Sunday, November 03, 2013

โชคดีและโชคร้าย สลับกันดั่งเกลียวเชือก


โชคดีและโชคร้าย สลับกันดั่งเกลียวเชือก

         ในสุภาษิตไทยนั้นมีอยู่บทหนึ่งที่ว่า " อันชีวิตของคนเรานั้น ชั่วเจ็ดที ดีเจ็ดหน " ท่านกล่าวไว้เป็นเครื่องเตือนใจและให้กำลังใจคนให้ต่อสู้กับทุกเรื่องเพราะเขาเชื่อว่าในโลกนี้มีเรื่องร้ายและดีพอๆ กันและในปรัชญาญี่ปุ่นบทนี้นั้นเขาบอกว่า " มันจะเวียนมาหาคนเราสลับกันมาเหมือนดั่งกับเกลียวเชือก "

          เครือเมเจอร์ของวิชา พูลวรลักษณ์ กว่าจะยิ่งใหญ่ในวันนี้นั้นผ่านมาทั้งโชคดีและโชคร้ายที่เข้ามาในชีวิตการทำงาน

          เริ่มจากห้างเวลโก ปิ่นเกล้า ที่เป็นกิจการกงสีของตระกูลนั้นเกิดไฟไหม้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ในความโชคร้ายนั้นแฝงมาด้วยความโชคดีด้วย เพราะทำให้วิชามีโอกาสเริ่มพิสูจน์ความคิดของเขา โดยเข้าไปทุบห้างเวลโก้ทิ้งและสร้างโรงหนังในรูปแบบใหม่เป็นโรงหนังขนาดใหญ่ เติมแต่งโรงหนังหลายโรงให้เหมือนระบบมัลติเพล็กซ์ มีบริการร้านค้า ร้านอาหารเหมือนมินิเธียเตอร์ ด้วยทำเลที่ตั้งของห้างเวลโกเดิม



          วิชาคิดว่าโรงหนังที่เกิดขึ้นสามารถเสริมซึ่งกันและกันกับศูนย์การค้าใหญ่ไม่ว่าจะเป็นเซ็นทรัลปิ่นเกล้า เมอรี่คิงส์ พาต้า ตั้งฮั่วเส็ง มีรถเมล์บริการหลายสายเพราะใกล้สถานีขนส่งสายใต้ และสิ่งที่วิชากล้าฟันธงทำโรงหนังแบบนี้ก็เพราะดูตัวอย่างจากต่างประเทศว่าไม่มีโรงหนังอยู่ในห้าง

          เมเจอร์ซนีเพล็กซ์ ปิ่นเกล้าจึงกลายเป็นแหล่งรวมความบันเทิงและโรงภาพยนต์แห่งแรกของเครือเมเจอร์ และเติบโตอย่างต่อเนื่องภายในระยะเวลาเพียงสองปี สร้างฤติกรรมการบริโภคความบันเทิงรูปแบบใหม่ให้กับคนกรุงเทพฯ และคนต่างจังหวัดที่ต้องใช้บริการย่านสถานีขนส่งสายใต้ได้เป็นอย่างดี

           แผนขั้นต่อมาของการเกิด เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ สุขุมวิท กับรัชโยธิน ได้ประสบการณ์มากขึ้น ทำเลยังคงเป็นเรื่องนำอยู่เหมือนเดิม ต่อมาก็คือการออกแบบตกแต่งภายในโรงหนังที่เหมาะเจาะทั้งร้านค้าและโรงภาพยนต์ ซึ่งไม่จำเจกับแบบปิ่นเกล้า

           โรงหนังใหม่อีก ๒ แห่งของเครือเมเจอร์ก็ยังมีความเหมาะสม เพียงแต่วิชายังไม่แน่ใจว่าสุขุมวิทจะสามารถแย่งลูกค้าจากสยามมาได้ หากแข่งขันไม่สำเร็จ ลูกค้าที่อาจจะเพิ่มขึ้น ๓ เท่าตามคาดอาจลดลงไปก็ได้ เพราะการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าก็มีข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัวสำหรับธุรกิจที่ต้องใช้เรื่องคุณภาพเข้าแข่ง แต่เขาก็ยังมองว่ามีรถไฟฟ้สยังดีกว่าไม่มี

          คุณภาพของโรงหนังต้องดี ระบบโรงและเสียงเป็ยแบบดิจิตอลจะมีตั้งแต่ SRD DTS THX จนถึง SDDS ( Sony Dynamic Digital Sounds ) เท่ากับระบบสากลที่ใช้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ก็เป็นแม่เหล็กอย่างหนึ่งที่ดึงดูดคนมาดูหนังของเครือ

           การตกแต่งภายในและการจัดผังร้านค้าก็เป็นเรื่องน่าสนใจที่จะดึงดูดลูกค้า วิชาคิดว่าที่ผ่านมาการบริหารของเครืออีจีวีใช้รูปแบบจากต่างประเทศทำให้โรงหนังแต่ละโรงในระบบมัลติเพล็กซ์ไม่มีความแตกต่างกันเลย ไม่ว่าจะเป็นการวางผัง พรม เก้าอี้ ทำให้เกิดความจำเจ เขาต้องสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นทั้งกับคู่แข่งหรือแม้แต่โรงหนังภายในเครือเมเจอร์ ไม่ว่าจะเป็นปิ่นเกล้ากับสุขุมวิทและรัชโยธินก็ต้องต่างกันด้วย

          หลักสำคัญหลายประการและทั้งโชคดีโชคร้ายที่หมุนเวียนสลับกันมาที่ทำให้โรงภาพยนต์เครือเมเจอร์ของวิชา พูลวรลักษณ์ ก้าวไปสู่ความสำเร็จและจุดเปลี่ยนคือการรวมกันกับเครืออีจีวี ใน ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ กลายเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการธุรกิจบันเทิงมาจนถึงทุกวันนี้





By ปรัชญา " ซามูไร "

No comments:

Post a Comment