Friday, May 31, 2013

ความเงียบคือดอกไม้

ความเงียบคือดอกไม้

          ใช้ความเงียบและนิ่งเพื่อบรรลุถึงสิ่งที่ต้องการดีกว่าการเคลื่อนไหวที่ร้อนดั่งไฟ




By ปรัชญา ซามูไร

จิตมาร

จิตมาร

          ฌานาจารย์เต้าเนี่ยนออกบวชเข้าสู่บรรพชิตนานนับสิบปีแล้วเคยเดินทางไปสนทนาธรรมและขอคำแนะนำจากฌานาจารย์ทุกหนแห่ง ก็ยังไม่บรรลุธรรม มาวันหนึ่ง ท่านขอคำแนะนำจากฌานาจารย์สือโถว ว่า " อาตมายังไม่เข้าใจภาวะจริงแท้ของตนเอง ท่านฌานาจารย์โปรดแนะนำอาตมาด้วยเถิด "

           ฌานาจารย์กลับตอบว่า " ก้อนหินไม่มีปาก " 

            เต้าเนี่ยนขอร้องอีกว่า " ศิษย์ขอคำแนะนำอย่างจริงใจ ศิษย์น้อมใจฟังคำสอน "

            ฌานาจารย์ถามว่า " เจ้าได้ยินอะไรหรือไม่ ? "

            เต้าเนี่ยนตอบว่า " ศิษย์มีบาปหนาสาหัส " 

            ฌานาจารย์พูดว่า " อาจารย์ก็มีบาปมีความผิดไม่เบา "

            เต้าเนี่ยนถามอย่างประหลาดใจว่า " อาจารย์มีความผิดใดหรือ ? "

ส้มกลายเมื่อผิดที่

ส้มกลายเมื่อผิดที่

          ครั้งหนึ่งกษัตริย์แห่งรัฐฉู่ได้ทรงจัดงานเลี้ยงต้อนรับเอี้ยนจื่อในฐานะที่เป็นทูตมาจากรัฐฉี เมื่อขันทีรินเหล้าให้แก่ผู้มาร่วมงานเลี้ยงครอบสามรอบแล้ว ก็มีหน้าที่จับชายคนหนึ่งนำเข้ามาในห้องโถงกษัตริย์แห่งรัฐฉู่ทรงแสร้งทำเป็นแปลกพระทัย ตรัสถามว่า

          " พวกเจ้าจับใครมา " 

           เจ้าหน้าที่ทูลว่า เป็นคนรัฐฉี มีความผิดในฐานะเป็นโจรพะย่ะค่ะ กษัตริย์แห่งรัฐฉู่หันพระพักตร์มองเอี้ยนจื่อตรัสว่า " อ้อเป็นคนรัฐของพวกท่าน คนรัฐฉีคงมีนิสัยลักขโมยจนเคยชินกระมัง ? "

           เอี้ยนจื่อลุกขึ้นยืนกล่าวตอบว่า " ข้าพเจ้าได้ฟังมาว่า ส้มนั้นเมื่อปลูกที่ภาคใต้ก็ออกมาเป็นส้ม แต่เมื่อย้ายไปปลูกภาคเหนือแล้วก็จะกลายเป็นต้นจื้อไป อันต้นจื้อนั้น ถึงแม้ใบมันจะเหมือนส้ม แต่ลูกของมันผิดกันมากการที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะดินฟ้าอากาศต่างกันราษฎรที่กำเนิดในรัฐฉีนั้นไม่เคยมีใครลักขโมยของ แต่เมื่อมารัฐฉู่ก็กลายเป็นขโมยไป ข้าพเจ้าทูลถามพระองค์ว่า นี่จะเป็นเพราะดินฟ้าอากาศของรัฐฉู่ทำให้มีนิสัยกลายเป็นขโมยขโจรไปใช่หรือไม่ ? "

บันทึกใน " เอี้ยนจื่อชุนชิว "

Thursday, May 30, 2013

Rebirth of consciousness

Rebirth of consciousness

          Many lay Buddhist and even certain popular monks are often confused with the different between soul and consciousness. Towards the end of the preceding chapter, we remark that one of the common misconceptions of many Buddhists is the belief that rebirth or reincarnation can be reconciled to the Doctrine of Anatta. If this is the case then perhaps the following question should be asked : If there is no self, that what is it that is reborn and experiences the result of karma ? T.W. Rhys Davids made the following observation :

           " We arrived at the deadlock to save what it holds to be a psychological truth that Buddhism rejects the notion of soul, to save what it holds to be the necessity of justice, it retains the belief in transmigration. "

           The concept of transmigration can be misleading. The Buddhist doctrine of rebirth should be distinguished from the Uppanisadic theory of transmigration of self or soul. In Buddhism, there is no permanent self or soul, which transmigrates from one life to another. There is no entity, no self no element of being transmigrates from the last existence into the present one.

Saturday, May 25, 2013

การเกิดใหม่ของวิญญาณ

การเกิดใหม่ของวิญญาณ

          มีชาวพุทธจำนวนไม่น้อย รวมทั้งภิกษุชื่อดังหลายรูปที่มีความเข้าใจสับสนในทฤษฎีความเชื่อระหว่าง ดวงวิญญาณหรืออัตตาในปรัชญาอุปนิษัท กับ วิญญาณหรือจิตในทางพุทธศาสนาจากบทที่ว่าด้วยเรื่องวิญญาณที่ผ่านมา เราจะพบว่า ปัญหาหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวพุทธก็คือการนำเอาความเชื่อในเรื่องของการกลับชาติมาเกิดหรือการเกิดใหม่เพื่อใช้กรรม มาเป็นเรื่องเดียวกันกับหลักอนัตตา ต่อไปนี้เป็นการตอบคำถามที่ว่า หากไม่มีอัตตา การกลับชาติมาเกิดใหม่กับการเสวยผลของกรรมจะเป็นไปได้อย่างไร ? ศาสตราจารย์ ริส เดวิดส์ ให้ความเห็นเรื่องนี้ว่า

          " เรากำลังมาถึงทางตันในการอิบายเพื่อให้สอดคล้องกลมกลืนและสร้างความยุติธรรมระหว่างความเชื่อในทางจิตวิญญาณของพุทธศาสนาที่ปฏิเสธทฤษฎีอัตตา กับ การแสวงหาที่อยู่ใหม่ของดวงวิญญาณตามความเชื่อของชาวอุปนิษัท "

           อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีความเชื่อเกี่ยวกับจิตวิญญาณในทางพุทธศาสนา อาจทำให้เกิดความเข้าใจที่ผิดๆ เกี่ยวกับดวงวิญญาณทีล่องลอยไปแสวงหาที่อยู่ใหม่ตามความเชื่อของชาวอุปนิษัท โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นศึกษาพุทธศาสนาใหม่ๆ ดังนั้นชาวพุทธจึงควรทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งเสียก่อน เพราะในทางพุทธศาสนาไม่เชื่อว่ามีอัตตาหรือดวงวิญญาณถาวรใดๆ  ( transmigrating soul )  ที่จะลอยออกจากร่างคนตายไปแสวงหาร่างใหม่ เพราะสรรพสิ่งทั้งหลายเป็นสังขตธรรม ไม่มีอยู่จริง ไม่มีตัวตน ไม่มีสัตภาวะใดๆ ที่จะออกจากภพก่อนมาสู่ภพปัจจุบัน

Friday, May 24, 2013

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๓๓ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๓๓ ) 
พิธีทอดกระถิน

          เมื่อสิ้นฤดูกาลเข้าพรรษา ( ประมาณเดือนกรกฏาคมถึงเดือนกันยายน ) พระภิกษุทั่วประเทศมีอิสระที่จะเดินทางไปยังที่หนึ่งที่ใดก็ได้ และได้รับอนุญาติให้ได้รับจีวรใหม่ในพิธีทอดกฐินประจำปี นอกจากผ้าจีวรใหม่ก็มีเครื่องอัฏฐบริขาร อุปกรณ์เครื่องครัว เงินบริจาคทานและอุปกรณ์ก่อสร้าง เช่น ตะปู เลื่อยมือ และค้อน เป็นต้น ซึ่งถวายไปพร้อมกันในพิธีนี้ด้วย

          ที่จริงแล้ว คำว่า " ทอด " หมายถึง " การถวายทานแก่พระสงฆ์ " และคำว่า " กฐิน " แปลตามตัวหมายถึง " ไม้สะดึง " ( คือไม้แบบตัดจีวร ) ใช้ในการเย็บผ้าจีวรเพราะในสมัยก่อนต้องเก็บเอามาจากเศษผ้า จากซากศพในป่า เพราะว่าจีวรไม่มีจำหน่ายมากมายอย่างเช่นทุกวันนี้ ชาวพุทธถือว่า " พิธีทอดกฐิน " เป็นการทำบุญที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งรองจากพิธีอุปสมบทของญาติสนิท ดังนั้นในช่วงชีวิตหนึ่งทุกคนต่างก็หาโอกาสที่จะได้เป็นเจ้าภาพทอดกฐิน เพราะว่าพิธีนี้ต้องใช้เวลามาก ทั้งกำลังคนและค่าใช้จ่ายสูง เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ จะต้องมีการจองล่วงหน้า มิฉะนั้นโอกาสที่จะได้เป็นเจ้าภาพกฐินแต่เพียงผู้เดียวก็จะเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดที่มีชื่อเสียง แม้กระนั้นผู้ที่พลาดโอกาสที่จะได้เป็นเจ้าภาพแต่เพียงผู้เดียวก็ยังสามารถเข้าร่วมในการทอดกฐินได้ ซึ่งกฐินประเภทนี้เรียกว่า " กฐินสามัคคี "

Thursday, May 23, 2013

Thailand " Land of Smile " ( Part 33 )

Thailand " Land of Smile " ( Part 33 )
Kathin Ceremony

        With the end of the 3 - month Rains Retreat ( about July to September ) monk throughout the country are free to move from place to place and are eligible to receive new robs in an annual presentation ceremony called " Thot Kathin ". Beside new robes, Buddhist literature, kitchen equipment financial contributions and building materials e.g.nails, hand - saws and hammers etc. are also presented to monks on this occasion.

         In fact, the world " Thot " means " making an offering to the monk and the word " Kathin " literary means the " embroidery frame " used in sewing the yellow robes which, in those days, were collected from rags on dead bodies in the jungle since clothes were not available in plenty as nowadays. Buddhist people regard the " Thot Kathin " ceremony as the most significant form of merit - making next to  the ordination of their close kin. Thus, once in their lifetime everybody is looking forward to having an opportunity to be the sponsor of a Kathin ceremony as it involves a lot of time, manpower and expense. Above all, an advance booking must be made with temple,  otherwise, the chance to be a sole sponsor of the Kathin may not be possible especially with the reputable temples. Nontheless, those who fail to be the sole sponsor of Kathin can also take part in the ceremony which, in this type, is know as " Kathin Samakki " or the United Kathin ".

นอนเมฆชมเดือน ตัดกิเลสพ้นโลก




ใต้ผ้าห่มดอกแขม
เอาหิมะเป็นที่นอนอาเมฆเป็นหมอน
ดำรงคงไว้ซึ่งบรรยากาศแห่งราตรีกาล
ดื่มสุราในจอกไบไผ่
แต่งกลอนในสายลมชมแสงจันทร์อันเจิดจรัส
หลบหลีกจากโลกวิสัยไปไกลแสนไกล

นิทัศน์อุทาหรณ์
จีคังเก็บสมุนไพร

          เมื่อเล็ก ความกลุ้มอกกลุ้มใจของเรามีเพียงเล็กน้อย เมื่อเติบโตขึ้นความกลัดกลุ้มก็เหมือนก้อนหิมะ ยิ่งกลิ้งยิ่งใหญ่ ถึงตอนนั้นงานจะนำมาซึ่งความกลัดกลุ้ม เงินทองจะนำมาซึ่งความกลัดกลุ้มกระทั่งเพื่อนฝูงกสามารถจะนำความกลัดกลุ้มมาให้ ช่างน่าชังยิ่งนัก แต่ทุกๆ คนก็ต้องผ่านความเป็นไปเช่นนั้น ใครจะหลบหลีกเลี่ยงพ้นได้ ?

          ยังดี - ยังดีที่ฟ้าได้ประทานโลกธรรมชาติอันน่าอัศจรรย์มาให้แก่เราเฉกเช่น ลมดอกไม้ ดวงจัทร์ ซึ่งสามารถลืมเรื่องจุกๆ จิกๆ ต่างๆ ในโลก ที่สร้างงความกลัดกลุ้มให้แก่เราได้

Wednesday, May 22, 2013

ความปรารถนาทางวัตถุ

ความปรารถนาทางวัตถุ

          ช่วงที่ฌานาจารย์เต้าซู่นำลูกศิษย์ลูกหาไปพำนักอาศัยบนเทือกเขาซานฟงซาน อำเภอโซ่วโจว มักพบเห็นคนแต่งกายเรียบๆ สมถะ แต่พูดจาประหลาดชวนสนเท่ห์ กระทั่งสามารถจำแลงกายในลักษณะพระพุทธ พระโพธิสัตว์ พระอรหันต์ เทพยาดา ฯลฯ มีประกายแห่งเทพพวยพุ่งรอบตัว ลูกศิษย์ลูกหาของท่านได้พบเห็น ก็ลือกันไปว่าเทพยดาอวตาร แต่ฌานาจารย์เต้าซู่ยังคงนิ่งเฉยดุจปกติ ไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์อะไรทั้งสิ้น

           หลังจากนั้นประมาณสิบปี ปรากฏการณ์เหล่านั้นก็ไม่เกิดขึ้นอีก ฌานาจารย์จึงเรียกประชุมลูกศิษย์ลูกหา สั่งสอนว่า " คนในหมู่บ้านชอบเล่นมายากล ทำให้เกิดอุปทาน ถ้าเรานิ่งเฉย ไม่พูดไม่ดู ลวดลายพวกเขามีจำกัด เราไม่สนใจไยดี นานวันเข้าก็หมดสนุกไปเอง จึงไม่ปรากฏให้เห็นอีก " ฌานาจารย์เต้าซู่ท่านรู้ดีว่า ขอเพียงควบคุมตัวเอง ตั้งสติแน่วแน่ ไม่ลุ่มหลงหรือเกิดอุปาทานตามลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ร้อยแปด ก็จะไม่ตกเป็นเชลยของวัตถุนอกกาย กล่าวคือ ต้องมีจิตใจที่แจ่มกระจ่าง บริสุทธิ์ สามารถเข้าถึงภาวะจริงแท้ สามารถกะเทาะรูปโฉมภายนอกเข้าสู่ภายใน เข้าสู่ตัวตนที่แท้จริง เมื่อจิตใจแจ่มกระจ่างบริสุทธิ์ ย่อมไม่ลุ่มหลงหรือเกิดอุปาทานตามภาพมายาร้อยแปด

Tuesday, May 21, 2013

สามอัปมงคล

สามอัปมงคล

          ในอดีต ชาวเมืองฉีถือว่าเสือและงูเหลือมเป็นสัตว์ที่ไม่เป็นอัปมงคล

           ครั้งหนึ่ง กษัตริย์จิ่งกงแห่งรัฐฉีทรงเสด็จไปล่าสัตว์ในป่า ขณะที่พระองค์เสด็จขึ้นไปที่ยอดเขา ก็มีเสือกระโจนออกมาจากดงหญ้า ทำให้กษัตริย์จิ่งกงและบริวารที่ติดตามไปด้วยความตกใจมาก ต่างพากันหลบไปที่หุบเขา แต่เดินไปได้ไม่นานก็พบงูเหลือมตัวขนาดใหญ่ขนดนอนอยู่บนก้อนหิน กษัตริย์แห่งรัฐฉีทรงตกพระทัยมากรีบเสด็จกลับพระราชวัง ตรัสสั่งให้หาตัวเอี้ยนจื่อเข้าเฝ้า แล้วตรัสถามว่า

           " วันนี้ข้าพเจ้าขึ้นเขาพบเสือ ลงมาที่หุบเขาก็เจองูเหลือมเข้าอีก นี่แสดงว่าเป็นลางร้ายของรัฐฉีเราใช่หรือไม่ ? "

           เอี้ยนจื่อกราบทูลว่า " ข้าพระองค์เคยได้ยินคนกล่าวว่า รัฐมีลางร้ายจริงและมีสามประการ ประการแรกคือ มีคนที่รอบรู้มีความสามารถ แต่พระองค์หาทรงทราบไม่ ประการที่สอง พระองค์ทรงทราบ แต่ไม่มีพระประสงค์ที่จะใช้ ประการที่สาม เมื่อใช้ก็ไม่วางพระทัย ที่ว่าไม่เป็นมงคลนั้นก็คือสิ่งที่กล่าวมานี้ ส่วนวันนี้ที่พระองค์พบเสือบนเขา ก็เพราะว่าเขาเป็นที่พำนักของเสือ ลงมาที่หุบเขาพบงูเหลือมนั่น ก็เพราะหุบเขามีถ้ำสำหรับงูอาศัย สิ่งดังกล่าวนี้หามีความสัมพันธ์อันใดกับรัฐไม่ ฉะนั้นจะกล่าวว่าเป็นลางร้ายของรัฐฉีได้อย่างไร "

บันทึกใน " เอี้ยนจื่อชุนชิว " 

Monday, May 20, 2013

Sub - consciousness

Sub - consciousness

          Here one question arises ; If the flow of consciousness never stops, what happens to consciousness when man is in deep  dreamless sleep ? According  to the Buddha, the consciousness of someone in dreamless sleep continues to flow in the state of bhavanga.

           Bhavanga is meant " the cause, reason, indispensable condition, of our being regarded subjectively as consciousness, the sine qua non of our existence, that without which one can not subsist or exist. " It may say that bhavanga is a function of our being. It makes the passive side of our existence possible. It donotes a function state of sub - consciousness. As such it is the subconscious state of mind - below the threshold of consciousness by which we conceive continuous subjective existence possible. In this sense, bhavanga is nothing but consciousness, which has possibility of knowing itself. As mentioned earlier, consciousness is not self conscious, but consciousness can know itself as an object through the mind door or the inner sense, that is it can be known by reflection or introspection only. Consciousness can be reflected upon only when it is active in the sense of coming into contact with external or internal objects through any one of six doors or channels, namely, eye, ear, nose, tongue, body and mind. The active consciousness is called " processed - consciousness [ vithicitta ] " as it functions through the process, which we will consider later on. It is this processed consciousness that can be the object of reflection. But the passive processed - free consciousness can never be reflected upon because it is can not be know door or the threshold of consciousness. Since it can  not be known by reflection, the processed free consciousness is called bhavanga or sub - consciousness, The dividing line between sub - consciousness and processed consciousness [ vithi - citta ] is the threshold of consciousness [ manodvara ].

Sunday, May 19, 2013

ภวังคจิต

ภวังคจิต

          เมื่อถึงตอนนี้ เรามักจะเกิดความสงสัยว่า ถ้าจิตหรือวิญญาณมีการเลื่อนไหลติดต่อกันไปโดยไม่มีการหยุดแม้แต่วินาทีเดียวแล้วจิตของคนที่กำลังนอนหลับปราศจากการฝันจะมีลักษณะเป็นอย่างไร ?

           ปัญหานี้ พระพุทธเจ้าทรงอธิบายว่า จิตของคนในขณะนอนหลับปราศจากความฝัน จะตกอยู่ในภาวะของการหยุดพักการทำงานหรือภาวะภวังค์ ในทางพุทธศาสนา คำว่า ภวังคจิต หมายถึง ตัวเหตุ ตัวผล ตัวปัจจัยที่มีความจำเป็นต่อภาวะการดำรงอยู่ที่จะต้องมีการดำเนินต่อไปตามการรับรู้ที่เป็นอัตวิสัย หรือหากจะกล่าวให้ชัด ภวังคจิต คือสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ต่อการดำรงอยู่ หากปราศจากสิ่งนี้มนุษย์ก็ไม่สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้ ภาวจิตที่ตกอยู่ในภวังค์ เป็นจิตที่อยู่ในภาวะสงบพักในระดับที่ต่ำกว่าจิตที่กำลังทำงาน เป็นจิตที่ยังไม่สามารถรับรู้หรือตอบสนองต่อการรับรู้ เราทราบมาแล้วว่าในทางพุทธศาสนา ถือว่าจิตหรือวิญญาณไม่มีตัวตนและไม่ใช่ตัวตน จิตจะรับรู้ได้ในระดับแรกก็ต่อเมื่อมีการสัมผัสเกิดขึ้นระหว่างสิ่งที่จัดว่าเป็นธรรมารมณ์ ที่รับผ่านทางมโนทวาร ส่วนจิตที่ทำหน้าที่รับรู้อย่างอื่นเกิดจากผัสสะระหว่างอายตนะภายนอกได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสที่มีต่ออายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย จิตที่ทำหน้าที่รับรู้เหล่านี้ทางพุทธศาสนารียกว่า วิถีจิต ส่วนจิตที่พักการทำหน้าที่ชั่วคราว เช่นในขณะนอนหลับปราศจากการฝัน เรียกว่า ภวังคจิต หรือ จิตใต้สำนึก เป็นจิตที่อยู่ในสภาพการทำงานในระดับที่ต่ำกว่าความสามารถในการรับรู้ที่ผ่านเข้าทางมโนทวาร จึงเป็นจิตที่ไม่สามารถรับรู้ ในทางอภิธรรมถือว่า มโนทวาร เป็นเส้นแบ่งกั้นระหว่าง ภวังคจิต กับ วิถีจิต

Thursday, May 16, 2013

คู่มือมนุษย์ ( ๓ )

ลักษณะสามัญของสิ่งทั้งปวง ( ไตรลักษณ์ )

          สิ่งทั้งปวงประกอบอยู่ด้วยลักษณะ ๓ ประการ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

          อนิจจัง แปลว่า ไม่เที่ยง หมายความว่า สิ่งทั้งปวงมีลักษณะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่คงที่ตายตัว

          ทุกขัง แปลว่า ทุกข์ หมายความว่า สิ่งทั้งปวงมีลักษณะเป็นทุกข์ ดูแล้วน่าสังเวชใจ ก่อให้เกิดความทุกข์ใจแก่ผู้เห็นแจ้งในสิ่งนั้นๆ

          อนัตตา แปลว่า ไม่ใช่ตัวตน หมายความว่าทุกสิ่งไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตน ไม่มีลักษณะอันใดที่จะทำให้ถือได้ว่าเป็นของเรา

          ลักษณะ ๓ ประการนี้ พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมากกว่าคำสอนอื่นๆ บรรดาคำสอนทั้งหลายอื่น มารวมยอดอยู่ที่การเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งสิ้นหลักอนิจจัง ทุกขัง มีสอนอยู่ก่อนพระพุทธเจ้า ผิดกันแต่ยังไม่ได้ขยายความให้ละเอียดลึกซึ้งที่สุด มีสอนแต่ในพุทธศาสนา ข้อนี้เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่รู้ว่าสิ่งทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของตน

          เมื่อมีการปฏิบัติตามหลักไตรลักษณ์นี้จนเห็นแจ้งแล้ว จะทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นอย่างหนึ่ง คือ " ไม่มีอะไรที่น่าเอา ไม่มีอะไรที่น่าเป็น " หมายความว่า การมองเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างถูกต้อง คือการมองเห็นความมี ความเป็น อย่างใดอย่างหนึ่งว่า เป็นความหลอกลวง เป็นมายา ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น ทั้งหมดทั้งสิ้น การมองเห็นนี้ไม่ใช่เป็นการเห็นด้วยความรู้สึกในใจแท้จริงจนเกิดความสลด สังเวช เบื่อหน่าย จึงจะเรียกว่า " เห็นธรรม " ผู้ที่ท่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือพิจารณาอยู่ทั้งวันทั้งคืน แต่ถ้าไม่เกิดความรู้สึกถอยหลังต่อสิ่งทั้งปวง ก็เรียกว่ายังไม่เห็นแจ้ง เป็นอันว่า การเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่แท้จริง คือ ต้องเห็นจนเกิดความรู้สึกว่า " ไม่มีอะไรที่น่าเอา น่าเป็น "

Sunday, May 12, 2013

ผมยังไม่โง่ถึงขนาดต้องการให้คนอื่นเรียกผมว่า อาจารย์

ผมยังไม่โง่ถึงขนาดต้องการให้คนอื่นเรียกผมว่า อาจารย์

          ความสัมพันธ์ด้านอาชีพ " ที่ปรึกษานักธุรกิจ " ทำให้ทุกคนมักเรียกผมว่า " อาจารย์ " 

          ครั้งแรกที่คนอื่นเรียกผมว่า " อาจารย์ " คือ ตอนที่ผมจัดงานประชาสัมพันธ์ ขึ้นเวทีแสดงปาฐกาถา เนื่องในโอกาสจัดพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งออกวางตลาด ความรู้สึกที่เป็นจริงตอนนั้นคือ คลื่นไส้ แต่คิดอีกที นี่คือ ความเคยชินที่เรียกกันไปอย่างนั้นเอง จึงพยายามไม่คิด จะเที่ยวปฏิเสธโดยให้เหตุผลทีละข้อ คงไม่ไหว

          จากครูโรงเรียนอนุบาลถึงศาสตราจารย์ในมหาวิทยายลัย ล้วนเป็น " อาจารย์ " หมายความว่า ผู้ทำหน้าที่ประสิทธิ์ประศาสน์ความรู้ให้คนอื่นล้วนเป็น " อาจารย์ " 

          ผมคิดถึงคำว่า " ผมยังไม่โง่ถึงขนาดต้องการให้คนอื่นเรียกว่าผมว่า อาจารย์ " แม้ผมจะไม่มีความสามารถและความอดทนมากนัก แต่ผมกลับต้องสอนคนอื่น พูดไปแล้วประหลาด ผมรู้ชัดว่านี่ผมกำลัง " ทำให้ลูกหลานคนอื่นหลงทาง " ผมไม่ต้องการแก้ต่างให้กับตัวเอง ผมไม่เคยจำหน่ายตัวเองโดยคิดว่าผมเป็นอาจารย์ ผมชอบเขียนหนังสือ อาจจะบังเอิญที่มีคนอ่านหนังสือของผม แล้วอยากสนทนากับผม ( ขอเพียงไม่รังเกียจ... ) ผมจึงเที่ยวแสดงปาฐกถาไปทั่วทุกหนแห่ง นานวันเข้าก็กลายเป็นที่ปรึกษานักธุรกิจ

รูปลักษณ์แสนลำบาก

รูปลักษณ์แสนลำบาก

          ในสำนวนนี้แสดงถึงการปิดบังสิ่งแท้จริงที่ซุกซ่อนอยู่ข้างใน ไม่ว่าจะเป็นภาพลักษณ์ ความต้องการที่ต้องเก็บเป็นความลับไม่ให้ใครล่วงรู้ได้ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม อาจจะทำนองเดียวกับคำว่า " ผ้าขี้ริ้วห่อทอง " ในสำนวนไทย

           และถ้าเป็นในด้านกลยุทธ์ทางการค้าคงคล้ายๆ กับการที่บริษัทหนึ่งจะออกผลิตภัณฑ์สินค้าหรือทำการตลาดที่สำคัญ แต่ยังคงเก็บงำความลับให้บริษัทคู่แข่งตายใจว่า ในห้วงเวลานั้นบริษัทอยู่ในสภาพย่ำแย่หรือไม่มีโครงงานสำคัญที่จะออกมา แต่เมื่อถึงเวลาปล่อยผลิตภัณฑ์สินค้าออกมาสู่ตลาดจนคู่แข่งตั้งตัวไม่ทัน

          และมีส่วนละม้ายใกล้เคียงกับหนึ่งในกลยุทธ์ในตำราพิชัยสงครามของท่านปรมาจารย์ซุนวูในบทที่ว่า " แสร้งถอย โจมตีได้ คล้ายโจมตีไม่ได้ " ที่ท่านซุนวูได้เขียนสอนท่านแม่ทัพนายกองไว้กว่าสองพันปี ในทำนองการสร้างภาพลักษณ์กองทัพที่ทำให้ฝ่ายตรงข้ามชะล่าใจจนไม่มีการเตรียมรับมือ เมื่อเข้าโจมตีก็จะประสบความสำเร็จทันที หรืออย่างน้อยก็ทำให้ฝ่ายตรงข้ามขาดความกระตือรือร้นในการทำศึกสงคราม

           ญี่ปุ่นและจีนนั้นมีการถ่ายเททางวัฒนธรรมและความเชื่อกันมาเป็นพันปีและอาจจะมีบางส่วนที่คล้ายคลึงกันซึ่งก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจ

Saturday, May 11, 2013

จิตใจฟุ้งซ่าน

จิตใจฟุ้งซ่าน

         มีครั้งหนึ่ง ฌานาจารย์หยั่งซานขอคำแนะนำจากฌานาจารย์หงเอินว่า " ถ้าลิงกังในบ้านไม่สนใจเสียงเอะอะข้างนอก ต้องการนอน แต่ลิงเสนข้างนอกต้องการจะพบมันให้ได้ เราควรทำอย่างไร ? "

          อาจารย์หงเอินได้ยินดังนั้น ก็รำมือรำเท้าตอบว่า " ก็เปรียบได้กับชาวนาต้องการปกป้องผลผลิตของตัว จึงสร้างหุ่นไล่กาไว้ในไร่นา ดังโศลกธรรมที่ว่า ' หุ่นเดียวดายชมนกชมไม้ สนใจไยสรรพสิ่งรอบกาย ' "

           ฌานาจารย์หยั่งซานเกิดปัญญาอันสว่างไสวทันทีเมื่อได้ฟังคำตอบ

           เหตุใดคนเราจึงไม่สามารถเข้าถึงตัวตนที่แท้จริงของตัวเองเล่า ? สาเหตุสำคัญเป็นเพราะอายตนะภายใน ( จักษุ โสต ฆาน ชิวหา กาย ใจ ) ของตัวเราติดต่อกับอายตนะภายนอก ( รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ) อยู่ตลอดเวลา และพัวพันกันไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อเป็นเช่นนี้ จะเข้าถึงตัวตนที่แท้จริงของตัวเองโดยเร็วได้อย่างไร ?

The Stream of consciousness

The Stream of consciousness

          The consciousness which give meaning to the world, is by nature momentary [ khanika ]. It arises and perishes in each and every moment. Consciousness can moment the same for any two consecutive moments. Each moment of consciousness is extremely of conscious act to the brain wave, detected by electro - encephalogram of medical technique used nowadays. According to the Buddhist, every moment of consciousness is subdivided to the three sub moment, namely, genesis [ uppada ], development [ thiti ] and dissolution [ bhanga ]. Each of these sub - moments occupies an infinitesimal division of time so that to every separate act of consciousness [ cittuppada ], There are three phrases, in which successively it arises, develops and disappears. These three sub - moments together form one conscious moment, the period occupied by any single act of consciousness.

           Moment of consciousness, short lived as they are, succeed one another so rapidly that they appear to be the " stream of consciousness, " which perpetually flows like the current of a river. The current of a river maintains one constant form, one seeming identity, though not a single drop of water remains today of all the volume that composed that river yesterday. In like manner, the stream of consciousness appears to be selfsame, though not a single act of consciousness remains the same for any two consecutive moments.

            According to the Buddhist, act of consciousness are causally related to one another according to the natural uniformity of consciousness. Each conscious act has causal relation with it predecessor. Twenty - four modes of causal relation are enumerated and explained in the Patthana of Abhidhamma - Pitaka. Of these twenty - four, four modes of conditionality are applied to the relation between two conscious acts as a commentator points out ;

กระแสวิญญาณ

กระแสวิญญาณ

          จิตหรือวิญญาณซึ่งทำหน้าที่รับรู้โลก โดยเนื้อแท้แล้วเกิดดับติดต่อกันเป็นกระแสอยู่ทุกชั่วขณะ ( ขณิกะ ) กระแสจิตที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลาจึงไม่ใช่สิ่งเดียวกันแม้แต่ชั่วครู่เวลาเดียว การเกิดดับของจิตใช้เวลาสั้นมาก คล้ายคลื่นไฟฟ้าสมองตรวจสอบได้จากเครื่องมือแพทย์ในปัจจุบัน

           กระแสจิตแบ่งออกเป็น ๓ ช่วงคือ ช่วงของการเกิด ( อุบัติ ) ช่วงของการคงอยู่  ( ฐิติ ) และช่วงที่ดับหายไป ( ภังคะ ) แต่ละช่วงแต่ละตอนในการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของกระแสจิตกินเวลารวดเร็วมากจนไม่สามารถรับรู้ได้จากประสาทสัมผัส

           จิตหรือวิญญาณเกิดดับติดต่อกันไปอย่างรวดเร็วมาก จนทำให้เรารู้สึกว่าเป็น " กระแส หรือสายธาร " ดูประหนึ่งสายน้ำในแม่น้ำที่ไหลเรื่อยติดต่อกันไปจนเรารู้สึกว่าเป็นน้ำเนื้่อเดียวกัน ซึ่งแท้ที่จริงธารน้ำที่ไหลติดต่อกันไปในวันนี้ ไม่มีแม้แต่หยดเดียวที่เป็นน้ำในสายธารเดิมของวันวาน กระแสจิตก็เช่นเดียวกัน การที่เรารู้สึกว่าเป็นกระแสเดียวนั้น แท้ที่จริงแล้ว ไม่มีจิตเดิมแม้แต่วิญญาณเดียวที่เกิดดับติดต่อกันมา

Friday, May 10, 2013

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๓๒ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๓๒ )
วันรัฐธรรมนูญ

         วันที่ ๑๐ ธันวาคมเป็นวันรัฐธรรมนูญ ซึ่งจัดให้มีขึ้นทุกๆ ปี เพื่อเป็นการระลึกถึงการอุบัติขึ้นของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

         ก่อนหน้านี้ประเทศไทยมีการปกครองแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนกระทั่งถึงวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ การเปลี่ยนแปลงนี้นำโดยกลุ่มคนรุ่นหนุ่มสาวที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศและได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดด้านระบอบประชาธิปไตยตะวันตก กลุ่มนี้มีชื่อว่า " คณะราษฎร์ " นำโดยหลวงประดิษฐมนูธรรม ( ปรีดี พนมยงค์ ) เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการนองเลือด พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีการยกเลิกการปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  และทรงมอบรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของประเทศให้กับประชาชน ที่จริงแล้วพระองค์ทรงเตรียมการที่จะมอบอำนาจของพระองค์ให้อาณาประชาราษฎร์ก่อนที่จะมีการเรียกร้องเสียด้วยซ้ำไป

Thailand " Land of Smile " ( Part 32 )

Thailand " Land of Smile " ( Part 32 )
Constitution Day

         December 10 marks the Constitution Day which is held annually to commemorate the advent of the regime of Constitutional Monarchy in Thailand.

          Previously, the government of Thailand was on absolute monarchy until June 24, 1932 there was a transition to constitutional monarchy led by a group of young intellectuals educated abroad and inspired by the concept of western democratic procedures. The group which was known as " People's Party or Khana Rasdr " was led by Luang Prsdit Manudharm ( Pridi Panomyong ). To aviod bloodshed, King Rama VII graciously agreed to abolish absolute monarchy and handed over the country' s first " Permanent " Constitution. In fact, King Rama VII ( King Prajadhipok ) had prepared, even before being asked, to hand over his power to the people.

หนูในศาลเจ้า

หนูในศาลเจ้า

          กษัตริย์จิ่งกง( ๑ ) ตรัสถามเอี้ยนจื่อ ( ๒ ) ว่า " สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในการปกครองรัฐคืออะไร ? "

          เอี้ยนจื่อทูลตอบว่า " สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือหนูในศาลเจ้า "

          " หมายความว่าอย่างไร ? " กษัตริย์จิ่งกงตรัวถามด้วยความสงสัย

          เอี้ยนจื่อทูลตอบว่า " ศาลเจ้าซึ่งเป็นสถานที่สำหรับคนไปเซ่นไหว้บูชานั้นทำด้วยไม้แล้วฉาบด้วยดิน หนูชอบเข้าไปทำรังอยู่ข้างใน เมื่อคนคิดจะกำจัดหนู จะใช้ควันรมก็กลัวไฟจะไหม้เสาไม้ จะใช้น้ำกรอกเกรงว่าดินที่พอกจะหล่นออกมา พวกหนูจึงอาศัยได้อย่างสบาย ออกลูกสืบพันธ์กันเป็นการใหญ่ ส่วนคนนั้นหมดปัญญา ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะกลัวว่าจะก่อความเสียหายให้แก่ศาลเจ้า รัฐมีาภาพเช่นนี้เหมือนกัน คนแวดล้อมที่พระองค์ทรงไว้วางพระทัยนั้นก็ฌหมือนกับหนเหล่านี้


บันทึกใน " เอี้ยนจื่อชุนชิว "

เคลื่อนหรือนิ่งแต่พอเหมาะ จะเข้าหรือออกก็ไร้สิ่งกีดขวาง




น้ำไหลแต่กลับไร้เสียง
จึงซาบซึ้งต่อความเงียบสงัดในความอึกทึก
เขาสูงแต่เมฆลอยผ่าน
จึ่งสำนึกในเหตุที่ก้าวจากอัตตาสู่อนัตตา

นิทัศน์อุทาหรณ์
พิณไร้สายของเถาหยวนหมิง

          เมื่อนั่งอยู่ริมคลองอันสวยงาม แม้หูจะได้ยินเสียงน้ำไหลริน แต่กลับรู้สึกว่าแผ่นดินกว้างใหญ่นี้มีแต่ความสงบเงียบ สามารถจะหาความสุขสบายได้

          เฉกเช่นเมฆขาวที่ลอยละล่องอยู่บนฟากฟ้า ภูเขาแม้จะสูงลิบลิ่วก็หาสามารถจะกีดขวางมันไว้ไม่ มันยังคงลอยลิ่วปลิวไปในฟ้าใส ไปมาอย่างเสรี

          มีชายที่น่าพิศวงอยู่คนหนึ่งในจีน จิตใจของเขาบรรลุถึงอาณาจักรแห่งความกลมกลืนขั้นสูงสุด เขาคนนั้นก็คือเถาหยวนหมิงมหากวีลูกทุ่งแห่งสมัยราชวงศ์จิ้น เถาหยวนหมิงซึ่งไม่ยอมก้มหัวให้กับอำนาจอิทธิพลเพื่อข้าวเพียง ๕ โต่วคนนั้น !
  

Thursday, May 09, 2013

คู่มือมนุษย์ ( ๒ )

พุทธศาสนามุ่งชี้อะไรเป็นอะไร

          คำว่า " ศาสนา " มีความหมายกว้างกว่าคำว่า " ศีลธรรม " ศีลธรรมหมายถึงข้อปฏิบัติเกี่ยวกับประโยชน์สุขในชั้นที่เป็นพื้นฐานทั่วไป " ศาสนา " หมายถึงระเบียบวิธีปฏิบัติในชั้นสูง ศีลธรรมทำให้คนเป็นคนดีมีศีลมีสัจจะมีกตัญญูกตเวที มีการปฏิบัติที่ไม่เบียดเบียนตนหรือคนอื่น ตามหลักสังคมทั่วๆ ไป แต่เมื่อได้ปฏิบัติครบถ้วนตามนั้นแล้ว คนนั้นก็ยังไม่พ้นทุกข์ที่เกิดจากความเกิดแก่เจ็บตาย ไม่พ้นการเบียดเบียนของกิเลส ส่วนขอบเขตของศาสนายังไปได้ไกลกว่านั้นอีก โดยเฉพาะพุทธศาสนามีความมุ่งหมายโดยตรงที่จะกำจัดกิเลสหรือดับทุกข์ที่เกิดจากความเกิดแก่เจ็บตาย ให้สูญสิ้นไป

         พุทธศาสนา คือวิชารวมทั้งระเบียบปฏิบัติสำหรับจะให้รู้ว่า " อะไรเป็นอะไร " การปฏิบัติตามหลักของพระพุทธศาสนา คือปฏิบัติเพื่อให้รู้ว่า สิ่งทั้งปวงคืออะไร เป็นจริงอย่างไร การปฏิบัติศีลสมาธิปัญญา ปฏิบัติกรรมฐานภาวนาอะไรก็ตาม ล้วนแต่มุงผลเพื่อให้รู้ว่า " สิ่งทั้งปวงคืออะไร " เมื่อรู้แจ้งแท้จริง การเบื่อหน่ายคลายกำหนัด และการหลุดพ้น ย่อมเกิดขึ้นเองเป็นอัตโนมัติเป็นการบรรลุมรรคผลชั้นใดชั้นหนึ่ง หรือถึงที่สุด เพราะว่าความรู้นั้นเป็นตัวทำลายกิเลสไปในตัว การทำความเพียรปฏิบัติจึงมีแต่ในขั้นที่ยังไม่รูว่าอะไรเป็นอะไรเท่านั้น เนื่องจากความไม่รู้ จึงหลงรักติดพันในสิ่งทั้งหลาย ครั้นรู้ความจริง คือมองเห็นชัดว่า สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีอะไรที่น่าจะผูกพันตัวเองเข้ากับสิ่งเหล่านั้นดังนี้แล้ว ก็จะเกิดความหลุดพ้นจากการครอบงำของสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาทันที คำจำกัดความที่ว่า " ให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร " จึงเป็นคำจำกัดความที่เพียงพอและเหมาะสมสำหรับเป็นแนวทางในการดำเนินตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า

Sunday, May 05, 2013

รักจนอยากให้เกิด เกลียดจนอยากให้ตาย

รักจนอยากให้เกิด เกลียดจนอยากให้ตาย 

          ชายคนหนึ่ง ภรรยาถึงแก่กรรม จึงนิมนต์พระฌานมาสวดมนต์ทำพิธีอุทิศส่วนกุศลให้ภรรยาในปรโลก

          หลังพระฌานทำพิธีเสร็จแล้ว ชายคนนั้นจึงถามพระฌานว่า " ท่านคิดว่าพิธีที่เพิ่งทำเสร็จนี้ ภรรยาฉันจะได้ส่วนบุญส่วนกุศลสักเท่าใด ? " 

          พระฌานตอบว่า " การทำพิธีครั้งนี้ มิเพียงภรรยาท่านจะได้ส่วนบุญส่วนกุศล สรรพสัตว์ต่างๆ ก็ได้ประโยชน์จากการทำพิธีอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลนี้ด้วย "

          ชายคนนั้นไม่พอใจ จึงถามว่า " พิธีที่ฉันจ่ายเงินจัดขึ้นนี้ ท่านบอกว่าสรรพสัตว์จะได้ปรโยชน์ด้วยหรือ ? "

เสือตายยังไว้ลาย คนตายต้องลือชื่อ

เสือตายยังไว้ลาย คนตายต้องลือชื่อ

          การทำสิ่งที่ดีมีประโยชน์ทิ้งไว้ เมื่อจากไปคนที่อยู่ข้างหลังยังสรรเสริญถึงคุณงามความดีนั้น



By ปรัชญา " ซามูไร "

Saturday, May 04, 2013

The material object and the phenomenal world

The material object and the phenomenal world

          Now we have seen that consciousness in Theravada Buddhism is defined as that which is consciousness of an object, which means that is hung upon consciousness. Without an object, consciousness can not arise. Hence object is one of the necessary conditions for arising of consciousness as the Buddha say ;

          Eye - consciousness arises due to eye, visible object, light and attention. Ear consciousness arises due to ear, sound, aperture and attention. Mind consciousness arises due to subsconciousness, mental object and attention.

          Therefor, it is said that consciousness can not exist without an object. This is to say that Theravada philosophy is realistic. The Buddhist think that the existence of the material object does not depend on its being perceived the material object, however exists in the state of perpetual flux or becoming. It is impermanence. Rupa or matter in Buddhism is not defined as the extended thing [ res extensa ] but as the changeable thing. The material object as we shall see, arises and perishes every moment. It is momentary [ khanika ]. The object, however, appears as relatively permanent due to the meaning - giving activity of consciousness. Consciousness is called name [ nama ] because it has tendency to name the object.

สิ่งที่ถูกรู้กับโลกที่เรารับรู้

สิ่งที่ถูกรู้กับโลกที่เรารับรู้

          เราจะเห็นว่า ปรัชญาพุทธเถรวาทถือว่า วิญญาณก็คือการรับรู้ในวัตถุ หรือวัตถุเป็นสิ่งที่วิญญาณรับรู้ได้ หากปราศจากวัตถุหรือสิ่งที่ถูกรู้ วิญญาณย่อมจะเกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้นวัตถุจึงเป็นปัจจัยที่จำเป็นที่ก่อให้เกิดวิญญาณ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงอธิบายไว้ว่า

           " จักขุวิญญาณย่อมเกิดขึ้นจากตาและวัตถุที่มองเห็นได้จากความตั้งใจ ( ในการมองเห็น )... โสตวิญญาณย่อมเกิดจากความตั้งใจฟังอันเนื่องมาจากหู เสียง และช่องทางในการรับเสียง เช่นเดียวกับมโนวิญญาณย่อมเกิดขึ้นได้จากภวังคจิตธรรมารมณ์ และความตั้งใจ "

           แสดงว่า วิญญาณย่อมไม่เกิดขึ้นหากไม่มีวัตถุในฐานะที่เป็นสิ่งที่ถูกรู้ ความคิดเช่นนี้จึงไม่จัดว่า ปรัชญาพุทธเป็นประเภทจิตนิยมแต่เป็นสัจนิยมที่ยึดความจริงจากรูปหรือวัตถุว่าเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่ความเชื่อที่ได้จากความนึกคิดที่เลื่อนลอยไร้เหตุผล ที่เชื่อว่าสิ่งที่ถูกรู้ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับการรับรู้ เพราะว่าวัตถุหรือสิ่งที่ถูกรับรู้นั้นเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่เลื่อนไหลต่อเนื่องกันเป็นภพ เป็นอนิจจัง ไม่เทียง ไม่จีรัง ดังนั้น รูป ตามความหมายของพุทธศาสนาจึงไม่ใช่สิ่งที่กินเนื้อที่ แต่เป็นเพียงสิ่งที่สามารถแปรเปลี่ยนอยู่ทั่วทุกชั่วขณะเกิดดับได้อยู่ตลอดเวลา เป็นสภาพที่มีอยู่ชั่วคราว ( ขณิกะ ) เป็นความถาวรสัมพัทธ์ตามความหมายที่มองในแง่มุมการทำงานของจิตดังนั้นพุทธศาสนาจึงจัดให้วิญญาณเป็นฝ่ายนาม เป็นนามของสิ่งที่ถูกรู้ ตามความหมายทางโลกิยะธรรมของโลกแห่งการรับรู้นั่นเอง

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ตอนที่ ๓๑

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ตอนที่ ๓๑
งานวัด

         งานประจำปีหรืองานวัดส่วนใหญ่จะจัดให้มีขึ้นในเกือบทุกวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบทเพื่อหารายได้ในการบูรณะปฏิสังขรณ์หรือก่อสร้างอาคารหลังใหม่ภายในบริเวณวัด ในช่วงมีงานธงชาติและธงธรรมจักรจะปักเรียงรายเป็นทิวแถวขนานไปกับถนนเล็กๆ ที่มุ่งตรงไปยังวัดเคียงคู่กันไปเพื่อเป็นการบอกทางให้ผู้มาเที่ยวชมงานได้รู้

           อย่างไรก็ตาม ไม่ควรสับสนระหว่างงานวัดและงานฝังลูกนิมิต ( งานฝังลูกนิมิตจัดขึ้นเพื่อฝังลูกนิมิตซึ่งมีลักษณะเป็นหินก้อนกลม เพื่อเป็นเครื่องหมายเขตแดนของพระอุโบสถ ) ส่วนงานวัดจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยวัดที่มีความประสงค์จะหาเงินรายได้เพื่อจุดประสงค์บางประการ และในขณะเดียวกันก็เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้ทำบุญโดยการบริจาคทานและปิดทองพระ หลังจากว่างเว้นจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวแล้ว

           ในทางตรงกันข้าม งานฝังลูกนิมิตจัดให้มีขึ้นได้เพียงครั้งเดียว โดยวัดทีเพิ่งจะสร้างพระอุโบสถเสร็จใหม่ และการสร้างนี้ก็อาจจะเป็นการสร้างแทนพระอุโบสถหลังเก่าหรือไม่ก็วัดนั้นเพิ่งจะมีพระอุโบสถเป็นครั้งแรก ( นับแต่ก่อตั้ง ) ในกรณีเช่นนี้จะต้องมีพิธีฝังลูกนิมิต มิฉะนั้นแล้ว พิธีสำคัญๆ เช่น การอุปสมบท ก็จะจัดให้มีขึ้นไม่ได้ และถ้าขืนจัดขึ้นในพระอุโบสถที่ไม่มีการฝังลูกนิมิตก่อน พิธีอุปสมบทก็จะเป็นโมฆะไปทันที ดังนั้น งานฝังลูกนิมิตจึงเป็นระเบียบปฏิบัติทางศาสนา และจัดเป็นงานวัดที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งจะมีผู้คนจำนวนมากมายหลายพันคนจากบริเวณใกล้เคียงและห่างไกล เดินทางมาทำบุญและเข้าชมมหรสพที่จัดขึ้นบริเวณกลางสนามวัด

Thailand " Land of Smile " ( Part 31 )

Thailand " Land of Smile " ( Part 31 )
Temple Fairs

          The annual temple fair or Ngaan Wat is usually held by most temples nationwide especially in the countryside in order to raise funds for the repair or the construction of new buildings in the temple compound. During the fair national and religious flag poles are erected along the small road leading to the temple side by side so as to direct the visitors to the corrects temple.

          However, do not be confused between Ngaan Wat ( Temple Fair ) and Ngaan Fung Luk Nimit  ( A fair held to bury stones in the ground to mark the sacred limits of a consecrated assembly hall or Uposatha ), as Ngaan Wat is held annually by any temple that wants to raise funds for certain purposes and, at the same time, to provide an opportunity for the villagers to make merit through donations and applying gold - leaf on the Buddha status after the end of the harvesting season.

          Ngaan Fung Luk Nimit, on the other hand, can be held only one time by each temple that has just completed the construction of its new Uposatha, either to replace the old one or the temple has just acquired an Upasatha for the first time, in this case, the Fung Luk Nimit  ceremony is a religious necessity and it is the greatest temple fair that draws hundred of thousand of people from nearby and after to make merit and enjoy various entertainment offered on the temple opened - ground.

ได้มรรคไร้พันธนาการ จะเงียบหรืออึกทึกล้วนไม่เกี่ยว




ก้อนเมฆลอยมาจากหุบเขา
จะอยู่หรือไปไร้สิ่งผูกพัน
เดือนเต็มแขวนอยู่บนท้องฟ้า
จะเงียบหรือโวยวายล้วนไม่เกี่ยว


นิทัศน์อุทาหรณ์

เทวดาผู้วิเศษในโลกมนุษย์

           เมฆก้อนหนึ่งลอยมาจากยอดเขา ไร้ซึ่งพันธนาการ

           เดือนสุกสกาวแขวนอยู่บนท้องฟ้า ไม่นำพาต่อความอึกทึกวุ่นวายในหมู่มนุษย์ ลอยเคลื่อนไปอย่างอิสระ

          ในโลกมนุษย์นี้มีชายคนหนึ่ง มีความอิสระเสรีเฉกเช่นเมฆขาวเดือนเต็ม

           เขาคนนนั้นเป็นใคร ?

           เขาพักอาศัยอยู่โงลังกั๋งในเมืองลำหยงนั่นเอง !

           เหตุใดจึงเรียกว่าโงลังกั๋ง ? มันมีความหมายว่าสันเขามังกรหลับ ! 

           ทั้งนี้เพราะละแวกนี้ เป็นแหล่งพำนักของบรรดาปัญญาชนผู้เร้นกาย บุคคลเหล่านี้ รู้แจ้งทั้งโบราณคดีและปัจจุบันคดี อภิปรายความเป็นไปในแผ่นดินได้อย่างคล่องแคล่ว มีสติปัญญาความสามารถระดับเจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดี แต่พวกเขาก็มีความเบื่อหน่าย ไม่ยินดีจะทำงานทำการอย่างเป็นกิจลักษณะ ชอบดื่มเหล้าท่องไปในแผ่นดิน เป็นคนไร้พันธนาการมีอิสระเสรีอย่างเต็มที่ หนึ่งในหมู่ผู้คงแก่เรียนเหล่านี้ก็คือซินแสฮกหลงขงเบ้ง

Thursday, May 02, 2013

คู่มือมนุษย์ ( ๑ )

ท่านชอบพุทธศาสนาในเหลี่ยมไหน

          ทุกศาสนามีมูลเหตุมาจากความกลัว นับตั้งแต่กลัวภัยธรรมชาติ จนถึงกลัว เกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือ กลัวกิเลส วิธีปฏิบัติเพื่อให้รอดพ้นจากความกลัวนั้นๆ เรียกว่า " ศาสนา " เช่นมีการบูชาบวงสรวงอ้อนวอนเป็นต้น

          พุทธศาสนา มีมูลมาจากกลัวความเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือ กลัวกิเลส อันเป็นต้นทุกข์หรือเหตุให้เกิดทุกข์ วิธีปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ คือ การพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งทั้งปวงตามความเป็นจริงด้วยตนเองว่า " อะไรเป็นอะไร " เมื่อเห็นจริงก็ปฏิบัติถูกต่อสิ่งทั้งปวง การปฏิบัติถกนั่นเองเป็นทางดับทุกข์ การบูชา บวงสรวง อ้อนวอน การรดน้ำมนต์ ตลอดจนการนับถือเทวดา หรือดวงดาวมิใช่ทางดับทุกข์ ตามหลักแห่งพุทธศาสนา

          พุทธศาสนาดูได้หลายเหลี่ยม เช่นเดียวกับศาสนาอื่นๆ ตามแต่สติปัญญาความรู็ความเข้าใจของผู้ดู คัมภีร์ของศาสนาต่างๆ หรือพระไตปิฎกของพุทธศาสนาจึงมีการเเพิ่มเติมเข้าไปอีกมาก ตามความเห็นของคนชั้นหลัง จนเกินขอบเขต โดยเฉพาะในพระพุทธศาสนา ได้มีการหลงถือเอาพิธีต่างๆ เล็กๆ น้อยๆ เช่น พิธีเซ่นวิญญาณของพระพุทธเจ้าเป็นต้นว่าเป็นพุทธศาสนา พิธีบางอย่างได้ห่อหุ้มความหมายเดิมให้สาบสูญไป เช่น พิธี " บวชนาค " ได้มีการทำขวัญนาค มีกรเฉลิมฉลองกันใหญ่โตบวชไม่กี่วัน สึกออกมายังเหมือนเดิม การบวชสมัยพระพุทธเจ้า ผู้ได้รับอนุญาติจากบิดามารดาแล้วปลีกตัวออกจากเรือนไปหาพระ การบวชเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ทางบ้านไม่มีหน้าที่ทำอะไรเลย พิธีที่เพิ่มขึ้นเหล่านั้นไม่ได้ทำให้ผู้บวชดีขึ้น บางคนสึกไปแล้วกลับเลวกว่าเก่าก็มี จึงเป็นการให้หมดเปลืองทรัพย์ และแรงงานไปเปล่าๆ