่อใช้สอยในครอบครัว และบางครั้งก็นำไปขายในท้องตลาด

          แต่น่าเสียดายที่ว่าตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา อุตสาหกรรมไหมไทยก็มีแต่ซบเซา เนื่องจากการทะลักเข้ามาของสิ่งทอที่มีราคาถูก และผลิตโดยใช้เครื่องจักรของจีนและญี่ปุ่นมายังตลาดไหมไทยเป็นจำนวนมาก ดังนั้นในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้มีความพยายามที่จะปรับปรุงการผลิตไหมขึ้น แต่ก็ประสบความสำเร็จน้อยมาก จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ไหมไทยจึงเริ่มแพร่หลายเข้าสู่ตลาดโลก เมื่อชาวอเมริกันชื่อ จิม ทอมสัน ได้ฟื้นฟูอุตสาหกรรมขึ้นใหม่ และทำให้ไหมไทยเป็นที่รู้จักของโลกภายนอกมากยิ่งขึ้น

Saturday, June 29, 2013

Thailand " Land of Smile " ( Part 36)

Thailand " Land of Smile " ( Part 36)
Thai Silk

         Thai silk is an ancient home industry. It was for a long time an occupation of people in the Northeast of Thailand, where cloth weaving is a traditional folk craft. To follow the footsteps of their ancestors, north-eastern women used to rear their own silkworms, spun and dyed the yarn using the primitive methods for their family needs and sometimes for sale in the markets.

          Unfortunately, form the latter part of the 19th century onwards the Thai silk industry went on the decline due to the influx of Chinese and Japanese cheaper, factory - produced fabrics into the Thai markets. During the reign of King Chulalongkorn ( Rama V), there was an attempt to improve silk production, but it achieved limited success. It was only after the World named Jim Thompson revived the industry and made the silk know to the outside world.

Thursday, June 27, 2013

ภาพลักษณ์เกิดจากใจ ดับหายไปตามจิต




คนมุทะลุ
เห็นเงาคันธนูก็คิดว่าเป็นงูเงี้ยวเขี้ยวขอ
เห็นหินใหญ่วางนอนก็คิดว่าเป็นเสือหมอบ
จิตใจมีแต่ความเหี้ยมเกรียม
คนสุขุม
เสือโหดจะกลายเป็นนกนางนวล
เสียงกบเขียดจะกลายเป็นเสียงดนตรี
สิ่งที่สัมผัสมีแต่ความจริงแท้


นิทัศน์อุทาหรณ์
ผีเงา

           ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีแม่น้ำอยู่สายหนึ่งเรียกว่าแม่น้ำเซี่ยสุ่ยทางใต้ของปากแม่น้ำเซี่ยสุ่ย มีชายคนหนึ่งชื่อจวนซู่เหลียงอาศัยอยู่ เขาผู้นี้เป็นคนใจร้อน เมื่อมเรื่องราวอะไรก็มักจะไม่ยอมใช้ความคิดอย่างเยือกเย็น

            มีอยู่ครั้งหนึ่ง จวนซู่เหลียงกลับมาจากนอกบ้านในตอนกลางคืนท่ามกลางแสงเดือนซึ่งส่องสว่าง เห็นเงาของตนเองก็คิดว่าเป็นผีร้ายที่แอบซุ่มอยู่บนพื้น รู้สึกหวาดกลัวจนหน้าซีด รีบวิ่งหนีอย่างไม่คิดชีวิต ยิ่งหนีเจ้าปีศาจร้ายตัวนั้นก็ไล่ตามมาติดๆ  พอจวนซู่เหลียงกระโดดเข้าประตูบ้านไปได้ ก็เหนื่อยจนหายใจไม่ออก ตายอยู่ที่หน้าประตูนั้นเอง

Monday, June 24, 2013

ตอผุดในพุ่มไม้

ตอผุดในพุ่มไม้

           เรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ที่บางครั้งไม่เคยจะคาดคิดหรือไม่ทันเตรียมใจ เหมือนการพบตอที่ผุดข้นมาในพุ่มไม้



By ปรัชญา ซามูไร

เอาแพะแลกวัว

เอาแพะแลกวัว

          ขณะที่กษัตริย์ซวน ( กษัตริย์ซวนเป็นกษัตริย์ของรัฐฉี สิ้นพระชนม์เมื่อ ๓๐๑ ปีก่อนคริสต์ศักราช ) แห่งรัฐฉีกำลังทรงพระอักษรอยู่นั้น ได้มีมหาดเล็กคนหนึ่งจูงวัวที่ท่าทางตกใจกลัวจนตัวสั่นเดินผ่านไปกษัตริย์ซวนทอดพระเนตรจากพระแกลแลเห็นเข้า ก็ตรัสถามว่า " เจ้าจะจูงวัวไปไหน ? "

           มหาดเล็กกราบทูลว่า " วันนี้เป็นวันไหว้ ข้าพระองค์จะล้มวัวเพื่อไหว้เจ้าพะยะค่ะ "

           กษัตริย์ซวนทอดพระเนตรเห็นอาการหวาดกลัวของวัวตัวนั้นก็ตรัสว่า " ปล่อยมันไปเสียเถอะ ข้าทนดูสภาพที่น่าสงสารของมันไม่ได้ มันไม่ได้ทำผิดอะไรก็จับมันไปฆ่า เป็นการไร้ความเมตตาปรานีเกินไป "

           มหาดเล็กทูลถามว่า " เมื่อปล่อยวัวไปแล้ว พระองค์จะให้ทำพิธีไหว้เจ้าหรือไม่พะยะค่ะ ? "

          " เจ้าต้องการไหว้ ไม่ไหว้ก็ได้ เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ฆ่าแพะตัวหนึ่งมาไหว้เจ้าแทนฆ่าวัว "

Sunday, June 23, 2013

การเคี่ยวกรำ

การเคี่ยวกรำ

          มีหลวงจีนรูปหนึ่งถามฌานาจารย์ซิ่งคง ว่า " บุรพจารย์มาจากทางตะวันตก หมายความว่าอย่างไร ? "

          ฌานาจารย์ตอบว่า " ถ้าข้าพเจ้าช่วยคนตกลงไปในบ่อลึกพันศอกขึ้นมาได้โดยไม่หย่อนเชือกลงไป ถึงตอนนั้น อาตมาจะบอกเจ้า "

          หลวงจีนรูปนั้นส่ายศรีษะพูดว่า " มีฌานาจารย์รูปหนึ่งเพิ่งถึงแก่มรณภาพก็พูดทำนองนี้ ไม่เห็นว่าจะเป็นไปได้เลย "

          ฌานาจารย์ซิ่งคงจึงเรียกหยั่งซานฮุ่ยจี้มา แล้วสั่งว่า " รีบจับหลวงจีนอายุน้อยผู้นี้โยนออกไปข้างนอก ! "

          ต่อมา หยั่งซานถามฌานาจารย์ตันหยวน ว่า " ตามทัศนะของท่าน คิดว่าจะช่วยคนในบ่อขึ้นมาได้อย่างไร ? "

          ฌานาจารย์ตันหยวนถามกลับว่า " ไอ้โง่เอ๋ย ใครอยู่ในบ่อ ? "

Saturday, June 22, 2013

Temporality of consciousness

Temporality of consciousness

          As we know, not only consciousness is a conditioned thing or sankhata but also it is impermanent, temporal or kalika. The term temporality is used to connote the fact of change as well as the subjective experience of temporaity, temporal continuity or momentariness. According to Buddhism, consciousness is not only momentary but it is also the material object, which perpetually changes every moment. This conception is under the law of common characteristics, and consequently the Buddhists do not regard time [ kala ] as an all - pervading principle, which governs everything. Buddhism regard that universal time is a mere concept and has no objective existence. Time is eventuating or happening, no such thing as time exempt from events.

          According to Buddhist philosophy, the concept of time is immaterial and is a succession of the events. It is said that the division of time into past, present, and future is only conventional without any basis of reality. There is no ontological basis for the time distinctions. The past and the future have no existence. Only the present has existence. If Buddhist grant existence to the past and the future, then they have to admit that thing has existence all the time, that means its existence is extend to both the past and the future. This would amount to admitting that the thing is eternal. Such a position would be inconsistent with the Law of Common characteristics.

Friday, June 21, 2013

ช่วงเวลาของวิญญาณ

ช่วงเวลาของวิญญาณ

          ตามที่เราทราบมาแล้วว่า วิญญาณเป็นสังขตธรรม เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นอยู่ชั่วครู่ชั่วขณะ ( กาลิกะ ) มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกชั่วครู่ทุกยาม เป็นกระแสติดต่อกันไป พุทธศาสนาถือว่า ไม่เพียงแต่วิญญาณเท่านั้นที่เป็นอนิจจัง แม้สรรพสิ่งวัตถุธาตุทั้งหลายก็ย่อมเป็นเช่นเดียวกัน มีการผันแปรเปลี่ยนแปลงภายใต้กฏไตรลักษณ์เช่นเดียวกับการเวลา ปรัชญาพุทธก็ไม่ถือและไม่นับว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง เพราะว่าเป็นสิ่งที่แท้มันเป็นเพียงกรอบความคิดในการกำหนดการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ เท่านั้น ปรัชญาพุทธถือว่า กาละหรือเวลา เป็นเพียงกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดติดต่อกัน ดังนั้นความนึกคิดที่มีการเปลี่ยนแปลงติดต่อกัน ดังนั้นความนึกคิดที่มีการแบ่งเวลาออกเป็น อดีต ปัจจุบัน และอนาคต นั้นจึงเป็นเพียงสมมติสัจจะที่มิได้ตั้งอยู่บนความเป็นจริง เพราะเมื่อเราพิจารณาโดยภาวธรรมแล้ว ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต อดีตคือสิ่งที่ผ่านไปแล้ว ส่วนอนาคตคือสิ่งที่ยังมาไม่ถึง มีเพียงช่วงแห่งปัจจุบันกาลเท่านั้นที่พุทธศาสนาถือว่าเป็นจริง การที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่าหากพุทธศาสนายอมรับในความมีอยู่จริงของกาลในอดีตและเวลาในอนาคต ก็ย่อมเท่ากับว่า ปรัชญาพุทธยอมรับว่าสิ่งทั้งหลายมีอยู่จริงอย่างถาวรหรือชั่วนิรันดร์จากอดีต ปัจจุบัน และติดต่อกันไปอย่างไม่สิ้นสุดในอนาคต ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ขัดกับกฏไตรลักษณ์

           ตามคำสอนของพระพุทธองค์ กล่าวว่า มีแต่ปัจจุบันกาลเท่านั้นที่มีอยู่จริงในความหมายของคำว่า ภาวะ หรือ ภพ ดังนั้นจึงถือว่ามีแต่ปัจจุบันกาลเท่านั้นที่เป็นจริง อดีตและอนาคตกาลไม่ใช่ความจริง ทั้งนี้ คำว่า ปัจจุบันกาล ในทางพุทธศาสนาหมายถึงช่วงของปัจจุบันหรือ " ขณะปัจจุบัน " เช่นช่วงแห่งการเกิดดับของวิญญาณดังปรากฏในคัมภีร์วิสุทธมรรคที่อธิบายไว้ว่า

Wednesday, June 19, 2013

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๓๕ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๓๕ )
ประวัติศาสตร์ไทยโดยย่อ

          คำว่า " ไทย " หมายถึง อิสระ ดังนั้นไทยแลนด์จึงหมายถึง " ดินแดนแห่งอิสรภาพ " ก่อนนี้ประเทศไทยมีชื่ออันเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกว่า " สยาม " ครั้นต่อมา เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ จึงได้มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการให้เปลี่ยนชื่อเป็น " ประเทศไทย " หรือ " Thailand " และนับแต่นั้นมาชื่อนี้ก็เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก

          เมื่อตอนเป็นเด็ก ตำราเรียนที่โรงเรียนกล่าวว่าบรรพบุรุษของเรามีรกรากอยู่ทางภาคใต้ของจีน ซึ่งกำเนิดมาประมาณ ๔,๕๐๐ ปีมาแล้ว เนื่องจากถูกจีนรุกราน จึงอพยพลงมาทางใต้ผ่านพม่า เรื่อยลงมาถึงแหลมอินโดจีน และแล้ว " ไทยน้อย " ก็เริ่มก่อตั้งเมืองหลวงขึ้นที่สุโขทัย

          ในขณะนี้ได้เกิดมีแนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องถิ่นกำเนิดของไทยที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่การขุดค้นพบเครื่องมือและสิ่งประดิษฐ์หลายชิ้นที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานีในภาคอีสาน ทฤษฎีเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของไทยจึงเปลี่ยนไป ดูเหมือนว่าคนไทยอาจจะตั้งหลักแหล่งเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยนี้เอง และต่อมาก็กระจายไปทั่วทุกภาคของเอเชีย และแม้แต่บางส่วนของจีนเสียด้วยซ้ำไป

          การโต้เถียงเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของคนไทยนี้ดูเหมือนว่าไม่มีท่าทีที่จะหาข้อสรุปที่แน่ชัดได้เพราะว่ามีหลายทฤษฎีที่เสนอเข้ามามากมาย และบางทฤษฎีก็กล่าวเลยไปถึงว่า เดิมทีเดียวคนไทยมีถิ่นกำเนิดจากชาวออสโทรนีเซีย มากกว่าที่จะเป็นชาวมองโกล แต่ไม่ว่าจะมีข้อโต้แย้งกันอย่างใดก็แล้วแต่ พอถึงศตวรรษที่ ๑๓ คนไทยก็ได้ตั้งหลักปักฐานในผืนแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรียบร้อยแล้ว โดยมีกรุงสุโขทัยเป็นอาณาจักรแห่งแรก ยุคสุโขทัยจัดเป็นช่วงระยะเวลาแห่งการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรมอันใหญ่หลวง ภายใต้การปกครองของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ซึ่งปกครองระหว่างปี พ.ศ. ๑๘๑๘ ถึงปี พ.ศ.๑๘๕๘ อาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองมากในยุคนี้ ถึงกับมีคำกล่าวว่า " ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว " เนื่องจากอาณาจักรมีความเจริญรุ่งเรืองมาก จึงถือว่าเป็น " ยุคทอง " ในประวัติศาสตร์ชาติไทย

Sunday, June 16, 2013

Thailand " Land of Smile " ( Part 35)

Thailand " Land of Smile " ( Part 35)
A brief history of Thailand

         The world " Thai " mean free, and therefore Thailand means the " Land of the free". Previously  the country was well-know to the world as " Siam " and only on May 11, 1946 did and official proclamation changed the name of the country into " Prathet Thai " or " Thailand " by which it has since come to be known throughout the world.

          In childhood, our school textbooks told us that our ancestors  had their roots in Southern China, they moved southward through Burma down to the Indo Chinese peninsula, the " Thai Noi " then established their capital in Sukhothai, the northern province of Thailand.

          Now there are conflicting opinions and theories about the origin of the Thais since the discovery of many instrument and artifact at the village of Ban Chang in Nong Han District of the northeastern province of Udon Thani. The theory about the origin of the Thai people has now change, it appears that the Thais might have first settled down here in Thailand and later scattered to various parts of Asia, even to some parts of china.

           The controversy over the origin of the Thais shows no sign of definite conclusion as many more theories have been put forward and some even go further to say that the Thais were originally of Austronesian rather than Mongoloid. What the outcome of the dispute may be, by the 13th century the Thais had already settled down within the Sukhothai era marked a period of great cultural development. Under King Ramkhamhaeng the Great who ruled from 1275 to 1315, the land of Sukhothai was thriving. There were fish in the water and rice in the fields. Due to the kingdom's prosperity, it is regarded as a " golden age " in the Thai history.

Saturday, June 15, 2013

ความสะพรั่งของฤดูใบไม้ผลิ มิสู้ความสดชื่นในฤดูใบไม้ร่วง




บรรยากาศเรืองรองแห่งฤดูใบไม้ผลิ
บันดาลให้ผู้คนเบิกบานสราญใจ
แต่ไม่สู้เมฆขาวลมเย็นในฤดูใบไม้ร่วง
ซึ่งดอกไม้นานาส่งกลิ่นหอมฟุ้งจรุงใจ
ฟ้ากับน้ำเชื่อมกันเป็นหนึ่ง
โปร่งไกลใสสะอาด
ยังความบริสุทธิ์แก่ผู้คนไปทั้งกายใจ

นิทัศน์อุทาหรณ์
ตู้ฝู่ใหลหลง

           วันนั้น มหากวีตู้ฝูมาถึงเจดีย์หวงซื่อที่เมืองเฉิงตู เมื่อได้เห็นสายน้ำไหลเอื่อยเฉื่อย ก็อดไม่ได้ที่จะแต่งบทกวีขึ้นมา

สายน้ำไหลรี่ผ่านเจดีย์ไปตะวันออก
สายลมฤดูใบไม้ผลิลูบไล้รื่นรมย์
ดอกท้อไร้เจ้าของบานสะพรั่ง
ฤๅสีแดงจะสวยงดงามกว่าสีชมพู...

            ตู้ฝู่เดินเล่นอยู่หน้าเจดีย์หวงซื่อ เห็นแม่น้ำไหลไปทางทิศตะวันออก บรรยากาศฤดูใบไม้ผลิอาบเอิบอยู่ในสายลมอ่อนๆ ดอกท้อไร้เจ้าของบานสะพรั่งอยู่บนกิ่งก้าน น่ารักน่าถนอม สวยสะอางไปทุกดอกจนไม่รู้ว่าจะชอบดอกไหนดี สีชมพูดีกว่าหรือสีแดงดีกว่า ?

            ไม่รู้ว่าลมฤดูใบไม้ผลิทำให้คนมึนเมาหรือคนเมามึนไปเอง ? กวีตู้ฝู่ผู้ปรอดโปร่งโล่งใจด้วยลมเย็นพัดโชย สบายไปทั้งกายใจ จนไม่รู้ว่าตนชอบสีอะไรกันแน่ ?

            ฤดูใบไม้ผลิช่างน่าอภิรมณ์จริงๆ แดงม่วงเขียวเหลือง หลากสีหลายพันธุ์ รุ่งเรืองเฟื่องฟู ทำให้จิตใจของคนเราเหมือนลอยอยู่บนก้อนเมฆ

ความจำเป็น คือต้นสายแห่งการค้นพบ

ความจำเป็น คือต้นสายแห่งการค้นพบ

         สุภาษิตของญี่ปุ่นคำนี้ ถือว่าเป็นปรัชญาที่ช่วยในการต่อสู้ของคนญี่ปุ่นให้พบกับความสำเร็จเป็นยอดคนอย่างแท้จริง ซึ่งช่วยให้ชาวญี่ปุ่นก้าวหน้ามากในวงการอุตสาหกรรมต่างๆ

          เป็นความจริงที่ว่าในประเทศญี่ปุ่นบริษัทใหญ่จะมีผู้บริหารมาจากช่างฝีมือ วิศวกร หรือนักเทคโนโลยี ซึ่งแตกต่างจากอังกฤษและอเมริกาที่ผู้บริหารมักมาจากนักบัญชีและนักการเงิน

           ความจำเป็นคือต้นสายแห่งการค้นพบ นั้นคือการแปลให้สละสลวยตามภาษาไทย ถ้าแปลแบบตรงตัวจะได้ประมาณว่า " ความจำเป็นนั้นเป็นแม่ของการค้นพบ " ในความหมายนั้นหมายถึง ความจำเป็นที่บีบคั้นทำให้เกิดการค้นพบหรือการค้นพบใหม่ๆ นั้นเกิดจากการที่รู้สึกว่า สิ่งที่มีอยู่เดิมที่เป็นต้นกำเนิดของสิ่งต่างๆ นั้นยังสมบูรณ์ไม่เพียงพอหรือมีวิธีการใช้ยุ่งยากมาก จึงต้องพยายามคิดหาวิธีการใหม่ๆ ทำให้เกิดการค้นพบมากขึ้นและดีมากขึ้นมากกว่าเดิม

          และเรื่องราวต่อไปนี้เป็นเรื่องที่พอจะยืนยันในเรื่องของคนคนหนึ่งที่ได้พยายามที่จะค้นพบค้นหาในสิ่งที่เขาเห็นว่ายังไม่ดีพอ และเขามีหน้าที่ที่จะทำให้มันวิเศษกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ คนคนนี้ชื่อว่า

          โซอิจิโร่ ฮอนดะ ชื่อนี้คุ้นๆ หูไหมครับ ลองมาดู " ความจำเป็นคือต้นสายแห่งการค้นพบ " ของเขากันว่าเป็นอย่างไร

          โซอิจิโร่ ฮอนดะ เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๙ หรือร้อยกว่าปีมาแล้ว เขาเป็นลูกชายคนแรกของครอบครัว คุณพ่อของเขาสืบเชื้อสายมาจากชาวนา และได้เปิดร้านตีเหล็กเล็กๆ และรับซ่อมจักรยานด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักจะซื้อจักรยานเก่าๆ มาซ่อมและขายให้ลูกค้าทั่วไป ซึ่งในสมัยนั้นคนญี่ปุ่นกำลังนิยมขี่จักรยานกันมากเพราะประหยัด

Wednesday, June 12, 2013

ดึงต้นข้าวโพด

ดึงต้นข้าวโพด

          ในรัฐซ่งมีชาวนาผู้หนึ่งเห็นว่าข้าวโพดในนาที่ตนปักดำไว้นั้นโตช้าเกินไป ด้วยเหตุนี้วันหนึ่งเขาจึงไปดึงต้นข้าวโพดทุกๆ ต้นให้สูงขึ้น เพื่อช่วยให้มันเติบโตเร็วๆ ตกเย็นเมื่อกลับบ้านเขารู็สึกเหน็ดเหนื่อยมากจึงปรารภออกมาว่า 

           " วันนี้เหนื่อยเหลือเกิน เพราะข้าทำให้ต้นข้าวแต่ละต้นสูงขึ้นมาสองสามนิ้ว " 

           ลูกชายของเขาได้ฟังพ่อพูดเช่นนั้นก็รีบวิ่งออกไปดู สิ่งที่ปรากฏแก่สายตาของเขาคือต้นข้าวใบเหี่ยวแห้งงอพับไปหมด


บันทึกใน " เมิ่งจื่อ "

Tuesday, June 11, 2013

รูปสลักไม้

รูปสลักไม้

         ศิษฆราวาสคนหนึ่งถามฌานาจารย์ต้าจูฮุ่ยไห่ ว่า " ได้ยินว่าในบรรดาคัมภีร์ทั้งหมดนั้น ถ้าเราท่องคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร จะ ขลังที่สุด ได้กุศลใหญ่หลวงที่สุด มิทราบอาจารย์ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ? "

         ฌานาจารย์ตอบด้วยท่าทีไม่ค่อยเห็นด้วยว่า " ไม่เห็นจะเป็นอย่างที่โยมพูดเลย !  "

          ศิษฆราวาสผู้นั้นถามด้วยความสงสัยว่า " เมื่อเป็นเช่นนี้ บันทึกที่กล่าวถึงการท่องสวดคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรจะขลังที่สุด ได้กุศลใหญ่หลวงที่สุด ก็เชื่อถือไม่ได้ "

          ฌานาจารย์จึงให้คำแนะนำว่า " ไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้น กุศลอยู่ที่จิตใจอันบริสุทธิ์ มิใช่ภาพมายาภายนอก คัมภีร์ประกอบขึ้นจากกระดาษ น้ำหมึก และตัวอักษร ซึ่งจะขลังได้อย่างไรกัน ? ถ้าเราวางคัมภีร์ไว้ที่ไหนสักแห่ง เอาแต่กราบไหว้บูชาย่อมได้กุศล โยมเชื่อหรือไม่ ? "

Freedom of consciousness

Freedom of consciousness

          Before we debate whether consciousness is free, we should clarify the level or the sphere of consciousness, according to Buddhism, first. As aforementioned, Buddhism divides the quality of consciousness into four spheres, there are as follows :

          1. Kamavacara citta is consciousness, which move under the influence of desire. Consciousness of this level lacks freedom because it is influenced and controlled by desire. It is this desire, manifesting itself in the forms of various defilements that give rise to suffering. Hence this type of consciousness is subject to suffering. It is regarded as consciousness of an ordinary person. The psychic factors which are the special contents in this type of consciousness are called hindrances or nirvarana. They are ; sensual desire [kamachanda], ill will [vyapada], sloth and torpor [thina - middha], restlessness and anxiety [uddhaca - kukkucca] and doubt [vicikicca]. By practising meditation concentration [samadha - bhavana], one can purify consciousness of these hindrances and thereby attain consciousness of the second level.

          2. Ruppavaccara - citta is consciousness arising from concentration on an object associated with form and color. It is in a state of trance. This type of consciousness has five psychic factors, which are called the constituents of trance. They are; initial application, sustained application, rapture, joy, and one - pointedness. By these five factors, the five hindrance are suppressed. There are five stages of trances. Reaching the fifth stage, consciousness is purified of major defilements. If directed rightly, it makes endeavor to develop subtle state of concentration on the formless objects and consequently move to the third level of Arupavacara - citta.

           3. Arupavaccara citta is consciousness arising from concentration on formless objects. Its psychic factors are the same as those of consciousness which the fifth stage of trance. Its objects however are different. It concentrates on formless objects such as infinite space, infinite consciousness and nothingness. Concentration on these objects, consciousness possesses four stages of progress known as Arupa- Samadhi.

           With the attainment of this fourth stage, consciousness becomes immensely pure and subtle. All the major defile factors are rendered functionless except the ten fetters [samyojana] existing as the seeds of defilements. Having attain full concentration, consciousness is ready to develop insight into the true nature if things by means of insight meditation [ vipassana - bhavana ]. By this insight, ten fetters are cut off and consciousness reaches the fourth and the final level.

Saturday, June 08, 2013

วิญญาณเป็นอิสระหรือไม่

วิญญาณเป็นอิสระหรือไม่

          ก่อนที่เราจะเข้าถึงปัญญาที่ว่า วิญญาณเป็นอิสระหรือไม่ ? หรือปัญหาที่ว่า มนุษย์เรามีจำนงเสรีหรือไม่ ? ขอให้เราทำความเข้าใจกับ " ระดับ " หรือ " ภูมิ " ของวิญญาณ ซึ่งในทางพุทธศาสนามีการแบ่งออกเป็น ๔ ระดับ ดังนี้

          ๑. กามาวจรภูมิ ได้แก่ระดับของจิตหรือวิญญาณที่ติดยึดอยู่ภายใต้ความอยากความใคร่ หรือที่เรียกว่า ตัณหา วิญญาณในภูมินี้ถือว่ายังขาดอิสระเสรีภาพในมุมมองทางพุทธศาสนา เพราะว่าถูกควบคุมติดยึดข้องแวะอยู่กับความอยากหรือตัณหา และตัณหาตัวนี้ที่ทำให้มนุษย์แสดงออกด้วยอำนาจของกิเลสต่างๆ จนทำให้มนุษย์เกิดความทุกข์ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า จิตหรือวิญญาณในระดับนี้เป็นตัวที่ก่อให้เกิดความทุกข์ เป็นจิตที่พบได้ทั้วไปในมนุษย์ที่เป็นปุถุชนคนธรรมดาอย่างเราท่าน วิญญาณในระดับกามาวจรภูมินี้ประกอบไปด้วยเจตสิกหลายประเภท เช่น นิวรณ์ ๕ ได้แก่ กามฉันทะ ( ความใคร่ในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส ) พยาบาท ( ความคิดร้าย ) ถีนมิทธะ ( ความหดหู่ซ่วงซึม ) อุทธัจจกุกกุจจะ ( ความฟุ้งซ่านร้อนรนใจ ) และ วิจิกิจฉา  ( ความลังเลสงสัย ) ซึ่งนิวรณ์ทั้ง ๕ นี้สามารถ ขจัดให้บรรเทาเบาบางได้ด้วยสมาธิภาวนาเพื่อยกระดับของวิญญาณขึ้นสู่ภูมิในขั้นที่สูงขึ้นต่อไป

           ๒. รูปาวจรภูมิ ได้แก่วิญญาณที่ยึดติดอยู่ในรูปหรือที่ปรารภรูปธรรมเป็นอารมณ์ เป็นระดับจิตที่เกิดจากการปฏิบัติสมาธิภาวนา จนเจตสิกนำจิตเลื่อนเข้าสู่ฌานในระดับ ๕ ระดับได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกคตาเมื่อเข้าถึงรูปาวจรภูมิ เจตสิกที่จัดว่าเป็นนิวรณ์ทั้งห้าค่อยๆ ดับลง จนเมื่อจิตถูกยกระดับเข้าสู่สภาวะแห่งเอกัคคตาวิญญาณก็จะเกิดความบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสที่สำคัญ หากมีการปฏิบัติภาวนาให้ถูกวิธี จิตหรือวิญญาณก็จะเลื่อนขึ้นสู่ภูมิขั้นสูงต่อไป

           ๓. อรูปาวจรภูมิ เป็นระดับจิตที่สูงสุด แต่ยังจัดอยู่ในระดับโลกิยภูมิ เพราะถือว่ายังปรารภอยู่ในอรูปธรรมเป็นอารมณ์ โดยยังมี เอกัคคตา ที่ถือว่ายังเป็นเจตสิกที่เบาบางที่คอยบังคับจิตให้มุ่งเพ่งไปยังสิ่งที่ไม่ใช่รูปซึ่งมีอยู่ ๔ ระดับ ได้แก่ ๑. อากาสานัญจายตนภูมิ ( ภาวะที่มีอากาศไม่มีที่สิ้นสุด ) ๒. วิญญาณัญจายตนภูมิ ( ภาวะที่มีวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด ) ๓. อากิญจัญญายตนภูมิ ( ภาวะที่ว่างไม่มีอะไรเลย ) และ ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ ( จิตที่เข้าถึงภาวะทีมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ) จิตที่เข้าสู่อรูปภูมิทั้งสี่นี้ได้เป็นผลที่เกิดจากการปฏิบัติสมาธิภาวนาในระดับสูงต่อขจากชั้นรูปาวจรภูมิผู้เข้าถึงอรูปฌานชั้นที่ ๔ คือเนวสัญญานาสัญญายตนะ จะมีระดับจิตที่สงบบริสุทธิ์ในระดับสูงสุดแห่งโลกิยภูมิที่มีเจตสิกได้แก่กิเลสที่สำคัญทั้งหลายถูกจำกัดให้หมดทั้งสิ้นลง เหลือแต่กิเลสอันละเอียดที่ผูกรัดใจ เรียกว่า สังโยชน์ ๑๐ ประการ ที่ยังค้างอยู่ภายในก้นบึ้งของวิญญาณ หากผู้ปฏิบัติสมาธิภาวนาจนเข้าสู่ระดับนี้ดำเนินการชำระจิตด้วยการปฏิบัติวิปัสนาภาวนาจนเข้าสู่ระดับนี้ ดำเนินการชำระจิตด้วยการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาต่อไปตามหลักกางทางพุทธศาสนา จิตจะถูกยกระดับขึ้นถึงระดับสูงสุด มองเห็นสิ่งที่เป็นจริงตามธรรมชาติที่ควรจะเป็น เรียกว่า สัจธรรมหรือ ปรมัตถธรรม โดยกิเลส ตัณหาและสังโยชน์ทั้งหลายเป็นตัวเจตสิก ที่ทำให้วิญญาณไม่หลุดพ้นเป็นอิสระถูกขจัดจนหมดสิ้น

Thursday, June 06, 2013

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๓๔ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๓๔ )
ผลไม้ไทย

          ประเทศไทยมีชื่อเสียงว่าเป็น " เมืองยิ้ม " " ดินแดนแห่งผ้ากาสาวพัตร์ " และบางครั้งก็อาจจะมีชื่อเสียงด้านอื่นอีก เป็นต้นว่าดินแดนแห่งผลไม้เมืองร้อน เพราะว่าเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยผลไม้เมืองร้อนและเมืองหนาว ซึ่งแตกต่างกันออกไปตามฤดูกาล

           ถึงแม้ว่าผลไม้บางชนิดอาจจะไม่อยู่ในช่วงฤดูกาล แต่ก็ยังอุตส่าห์มีให้พบได้ในรูปของการเชื่อมหรือดองไว้ ยิ่งไปกว่านั้น ผลไม้บางชนิด เช่น องุ่น ก็ยังสามารถบังคับให้ออกผลไม้ตลอดทั้งปีอีกด้วย แน่นอนที่สุดประเทศไทยจัดว่าเป็นสวรรค์ของผู้ที่ชอบทานผลไม้โดยทั่วไป ผลไม้ไทยจะมีรสหวาน รวมทั้งผลไม้บางชนิด ซึ่งตามธรรมชาติจะมีรสเปรี้ยว แต่ทำให้มีรสหวานได้ เช่น กระท้อนและมะขาม เป็นต้น

           เนื่องจากประเทศไทยมีผลไม้อุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี ก็เลยกลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ทำรายได้เข้าประเทศถึง ๘,๕๐๓.๗๔ล้านบาท จากการส่งออกผลไม้สดและผลไม้แปรรูปไปยังประเทศใกล้เคียง เช่น ฮ่องกง, สิงคโปร์และญี่ปุ่น ซึ่งชาวญี่ปุ่นชอบรับประทานมะม่วงไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง " มะม่วงหนังกลางวัน "

Tuesday, June 04, 2013

Thailand " Land of Smile " ( Part 34 )

Thailand " Land of Smile " ( Part 34 )
Tropical Thai Fruits

         Thailand is popularly know as the " land of smiles " , " land of yellow robes " and probably another popularity of Thailand is a land of tropical fruits as the country is blessed with a myriad of delicious tropical and temperate fruits which only vary depending on the season.

          Even though a fruit may not be in season, it can be found in candied or preserved from. Moreover, some fruit like grapes are even coached to bear fruit all year round. Indeed, Thailand is a paradise for those who love fruit. Generally, Thai fruits are sweet including those which are traditionally sour such as santol and tamarind.

          Since fruit crops in Thailand are plentiful all the year round, they are becoming more and more important export earners for the country which in 1989 earned up to nearby countries such as Hong Kong, Singapore, and Japan which prefer Thai mangoes especially their favorite type known in Thai as " Nang Klang wan ".

Sunday, June 02, 2013

โลกในเมฆหมอก ฟ้าดินในความเงียบ




สดับเสียงสนุขเห่าไก่ขันที่ข้างรั้ว
คลับคล้ายดั่งลอยละล่องอยู่กลางเมฆหมอก
อยู่ในห้องหนังสือแว่วเสียงจักจั่นระงมนกการ้อง
จึงตระหนักในคุณวิเศษของความเงียบ

นิทัศน์อุทาหรณ์
กวีบนหลังลา

           นิทานเรื่องนี้ เกิดนานมาแล้ว

           แต่ละวัน เมื่อแสงเงินแสงทองลำแรกส่องขึ้นจับท้องฟ้า ชายหนุ่มคนหนึ่งหน้าตาคมสัน สวมเสื้อผ้าสีขาว ขี่ลาผอมเล็กตัวหนึ่งเดินกุกๆ กักๆ ข้ามลำธาร ผ่าเข้าไปในดงไม้

           เบื้องหลังลามีเด็กรับใช้สะพายถุงโบราณ ติดตามไปอย่างกระชั้นชิด

           คนตัดฟืนในดงไม้ต่างรู้ว่ากวีผู้ชอบแสวงหาคำไพเราะมาอีกแล้ว