Tuesday, February 11, 2014

สวรรค์ นรก ชาติหน้า มีจริงหรือ ?


สวรรค์ นรก ชาติหน้า มีจริงหรือ ?

        สวรรค์ นรก ชาติหน้า มีจริงหรือ ? เป็นคำถามโลกแตกที่มีผู้สงสัยและให้ความสนใจอยู่เสมอ คำตอบนี้เกี่ยวกับปัญหานี้ ท่านพระธรรมปิฎกเขียนไว้ในหนังสือ บุญ บาป กับกฎแห่งกรรมว่า แม้ว่าในบางคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาจะยืนยันว่า นรก สวรรค์ มีอยู่จริง แต่ในพระสูตรที่ปรากฏอยู่ในพระไตปิฎกฉบับดั้งเดิมมีการกล่าวถึง ชาติหน้า สวรรค์ นรก ไว้น้อยมาก ที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องจากพุทธศาสนาไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ เพราะถือว่าไม่สอดคล้องกับคุณลักษณะของทางศาสนาที่มุ่งสอนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในชาตินี้เป็นเรื่องสำคัญ ในคัมภีร์ระไตรปิฎกเพียงแต่กล่าวถึง การเกิดใหม่ นรก สวรรค์ และผลของการทำดี ทำชั่ว ไว้ในเรื่องของกฎแห่งกรรมในตอนท้ายของเรื่องว่า

         " เมื่อความตายมาถึง ร่างดับสูญลง เขาจะตกไปสู่นรก อันเป็นภาวะที่น่าสะพรึงกลัว " หรือสอนว่า " เมื่อตายไป ร่างกายดับสิ้นลง จะได้ขึ้นไปอยู่บนแดนสวรรค์ " เป็นต้น

         แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ท่านพุทธทาสภิกขุ พระปฏิรูปความเชื่อทางพุทธศาสนาที่ล่วงลับไปแล้วยืนยันว่า แท้ที่จริงแล้ว สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ มันขึ้นอยู่กับสภาวะทางจิต หากคนเราสามารถชำระจิตให้สงบปราศจากกิเลสตัณหาทั้งหลายด้วยการปฏิบัติสมาธิวิปัสสนา ก็สามารถเข้าถึงนิพพานได้ด้วยตัวเองภายในชาตินี้



        อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับเรื่อง สวรรค์ นรก ชาติก่อน ชาติหน้า โดยแท้จริงแล้วไม่มีใครที่จะพิสูจน์ได้ว่ามีจริงหรือไม่ ทั้งในฝ่ายที่เชื่อหรือไม่ในฝ่ายที่ไม่เชื่อก็ตาม เพราะสิ่งเหล่านี้อยู่เหนือการพิสูจน์ด้วยประสาทสัมผัสทั้งหกของมนุษย์ปุถุชนเช่นเราท่าน ดังปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระไตปิฎกว่า

         " วัตถุย่อมมองเห็นได้ด้วยตา เสียงย่อมรับฟังได้ด้วยหู ราย่อมรับรู้ได้ด้วยลิ้น เพราะสิ่งหล่านี้เป็น ' อจินไตย ' อยู่เหนือการทำความเข้าใจด้วยกระบวนการคิดของปุถุชนธรรมดา เป็นสิ่งที่รู้ได้ด้วยอาสวักขยญาณของผู้สำเร็จมรรคผลนิพพานแล้วเท่านั้น "

         " เป็นไปไม่ได้ที่เราจะมองเห็นวัตถุโดยไม่ใช้ตา แม้ว่าจะใช้หูทั้งสิบหูแล้วก็ตาม บางสิ่งบางอย่างมองเห็นได้เฉพาะแมว เช่นเดียวกัน การเกิดการตายเป็นประสบการณ์ของจิตก็ย่อมต้องพิสูจน์ด้วยจิตนั่นคือต้องเป็นจิตที่สงบตั้งมั่นอยู่ในสมาธิวิปัสสนา หรือไม่ก็คงจะต้องพิสูจน์ว่าสิ่งเหล่านี้มีหรือไม่มีด้วยการทดลองตายดู แต่จะมีสักกี่คนเล่าที่จะกล้าทำ ? "

         ดังนั้น ในทางพุทธศาสนาจึงไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องเหล่านี้เพราะเป้าหมายที่สำคัญอยู่ที่การประพฤติปฏิบัติในชีวิตปัจจุบันว่า ทำอย่างไรเราจึงจะเดินไปสู่จุดหมายนั้นได้ในทางที่ถูกที่ควร เพื่อว่าการกระทำเช่นนี้จะทำให้เรามั่นใจว่าจะส่งผลดีต่อชีวิตหน้าหากว่ามันมีจริง เช่นเดียวกัน ผู้ที่ยังไม่เชื่อว่ามีสวรรค์ นรก หรือชาติหน้า ตราบที่เรายังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีจริงหรือไม่ ก็ยังไม่ควรปฏิเสธความสงสัยที่ซ่อนลึกอยู่ภายในจิตใจของตนเองเสียเลยทีเดียว เพราะประสบการณ์ที่ผ่านจากวัยหนุ่มสาวเมื่อย่างเข้าสู่วัยชราอาจเกิดความหวั่นไหวเกรงกลัวต่ออนาคตในชีวิตหน้ามีจริง ก็ควรพัฒนาตนเองเร่งสร้างคุณงามความดีไว้เสียตั้งแต่แรก และเมื่อวันนั้นมาถึง จะมีหรือไม่มี สิ่งเหล่านี้ เราก็จะเป็นสุขและสงบได้เมื่อความตายมาเยือน

         ที่จริงแล้ว พุทธศาสนาสอนให้เราเชื่อเกี่ยวกับ สวรรค์ นรก เพื่อลดการพึ่งพิงสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือจากอำนาจเบื้องบน การสอนให้เชื่อว่าชาติหน้ามีจริงก็เพื่อความมุ่งหมายในการพัฒนาศักยภาพของตนเองโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ เพราะการพึ่งพิงอำนาจภายนอกรังแต่จะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาตนเองในการนำชีวิตไปสู่ความเจริญงอกงาม ผู้ที่ปล่อยให้ถลำลงสู่ความเชื่อเช่นนั้นจึงควรพยายามปรับปรุงตนเองด้วยการปลีกห่างจากแนวความคิดดังกล่าวออกมาก็ย่อมสามารถเป็นที่พึ่งของตนได้มากยิ่งขึ้นด้วการเร่งประกอบกรรมดีเว้นกระทำกรรมชั่ว อยู่ในศีลธรรมอันดีงามไม่คาดหวังผลใดๆ ในโลกหน้า แม้จะเชื่อหรือไม่ว่านรกสวรรค์และชาติหน้ามีจริงหรือไม่ก็ตาม ด้วยเหตุนี้ พุทธศาสนาจึงเน้นสอนให้เราทั้งหลายดำรงตนอยู่ในศีล แสวงหาความสงบสุขอันประณีตด้วยกรทำสมาธิ และพัฒนาจิตใจให้เกิดปัญญา รู้และเข้าใจต่อโลกและชีวิต สามสิ่งนี้ก็คือกฎกติกาในการดำรงตนภายใต้หลักไตรสิกขาคือ ศีล สามธิ ปัญญา ที่พุทธศาสนาถือว่ามีความสัมพันธ์ที่จะต้องประพฤติปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน

          อย่างไรก็ตาม การที่มีท่านผู้รู้สอนในเรื่อง นรกสวรรค์ ชาตินี้ชาติหน้า ซึ่งโดยแท้จริงแล้วก็เพื่อเหตุผลทางด้านศีลธรรม ที่ต้องการเน้นให้คนทั่วไปเชื่อมั่นในเรื่องของผลกรรมที่จะได้รับในระยะยาวด้วยเหตุผลข้อนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความเชื่อว่าชาติหน้ามีจริงหรืออย่างน้อยก็พยายามหาหลักฐานเพื่อสนับสนุนให้เกิดความเชื่อมั่นในเรื่องนี้ แต่การเน้นผลของกรรมที่เคยกระทำไว้ในชาติก่อนและที่จะมีผลต่อไปในชาติหน้ามากเกินไป " ทำความดีเพื่อความดี " มิใช่ทำความดีเพื่อหวังผลในชาตินี้หรือชาติหน้า ซึ่งการยึดหลักการทำบุญเพื่อหวังผลเช่นนั้น มีแต่จะเป็นการเพิ่มกิเลสชนิดหนึ่งคือ ความโลภให้กับตนเองอย่างที่ไม่มีที่สิ้นสุด นี่คือคำตอบอันมีค่าจากท่านพระธรรมปิฎกต่อปัญหาเกี่ยวกับสวรรค์นรกและการเกิดใหม่อย่างที่มีการถกเถียงกันอยู่เสมอในผู้ยังยึดอยู่ในอัตตาที่สงสัยว่าหลักอนัตตาเข้ากันไม่ได้กับกฎแห่งกรรม ดังคำกล่าวที่ว่า

         ผู้ที่พยายามนำเอาหลักอนัตตามาใช้เพื่อประโยชน์ตนย่อมได้ชื่อว่ายังไม่หลุดพ้นจากอัตตา ผู้ที่มีอุปาทานอยู่ในอนัตตา คือผู้ที่ยังยึดติดอยู่ในอัตตา เขายังไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำว่า อนัตตา "





By แก่นพุทธธรรม

No comments:

Post a Comment