พูดไปแล้วแปลก คนเราให้ความสำคัญกับตัวเลขมาก ถ้ามีวิธีตีค่าโดยยึดหลักว่า " ๑๐๐ คะแนน " คือ " คะแนนเต็ม " ก็จะเห็นว่า " ต้องได้ ๑๐๐ คะแนน จึงจะดีที่สุด " ผลจึงเกิด " ลัทธิหักคะแนน " ซึ่งเป็นวิธีคิดที่แสนประหลาด กล่าวคือ ถ้าทำไม่ดีจะถูกหักคะแนน
วิธีหักคะแนนกับวิธีเพิ่มคะแนนตรงข้ามกัน แต่ไม่มีวิธีเพิ่มคะแนนอย่างวิธีให้คะแนนในกีฬายิมนาสติกของโอลิมปิก ก็ใช้วิธีหกคะแนนแบบเต็มรูป ในโลกของกีฬายิมนาสติกนั้น มีวิธีให้คะแนนเพียงอย่างเดียว ไม่มีวิธีอื่น กล่าวคือ ต้องถือความสมบูรณ์ไร้ข้อบกพร่องเป็น ๑๐๐ คะแนน จากนั้นดูว่าเราสามารถทำถึงระดับไหน เห็นได้ชัดว่า การตีค่าและให้คะแนนล้วนแต่เน้นด้านเดียว
การตัดสินนักกีฬาพราสวรรค์เหล่านั้น อาจจำต้องใช้วิธีหักคะแนนก็ได้ แต่การทำให้วิธีดังกล่าวเป็นความรู้หรือวิธีการทั่วไป หรือนำมาใช้ในลักษณะทั่วไป ก็คือความผิดพลาดสากรรจ์
ท่ามกลางบรรยากาศดังกล่าว มีนักธุรกิจผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งปฏิเสธลัทธิ ๑๐๐ คะแนน หันมาใช้ลัทธิ ๗๐ คะแนน เขาก็คือ โยชิดะ ทาดาโอะ กรรมการผู้จัดการของ YKK ( กลุ่มอุตสาหกรรมโยชิดะ )
"ส่งคนไปควบคุม ก็จะไม่ผิดพลาด ยิ่งเข้มงวด ยิ่งไม่ล้มเหลว แต่ว่าก่อนทำได้ถึงจุดสูงสุด ศักยภาพอาจลดลงถึงระดับ ๕๑ % ในทางตรงกันข้ามท่าทีการทำงานที่ไม่เข้มงวดมากนัก บางครั้งอาจจะล้มเหลวก็จริง แต่ศักยภาพอาจเพิ่มขึ้นถึงระดับ ๗๐% แล้วแบบใหนดีกว่า ?"
"ล้มเหลวไม่เป็นไร ที่สำคัญคือ ต้องทำให้สำเร็จในท้ายที่สุด เพราะ YKK หันมาใช้ลัทธิ ๗๐ คะแนน จึงสามารถไต่ขึ้นสู่อันดับหนึ่งของโลก ทำไม YKK เป็นที่หนึ่งของโลกได้ ? เพราะแตกต่างกันที่จุดนี้นี่เอง "
คุณมัตสุชิตะเคยพูดว่า " ขอเพียงได้ ๖๐ คะแนน ผมก็จะเลื่อนตำแหน่งให้ " ๖๐ คะแนนไม่ต่างจาก ๗๐ คะแนนเท่าไร เป็นเพียงความต่างในแง่ตัวเลข ส่วนวิธีคิดนั้นเหมือนกัน
นักธุรกิจที่เชี่ยวชาญการช่วงใช้คน ต้องมีใจคอกว้างขวางเสมอ คนทั่วไปล้วนแต่ " ผ่อนปรนตัวเอง เข้มงวดคนอื่น " แต่กรรมการผู้จัดการที่ประสบความสำเร็จหรือผู้ยิ่งใหญ่ที่แท้จริงกลับตรงกันข้าม พวกเขาล้วนแต่เข้มงวดตัวเองสูง ผ่อนปรนคนอื่นมาก " หมายความว่า ใช้ "ลัทธิมอบคะแนนแทน "
ให้คะแนนแบบผ่อนปรนมากเท่าไร คนสอบผ่านจะมากเท่านั้น อาจจะมีบางคนตั้งข้อสงสัยว่า วิธีนี้ใช้ได้ผลจริงหรือ แต่วิธีนี้กลับใช้บ่มเพาะบุคลากรได้ดี ปัจจุบัน มีบริษัทจำนวนมากหันมาใช้วิธีนี้
พูดไปแล้วประหลาด กรรมการผู้จัดการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะไม่เห็นใครในสายตา พวกเขาให้คะแนนพนักงานต่ำมาก จึงมักบ่นว่า " ไม่มีบุคลากร " ผลปรากฎว่า ตัวอย่างขาดแคลนบุคลากรกลับเพิ่มขึ้น
คนที่ไวต่อข้อบกพร่องของคนอื่น จะให้คะแนนต่ำมาก ส่วนคนที่มองเห็นข้อดีของคนอื่น จะให้คะแนนสูงมาก
พูดไปแล้วประหลาด คนที่รู้สึกว่าตนเองโง่ ทุกครั้งที่ให้คะแนน จะให้คะแนนคนอื่นสูงโดยที่ตัวเองก็คาดไม่ถึง
by อิบูคิ ทาคาชิ, โทขุระ โทราโอะ ( คนฉลาดแสร้งโง่ )
No comments:
Post a Comment