Monday, February 11, 2013

การให้

การให้ ไม่ใช่โยนของเสีย

         โบราณว่า...

         ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น เป็นความจริงที่พิสูจน์ได้ทุกยุคทุกสมัย

         ขงจื้อ หรือที่ฝรั่งเรียกว่า " คอนฟิวเซียส " เป็นนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงมาก ได้ท่องเที่ยวไปสั่งสอนผู้ครองนครต่างๆ ให้ถืออยู่ในธรรม ปกครองประชาชนให้อยู่เย็นเป็นสุข

         ขงจื้อมีบุตรชายอยู่คนหนึ่งชื่อ เล ขงจื้อหมายมั่นปั้นมือจะให้บุตรชายสืบอดเจตนารมณ์ของตนในการเผยแพร่หลักคำสอนที่จะสร้างสันติสุขแก่ประชาชนชาวจีน

          แต่เลก็อายุสั้นถึงแก่กรรมไปเสียก่อน ขณะที่ขงจื้ออายุได้ ๗๐ ปี แต่ความหวังของขงจื้อไม่ถึงกับเป็นหมันเสียทีเดียว เพราะเลได้ให้กำเนิดบุตรชายคนหนึ่งชื่อ เค ก่อนจะเสียชีวิตไม่นาน ขงจื้อจึงทุ่มเทถ่ายทอดสรรพวิทยาให้หลานรักโดยไม่อำพราง จนเคได้ชชื่อว่าเป็นผู้คงแก่เรียนคนหนึ่ง ที่จะสามารถสืบทอเจตนารมณ์ของปู่ตน เมื่อสิ้นขงจื้อ เคก็เริ่มงานรวบรวมคำสอนของปู่เนื่องจากเคเป็นคนยากจนจึงรับจ้างสอนหนังสือเด็ก เพื่อหารายได้เลี้ยงตัวไปด้วย


          ศิษย์บางคนเห็นเคแต่งตัวปอนๆ อดมื้อกินมื้อ กล่าวกับเคอย่างไร้เดียงสาว่า

          " ครูครับทำไมไม่ใส่เสื้อผ้าดีๆ กินอาหารดีๆ เหมือนครูคนอื่น "

          เคมักตอบว่า

          " ท่านอาจารย์ ( หมายถึงขงจื้อ ) พูดไว้ว่านักศึกษาสัจธรรมคนใด อับอายที่จะสวมเสื้อผ้าปอนๆ และกินอาหารราคาถูกๆ เป็นบุคคลที่ไม่ควรเสวนาด้วย "

          คราวหนึ่งเศรฐีคนหนึ่ง ฝากเสื้อผ้าและอาหารมาให้เค พร้อมสั่งว่า " เมื่อข้าพเจ้าบริจาคสิ่งใด ข้าพเจ้าก็ให้สิ่งนั้นเหมืนกับโยนทิ้ง "

          ความมุ่งหมายของเศรษฐีก็คือจะให้เขาเห็นว่าให้ด้วยความเต็มใจ ไม่เสียดายของ ขอให้เขารับของนั้นด้วยความสบายใจเถิด

          คนที่นำของไปให้ นำของกลับมารายงานว่าครูหนุ่มไม่ยอมรับ

          " เขาให้เหตุผลอย่างไร ที่ไม่ยอมรับ "

          เศรษฐีถาม

          เศรษฐีจึงไปถามครูหนุ่มว่า ตนให้ของด้วยความปราถนาจะอนุเคราะห์ผู้ที่ทำประโยชน์แก่สังคมมิได้หวังผลตอบแทนใดๆ ทำไมจึงปฏิเสธความหวังดีของตนเสีย

          เคตอบว่า

          " ท่านให้ของแก่คนอื่นเหมือนดังว่าโยนของเสียทิ้งลงท้องร่องแม้ข้าพเจ้าจะจน แต่ก็มิได้คิดว่าร่างกายของข้าพเจ้าเป็นท้องร่องให้ท่านหรือใครๆ ทิ้งของเสียลง "

          คำพูดของหลายขงจื้อเท่ากับเป็นการสอน " ปรัชญาแห่งการให้ " แก่นักสังคมสงเคราะห์ หรือเศรษฐีใจบุญทั้งหลายทราบว่าการบริจาคทานที่ถูกต้องนั้นเป็นอย่างไร ควรกระทำด้วยอาการอย่างไร






By คิดแบบ " เต๋า " ( นิทานปรัชญาตีลังกาคิด ) 

No comments:

Post a Comment