Friday, July 11, 2014

การให้คือการได้รับ


การให้คือการได้รับ

        " ให้ได้ " " ให้ได้ " ถือ " การให้คือการได้รับ " ทั้งนี้เนื่องด้วยเหตุปัจจัยและผล ถ้าเรารู้ได้ถ่องแท้ ก็ไม่อาจเข้าใจถึงความพิสดารของ " การให้คือการได้รับ "

       " การให้ " ดูๆ ไปเหมือนการให้ผู้อื่น แต่ความจริงคือการให้ตนเองให้ คำพูดดีๆ สักคำ คุณจึงจะได้รับคำชมตอบกลับจากผู้อื่น เมื่อยิ้มให้ผู้อื่น คุณก็จะได้รับการ "ยิ้มตอบ " จากเขา ความสัมพันธ์ระหว่าง " ให้ " กับ " ได้ " จึงเหมือน " เหตุ " และ " ผล " เหตุและผลมีความสัมพันธ์กัน เช่นเดียวกับการให้และได้รับที่ส่งผลซึ่งกันและกัน คนทีสามารถ " ให้ " จะต้องเป็นคนที่รวยน้ำใจ ถ้าภายในจิตใจเขาไม่มีนิสัยที่รู้สำนึกในบุญคุณ ในการผูกบุญสัมพันธ์แล้วละก็เขาจะยอมให้คนอื่นได้อย่างไร จะยอมให้คนอื่นได้รับอย่างไร เพราะจิตใจของเขาเต็มไปด้วยความยินดี เขาจึงมอบความยินดีให้คุณ ภายในจิตใจของเขาซุกซ่อนความเมตตากรุณาที่สุดประมาณไว้เขาจึงสามารถมอบความเมตตากรุณาให้แก่คุณได้ ตนเองมีรทรัพย์จึงสละทรัพย์ได้ ตนเองมีคุณธรรมจึงสละคุณธรรมได้ คนบางคนภายในจิตใจมีแต่โลภ โกรธ หลง อกุศลมูล สิ่งที่เขาให้แก่ผู้อื่นย่อมมีแต่อกุศมูล ดังนั้น เราจึงตักเตือนผู้คนว่า อย่าได้เอาความทุกข์ความเศร้าไปแพร่เชื้อให้ผู้อื่น เพราะว่าถ้าคุณให้อะไรแก่ผู้อื่น คุณก็จะได้รับอย่างนั้นตอบแทน นี่เป็นกฎของเหตุและผล

        การให้ ในความหมายทางพระพุทธศาสนาคือการให้ทาน การให้ทานเสมือนต้นโพธิ์ที่ปลูกต้นหนึ่งได้สิบ ปลูกสิบได้ร้อย ปลูกร้อยได้พัน ปลูกพันได้หมื่น ดังนั้นอยู่เย็นเป็นสุข มีชื่อเสียงเป็นที่ยกย่อง สุขภาพแข็งแรง มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดก่อนอื่นต่องถามว่า ท่านได้หว่านเมล็ดพันธุ์ในต้นฤดูฝนแล้วหรือยัง ถ้ายัง แล้วท่านจะได้ชื่นชมผลในฤดูเก็บเกี่ยวได้อย่างไร



       ถ้าความรักเป็นเครื่องผูกมัด แต่คุณสามารถสละความรักได้ คุณก็จะได้รับอิสระ ถ้าความยิ่งยโสเป็นทุกข์ แต่คุณสามารถสละความหยิ่งยะโสได้ คุณก็จะได้รับความสบายใจ ถ้าการละเมอเพ้อพกเป็นสิ่งเลื่อนลอย คุณละทิ้งการละเมอเพ้อพกได้ คุณก็จะได้พบกับความจริงแท้ ถ้าความวิตกกังวลเป็นทุกข์ คุณละทิ้งความวิตกกังวลได้ ความผ่อนคลายย่อมบังเกิดขึ้นทันที ดังนั้น เมื่อละสิ่งใดได้ คุณก็จะได้รับความสุขคืนกลับมา นี่คือหลักของเหตุและผล

        คนเราถ้าไม่สามรถรื้อของเก่าคร่ำครึทิ้งไป แล้วจะเปลี่ยนสิ่งใหม่มีความก้าวหน้าได้อย่างไร " การศึกษาธรรม คือการสละอวิชชาเข้าถึงความรู้แจ้งละเรื่องเล็กได้การใหญ่ ละความเพ้อฝันคืนสู่ความจริง ละสิ่งที่ไม่เป็นสาระเอาสิ่งที่เป็นสาระ " ดังคำที่ว่า " วางดาบในมือลง บรรลุพุทธะในบัดดล " การวางลง ก็คือ " การละ การให้ " ถ้าไม่ละ ไม่ให้ แล้วจะบรรลุพุทธะได้อย่างไร

        สรุปคือ การถือการให้เป็นการได้รับนี้ ให้ประโยชน์หลายสถาน เราทุกคนควรบ่มเพาะนิสัยของการให้ ให้ทรัพย์สินเงินทองให้ความรู้ความสามารถถ้าคุณสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ คุณย่อมได้ทรัพย์สมบัติ ได้ความรู้ความสามารถกลับคืนมากยิ่งขึ้น การให้แต่สิ่งที่ดีแก่ผู้อื่น ย่อมได้สิ่งที่ดีตอบแทนละทิ้งนิสัยที่ไม่ดี ย่อมได้นิสัยที่ดีกลับมา เมื่อเราเอาความทุกข์ ความเศร้าเสียใจ ความไม่รู้ ความละเมอเพ้อฝันทิ้งไป ย่อมได้ชีวิตใหม่ใรอีกสภาวะหนึ่งมาแทนที่




By ตื่น อย่าง เซน

No comments:

Post a Comment