Thursday, October 24, 2013

ปลาในร่องทางเกวียน

ปลาในร่องทางเกวียน

         จวงโจ เป็นคนยากจน วันหนึ่งเขาไปที่บ้านขุนนางเพื่อขอยืมข้าว ขุนนางผู้นั้นตอบว่า " ข้าให้ขอยืมได้ แต่ต้องรอให้ข้าเก็บค่าเช่าจากชาวบ้านเสียก่อนแล้วข้าจะให้ยืมเงินสามร้อยตำลึง พอใจไหม ? "

         จวงโจฟังแล้วไม่พอใจอย่างมาก กล่าวว่า " วานนี้ขณะที่ข้าพเจ้าเดินทางมาที่นี่ระหว่างทางได้ยินเสียงอะไรร้องอยู่ ข้าพเจ้าจึงมองไปรอบๆ ก็เห็นในร่องทางเกวียนที่แห้งผากมีปลาตะเพียนน้ำเค็มตัวหนึ่งอยู่ในนั้น ข้าพเจ้าถามว่า ' เจ้าปลาตัวน้อยเอ๋ย เหตไฉนเจ้าจึงมาอยู่ที่นี่ ? ' ปลาตอบว่า ' ข้าพเจ้ามาจากทะเลด้านตะวันออก ' ตอนนี้กำลังจะตายอยู่แล้วขอท่าได้โปรดช่วยชีวิตข้าพเจ้าด้วยการนำน้ำมาให้สักครุหนึ่งเถิด ! ข้าพเจ้าตอบว่า ' ได้ ข้าพเจ้าจะไปขอร้องกษัตริย์ของรัฐหวูและรัฐเยียะให้ชักน้ำในแม่น้ำด้านตะวันตกมาให้เจ้าดีไหม ? ' ปลาตอบอย่างไม่พอใจว่า ' เนื่องจากข้าพเจ้าขาดน้ำที่จะดำรงชีวิตตามสภาพปกติต้องมานอนรอความตายอยู่ที่นี่ ถ้าท่านให้น้ำข้าพเจ้าเพียงสักครุครึ่งครุ ข้าพเจ้าก็จะรอดชีวิต ที่ท่านว่าจะชักน้ำในแม่น้ำด้านตะวันตกมาให้ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าก็จะรอดชีวิต ที่ท่านว่าจะชักน้ำในแม่น้ำด้านตะวันตกมาให้ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าขอขอบใจเจตนาดีของท่าน ทางที่ดีท่านไปหาข้าพเจ้าที่ร้านขายปลาเค็มก็แล้วกัน ! "


บันทึกใน " จวงจื่อ "

Tuesday, October 22, 2013

ความหมายของการกราบไหว้บูชา

ความหมายของการกราบไหว้บูชา

         หยุนจฺวีเต้าอิง ( ต่อมาได้เป็นฌานาจารย์ที่มีชื่อ ) เดินทางไปคารวะฌานาจารย์ต้งซานเหลียงเจี้ย ขอสมัครเป็นศิษย์ท่าน ฌานาจารย์ต้งซานถามว่า " เจ้ามาจากที่ใด ? "

         หยุนจฺวีตอบว่า " อาตมามาจากอารามของฌานจารย์ชุ่ยเหวย ! "

         ฌานาจารย์ต้งซานถามอีกว่า " ฌานาจารย์ชุ่ยเหวยสอนอะไรเกี่ยวกับฌานแก่เจ้าบ้าง ? "

          หยุนจฺวีตอบว่า " ที่นั่นช่วงเดือนอ้ายทุกปี จะทำพิธีเซ่นสรวงสิบหกอรหันต์และห้าร้อยอรหันต์ อีกทั้งพิธีถูกจัดอย่างเอิกเกริก อาตมาเคยถามฌานาจารย์ชุ่นเหวยว่า พีธีบวงสรวงใหญ่โตเช่นนี้ อรหันต์ท่านมารับเซ่นสรวงจริงหรือไม่ ? ฌานาจารย์ชุ่ยเหวยจึงถามว่า ' ถ้าอย่างนั้น เจ้ากินอะไรทุกวันหรือ ? ' อาตมาคิดว่าคำๆ นี้แหละคือคำที่ท่านสั่งสอนอาตมา "

Monday, October 21, 2013

The result of Kamma

The result of Kamma

        According to the Buddhist teaching, kamma can be committed through the three doors of action ; actions done through the body, they are called kayakamma, those performed through speech called verbal action or vacikamma ; those performed through the mind, called mental action or manokamma.

         Most people do not see through as a kind of action and fail to realize how they can be anything more than mere subjective phenomena. But it is interesting to note that Buddhism not only lists the function of the mind as constituting a kind of action but gives it prime significance. According to Buddhism, it is through mental action that man can be elevated to the highest stage of spiritual development and it is again mental action that one will be tempted to commit the most heinous crime. The cultivation of mind occupies the most important place in the Buddhist scheme of spiritual training.

Saturday, October 19, 2013

วิบากกรรม

วิบากกรรม

         พุทธศาสนาสอนว่า การประกอบกรรม ทำได้สามทาง  คือ ทางกาย เรียกว่า กายกรรม ทางวาจา เรียกว่า วจีกรรม ทางใจ เรียกว่า มโนกรรม

         โดยทั่วไป คนเรามักมองข้ามไปว่า การคิดก็เป็นการทำกรรมชนิดหนึ่งเรียกว่า มโนกรรม จิตหรือความคิดมิใช่เป็นเพียงสิ่งที่มีไว้สำหรับการรับรู้ต่อวัตถุหรือต่อปรากฎการณ์เท่านั้น แต่พุทธศาสนาถือว่า จิตเป็นตัวกำหนดในการทำหน้าที่ที่สำคัญที่สุดในการประกอบกรรม พุทธศาสนาเชื่อว่ามนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ถึงระดับสูงสุดทางปัญญา ก็ด้วยผลของมโนกรรม และมโนกรรมนี้เองที่เป็นตัวกำหนดให้เกิดการประกอบอาชญากรรม ดังนั้นการเพาะบ่มพัฒนาจิตใจจึงเป็นเรื่องสำคัญในการควบคุมฝึกอบรมทางจิตวิญญาณ

          เจตนาในการทำกรรมดี กรรมชั่ว หรือที่เรียกว่า กุศลกรรม อกุศลกรรม ก่อให้เกิดวิบากกรรมตามแรงเจตนานั้นๆ ซึ่งบางครั้งผลของกรรมจะปรากฎให้เห็นทันทีในปัจจุบัน แต่ในบางกรณีผลของกรรมอาจจะยังไม่ปรากฎ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยร่วมอื่นๆ เช่น สถานที่ เวลา และ บุคลิกภาพของผู้ทำกรรมดังที่เคยกล่าวมาแล้ว วิบากกรรมบางอย่าง ปรากฎในเวลาปัจจุบัน ในขณะที่กรรมบางอย่างอาจส่งผลในอนาคตตามเหตุปัจจัย ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า 

          " สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ มีกรรมเป็นแดนเกิด ทุกอย่างเกี่ยวกับกรรมและสนับสนุนโดยกรรมทั้งที่หยาบและปราณีต " ดังนี้



By แก่นพุทธธรรม

ไม่อวดฝีมือ ถือความเรียบง่าย




เขียนหนังสือควรเรียบง่ายถึงจะก้าวหน้า
การฝึกตนควรเรียบง่ายจึงจะสำเร็จ
คำว่าเรียบง่ายมีความหมายสุดหยั่ง
ดั่งสุนัขเห่าในดงดอกท้อ ไก่ขันในดงหม่อน
นับเป็นทัศนียภาพแสนบริสุทธิ์
ส่วนวงเดือนบนหนองน้ำหนาวยะเยือก
นกกาเกาะบนต้นไม้โบราณ
แม้ภาพวาดฝีมือจะเลิศ
แต่กลับให้ความรู้สึกว่า
บรรยากาศช่างเงียบเหงาอ้างว้างยิ่งนัก


นิทัศน์อุทาหรณ์


ฝักถั่วใต้แสงอาทิตย์

         จิตรกรมีชื่อเสียงคนหนึ่งรับอาสาวาดฝักถั่วให้กับฮ่องเต้ ฮ่องเต้จ่ายเบี้ยหวัดแก่เขาอย่างงดงาม และฝากความหวังไว้แก่เขาเป็นอย่างสูง หวังว่าเขาคงสามารถวาดงานที่เป็นหนึ่งไม่มีสองในโลกให้แก่พระองค์

คู่มือมนุษย์ ( ๗ )


คู่มือมนุษย์ ( ๗ )
การทำให้รู้แจ้ง ตามวิธีธรรมชาติ

          สมาธิอาจจะมีโดยทางตามธรรมชาติอย่างหนึ่งและจากการบำเพ็ญตามหลักวิชาโดยเฉพาะอีกอย่างหนึ่งข้อที่ควรสังเกตมีอยู่ว่า สมาธิที่เป็นไปตามธรรมชาติมักจะพอเหมาะพอสมควรแก่กำลังของปัญญาที่จะทำการพิจารณา ส่วนสมาธิที่เกิดตามหลักธรรมวิชามักจะเป็นสมาธิที่มากเกินไป คือ เหลือใช้ และยังเป็นเหตุให้หลงติดได้ง่ายเพราะความสุขที่เกิดจากสมาธิที่เต็มที่นั้น อาจทำให้หลงติดหรือหลงเป็นมรรค ผล นิพพานไปก็ได้

          ในพระไตรปิฎกมีเล่าถึงแต่การบรรลุมรรคผลทุกชั้นตามวิธีธรรมชาติ ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเอง หรือต่อหน้าผู้สั่งสอนคนอื่นๆ ก็มี โดยไม่ได้ไปเข้าป่า นั่งตั้งความเพียรอย่างมีพิธีรีตอง กำหนดอะไรต่างๆ ตามวิธีเทคนิค อย่างในคัมภีร์ที่แต่งใหม่ๆ ชั้นหลังเล่านั้นเลย โดยเฉพาะในกรณีแห่งการบรรลุอรหัตตผล ของภิกษุปัญจวัคคีย์ หรือชฎิล ๑,๐๐๐ รูป ด้วยการฟังอนัตตลักขณสูตร และอาทิตตปริยายสูตรด้วยแล้ว จะยิ่งเห็นว่าไม่มีการพยายามตามทางเทคนิคใดๆ เลย เป็นการเห็นแจ้งแทงตลอดตามวิธีของธรรมชาติแท้ๆ นี้เป็นตัวอย่างที่ทำให้เราเข้าใจได้ดีว่า สมาธิตามธรรมชาตินั้น ย่อมรวมอยู่ในความพยายามเพื่อจะเข้าใจแจ่มแจ้งและต้องมีอยู่ในขณะที่มีความเห็นอันแจ่มแจ้งติดแนบแน่นอยู่ในตัว อย่างไม่แยกจากกันได้ และเป็นไปเองตามธรรมชาติ

           ในทำนองเดียวกันกับอย่างที่ว่า พอเราตั้งใจคิดเลขลงไปเท่านั้นจิตมันก็เป็นสมาธิไปเอง หรือว่าพอเราจะยิงปืน จิตก็เป็นสมาธิที่จะบังคับให้แน่วแน่ขึ้นมาเองในเวลาเล็ง นี่แหละเป็นลักษณะของสมาธิเป็นไปเองตามธรรมชาติ ซึ่งตามปกติถูกมองข้ามเสีย เพราะไม่ขลัง ไม่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่น่าอัศจรรย์ แต่คนเรารอดตัวมาได้เป็นส่วนใหญ่ ก็โดยอำนาจสมาธิตามธรรมชาตินี้เอง แม้การบรรลุมรรคผล ก็โดยอำนาจสมาธิตามธรรมชาตินี้เอง แม้การบรรลุมรรคผล เป็นพระอรหันต์ต่างๆ ก็ด้วยอาศัยสมาธิตามธรรมชาติทำนองนี้ ฉะนั้น ขออย่าได้ประมาทในเรื่องนี้ ควรประคับประคองมันให้เป็นไปด้วยดีถึงที่สุด ก็จะเป็นผลเท่ากัน เหมือนกับผู้ที่บรรลุพระอรหันต์ส่วนมากซึ่งไม่รู้จักการทำสมาธิเลย

Tuesday, October 08, 2013

หิวน้ำเพียงใด ก็ไม่มีวันดื่มน้ำจากบ่อน้ำพุขโมย


หิวน้ำเพียงใด ก็ไม่มีวันดื่มน้ำจากบ่อน้ำพุขโมย

         ชีวิตของคนเรานั้นแม้ต้องยากลำบาก หรือหิวโหยเพียงใด ก็ไม่ควรยอมข้องแวะกับสิ่งชั่วร้ายเป็นอันขาด

          ชาวญี่ปุ่นนั้นนับถือขงจื้อ มีเรื่องเล่าว่า เมื่อขงจื้อเดินทางมาถึงบ่อน้ำที่ชื่อ " ขโมย " แม้ท่านจะกระหายน้ำเพียงใดก็ไม่ยอมดื่มกิน




By ปรัชญา " ซามูไร "

Monday, October 07, 2013

ดื่มเดียวดายใต้เงาจันทร์




ดื่มเดียวดายใต้เงาจันทร์
     

ไหสุราประหนึ่งดั่ง ดอกไม้
ไร้เพื่อนดื่มเคียงกาย ผู้เดียว
ยกจอกขึ้นเชื้อเชิญจันทร์ กระจ่างใส
ทอแสงรวมเงาข้า เป็นสาม

จันทร์เจ้าลอยเลื่อน ไม่อาจ ดื่มได้
เงาเจ้าคล้อยเคลื่อนตาม ติดไหว
มีทั้งจันทร์และเงาอยู่เป็นเพื่อน
เริงรื่น ก่อนฤดูไม้พรรณพฤกษ ผลิใบ

เมื่อข้าร้องเพลง จันทร์ทอแสง
เมื่อข้าเริงระบำ เงาสั่นไหว
เมื่อยังตื่น ร่วมสรวลเสเฮฮา
เมื่อเมาแล้ว ต่างต้องแยกจากกัน
มิตรภาพของเรายังคงอยู่ตลอดไป
แล้วพบกันใหม่ในธารดารา



ธารดารา หมายถึงทางช้างเผือก



By หลี่ไป๋ กวีสมัยราชวงศ์ถัง





รู้ได้ว่าปลามีความสุข


รู้ได้ว่าปลามีความสุข

         วันหนึ่งจวงจื่อกับฮุ่ยซือออกมาเดินเล่น ขณะเดินอยู่บนสะพานข้ามคลอง จวงจื่อเห็นปลากำลังแหวกว่ายไปมาอย่างเพลิดเพลินอยู่ในน้ำจึงกล่าวว่า " ดูซิปลาพวกนี้ช่างมีความสุขจริงๆ "

          ฮุ่ยซือว่า " ท่านไม่ใช่ปลา ทำไมท่านจึงรู้ว่าปลามีความสุข ? "

          จวงจื่อย้อนกลับว่า " ท่านก็ไม่ใช่ตัวข้าพเจ้า ทำไมท่านจึงรู้ว่าข้าพเจ้าไม่รู้ว่าปลามีความสุข ?"

          ฮุ่ยซือว่า " ข้าพเจ้าไม่ใช่ท่าน จึงย่อมจะไม่รู้ว่าท่านมีความรู้สึกอย่างไร แต่ท่านก็ไม่ใช่ปลา ทำไมท่านจึงรู้ว่าปลามีความสุขหรือไม่มีความสุข "

          จวงจื่ออธิบายว่า " ขอให้เรามาลำดับเหตุผลกันให้ละเอียดสักหน่อยก็จะเข้าใจได้ เมื่อกี้นี้ท่านถามข้าพเจ้าว่ารู้ว่าปลามีความสุขได้อย่างไร นั่นแสดงว่าท่านรู้ว่าข้าพเจ้ารู้ถึงความสุขของปลา ส่วนที่ว่าข้าพเจ้ารู้ได้อย่างไรนั่นก็คือข้าพเจ้ามาอยู่บนสะพานข้ามคลองเห็นปลาว่ายไปว่ายมาในน้ำอย่างสบาย ฉะนั้นจึงรู้สึกว่าปลามีความสุขมาก "

บันทึกใน " จวงจื่อ "

ชีวิตสมดุล

ชีวิตสมดุล

         ศิษย์คนหนึ่งถามฌานาจารย์มู่โจว ว่า " คนเราต้องกินข้าวนุ่งผ้า อีกทั้งต้องทำซ้ำซากทุกวัน นี่เป็นเรื่องยุ่งยากโดยแท้ ขอถามอาจารย์ว่า ทำอย่างไรจึงจะขจัดความยุ่งยากเหล่านี้ได้ ? "

          ฌานาจารย์ตอบอย่างแยบคายว่า " จะขจัดความยุ่งยากเหล่านี้อย่างไรหรือ ? เราต้องกินข้าวนุ่งผ้าทุกวัน "

          ศิษย์คนนั้นพูดอย่างงุนงงว่า " ฉันไม่เข้าใจ " ฌานาจารย์จึงพูดอย่างหนักแน่นว่า " ถ้าไม่เข้าใจ งั้นก็กินข้าวนุ่งผ้าทุกวัน "

           คนปกติต้องกินข้าวนุ่งผ้าทุกวัน บรรลุธรรมสำเร็จอรหันต์แล้ว ก็ต้องกินข้าวนุ่งผ้าเช่นเดิม ที่ต่างกันคือในนั้นมีความหมายต่างกัน เพราะก่อนบรรลุธรรม จะรู้สึกว่า กินข้าวนุ่งผ้าเป็นเรื่องยุ่งยาก หลังบรรลุธรรมแล้ว จะรู้สึกว่ากินข้าวนุ่งผ้าเป็นการปลดเปลื้องชนิดหนึ่ง

Sunday, October 06, 2013

Good and bad Kamma

Good and bad Kamma

          Kamma is directly concerned with the antithetic terms such as good and bad, merit and evil, kusala and akusala, The words good and bad particular " Good " have very broad meaning in between the conventional language and Dhamma language. Somthing, which is good for one person or for one society might not be good to many others. Looked at from different angle and different social tradition, a certain thing may be good but not from another. Bahavior, which is considered good in one community or society, might be considered bad in another. The reason for disparity is a matter of values.\

          When we define " good " and " bad " from the perspective of the Law of Kamma in Buddhism, these two words are known as kusala - skilful and akusala - unskilful. Kusala can be rendered generally as - intelligence, contented, beneficial, good while akusala or unskilful is defined in the opposite way.

          According to Buddhism, kusala and akusala are conditions that arise in the mind, producing results initially in the mind, and from there, to external actions and physical features. Therefore the meaning of kusala kamma stresses all of intentional actions whatever bodily, verbal or mental deeds which characterizes the state of mind in the following conditions :

Friday, October 04, 2013

กรรมดี กรรมชั่ว


กรรมดี กรรมชั่ว

        เนื่องจากความหมายของคำว่า กรรม นั้นมักจะต้องเกี่ยวกับการกระทำที่มีลักษณะตรงข้าม ๒ ประการอยู่เสมอ นั่นคือ ดี กับ ชั่ว บุญ กับ บาป หรือ กุศล กับ อกุศล คำว่า ดี กับ ชั่ว โดยเฉพาะคำว่า ดี นั้น มีความหมายค่อนข้างกว้างระหว่างภาษาคนกับภาษาธรรม สิ่งที่เราพากันเข้าใจความหมายของคำว่า ดี ในภาษาคนหรือในสังคมหนึ่งอาจเป็นของที่ไม่ดี หรือ ชั่ว ในอีกสังคมหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่มุมมองของแต่ละคนหรือแต่ละสังคมที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน พฤติกรรมอย่างหนึ่งที่ถือว่าดีในสังคมหนึ่ง อาจไม่เป็นที่ยอมรับในอีกสังคมแล้วแต่ค่านิยมที่ยึดถือกันมา แต่อย่างไรก็ตาม หากเรามาพิจารณาความหมายของคำว่า ดี ชั่ว ตามกฏแห่งกรรมในทางพุทธศาสนาแล้วส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า กุศล และ อกุศล คำว่า กุศล โดยทั่วไป แปลว่า ฉลาด พอใจ เป็นประโยชน์ ดี ส่วน อกุศล มีความหมายในทางตรงข้าม

          ในทางพุทธศาสนา กุศล และ อกุศล คือปัจจัยปรุงแต่งสภาพและคุณภาพของจิตที่นำไปสู่พฤติกรรมและบุคลิกภาพ ดังนั้นคำว่า กุศลกรรมจึงหมายถึงการกระทำโดยเจตนาไม่ว่าจะเป็นทางกาย วาจา ใจ ที่ก่อให้เกิดกุศลจิต ๔ ประการ คือ

ทะเลทุกข์เวิ้งว้าง หันหลังกลับคือฝั่ง




ใต้ฟ้าแจ่มใสเดือนกระจ่าง เหินหาวได้ ไร้ขอบเขต
แต่แมลงเท่ากลับบินเข้าหาเปลวเทียน
ลำธารใสหญ้าเขียวขจี ดืมกินได้ตามใจชอบ
แต่นกเค้าแมวกลับชอบรสหนูเน่า
เออหนอ
คนที่ไม่เป็นแมงเม่าและนกเค้าแมวในโลก
จะมีสักกี่คน ?


นิทัศน์อุทาหรณ์

แมงเม่าโฉบไฟ

          ฟ้าสีครามสดใสสุดสายตา ฝูงห่านป่าบินผ่านมา ท่ามกลางแสงแดดอันอบอุ่น ไปด้วยอิสระเสรี

Thursday, October 03, 2013

ความเลวร้ายวิ่งเร็วพันลี้

ความเลวร้ายวิ่งเร็วพันลี้

          ความหมายของสุภาษิตบทนี้ก็คือ การกระทำและคำเล่าลือที่ไม่ดีมักจะแพร่กระจายไปได้ไกลๆ ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งก็น่าจะจริง ยิ่งเป็นในสมัยปัจจุบันที่เป็นสังคมของสุดยอดเทคโนโลยีแล้ว ที่เพียงคลิกนิ้วข่าวพวกนี้ก็จะยิ่งเร็วกว่าพันลี้หลายพันหลายหมื่นเท่านัก

          โดยเฉพาะข่าวที่ค่อนข้างที่จะเป็นเรื่องอยากรู้อยากเห็นของคนทั่วไปนั้นจะยิ่งไวปานติดจรวด อย่างหลายๆ กรณีของเหล่าดารา ซุปเปอร์สตาร์ นักการเมือง นักการมั่วทั้งของเมืองไทยและต่างประเทศ ทำอะไรที่ไหนมีแต่คนอยากรู้ และมีศัพท์นักการเมืองไทยเขาเคยพูดกันเล่นๆ ว่า " หมากัดคนไม่เป็นข่าว แต่คนกัดหมานั้นคือข่าวใหญ่ " ซึ่งนัยของมันก็คือ เรื่องธรรมดาหรือของคนธรรมดานั้นไม่ค่อยเป็นที่น่าสนใจ แต่เรื่องของคนดังทำอะไรหรือเรื่องแปลกๆ ย่อมเป็นข่าวที่น่าสนใจมากๆ และสามารถแพร่กระจายไปได้เร็วด้วย

          เมื่อเร็วๆ นี้ ข่าวของดาราฮ่องกงยอดนิยมที่เป็นขวัญใจแฟนๆ มากมายอนาคตทางการแสดงที่รุ่งโรจน์ของเขาต้องดับโดยฉับพลัน เมื่อมีภาพสุดอื้อฉาวของเขากับดารานักร้องหญิงที่กำลังมีเพศสัมพันธ์ถูกแอบเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตไปทั่วโลก ซึ่งใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที