เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๓๗ )
การอุปสมบทในศาสนาพุทธ
สิ่งสำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งในชีวิตของชายไทยก็คือ การอุปสมบท ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่ได้บุญกุศลมากที่สุดที่จะอุทิศให้กับบิดามารดาได้ ประเพณีไทยสำหรับชายหนุ่มก็คือการได้เป็นพระภิกษุระยะเวลาใดเวลาหนึ่งในชวิต แต่โดยมากก็จะอุปสมบทก่อนการแต่งงาน เพราะคนไทยถือว่า ถ้าหากชายใดทำการอุปสมบทหลังจากแต่งงานแล้ว ภรรยาของเขาจะได้รับส่วนกุศลครึ่งหนึ่งอย่างแน่นอน แทนที่จะเป็นบิดามารดา ผู้ซึ่งต้องการส่วนบุญกุศลเกือบทั้งหมด เพื่อจะได้ไปเกิดในสวรรค์ หลังจากอำลาโลกนี้ไปแล้ว ดังนั้น เพื่อให้บิดามารดาได้บรรลุจุดประสงค์นี้ ชายไทยส่วนใหญ่ก็จะถือโอกาสนี้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบิดามารดา โดยการอุปสมบททันที หลังจากมีอายุครบกำหนดไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์
ในทางตรงกันข้าม ชายที่ยังไม่ได้บวชมาก่อนไม่ถือว่าเป็นผู้ใหญ่ และดูเหมือนจะไม่ค่อยเป็นที่เคารพในชุมชนของเขาเท่าใดนัก ในขณะที่ชายทีได้บวชเป็นพระภิกษุมาแล้วก็จะถูกเรียกว่า " ทิด " ซึ่งมาจากคำว่า " บัณฑิต " ซึ่งก็หมายถึง " บุคคลที่ผ่านการศึกษาอบรมมาแล้ว " หรือ " ผู้รู้ " ดังนั้นในต่างจังหวัดเราจึงมักจะได้ยินคนมีอายุเรียกชายที่เคยบวชมาแล้ว โดยเริ่มต้นด้วยคำว่า " ทิด " แล้วจึงตามด้วยชื่อจริงของเขา เช่น ทิดจอม แทนที่จะเรียกว่า คุณจอม อย่างที่เราได้ยินกันทั่วๆ ไป ในภาษาไทยสนทนาประจำวัน คำว่า " คุณ " เป็นคำนำหน้าชื่อแบบสุภาพ ซึ่งใช้เรียกได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
Wednesday, July 31, 2013
Monday, July 29, 2013
Thailand " Land of Smile " ( Part 37 )
Thailand " Land of Smile " ( Part 37 )
Buddhist Ordination
One of the greatest things in the life of a Thai man is ordination which is regarded as an act of a great merit dedicated to his parents. It is a Thai custom for a young man to enter the monkhood for a certain period of time in their life, but usually before merriage as Thai people believe that if a man enters the monkhood after marriage his wife is certain to receive half of the merit in stead of his parents who need most of the merit so that they will be born in heaven after death. To enable their parents achieve gratitude to their this goal, most Thai men therefore take this opportunity to express their gratitude to their parents by entering into the monkhood immediately after they reach a mature age of not less than 20 years old.
A man who has not been ordained is not considered a mature adult and he seems to gain less respect from his community while a man who has already been ordained will be called " Thit " which derived from the word " Bundhit ". Bundhit means a " learned man " or " scholar " . Thus, in the countryside, we will frequently hear the elder people call the already-ordained man beginning with " Thit " and then to be followed by the person' s name for example Thit Chom in stead of Khun Chom as we generally hear in the Thai daily dialogue. The word " Khun " is a polite form of title which is used for both man and woman.
Monday, July 15, 2013
อารมณ์แห่งความวิตกยินดีชังหรือชอบ ล้วนเพราะเห็นคล้อยไปตามรูปลักษณ์
วิสัยมนุษย์ได้ยินเสียงนกร้องก็ชอบ
ได้ยินเสียงกบร้องก็ชัง
เห็นดอกไม้ก็อยากจะปลูก
พบหญ้าก็อยากจะดาย
ซึ่งล้วนแต่ใช้อารมณ์ตามรูปลักษณ์ทั้งสิ้น
ถ้าหากพิจาราณาตามสภาวะธรรมชาติ
อันใดเล่าที่มิใช่ร้องรำทำเพลงไปตามสัญชาตญาณ ?
มิใช่งอกงามตามวิถีแห่งการเจริญเติบโตของชีวิต ?
นิทัศน์อุทาหรณ์
ทัศนะเจ้าของโรงเตี้ยม
บางคนชอบสุนัขต่างประเทศ แต่บางคนไม่ชอบ เพราะมันมีราคาแพง เลี้ยงยาก คนบางคนชอบดอกไม้แดง แต่บางคนไม่ชอบสีสันอันฉูดฉาดของดอกไม้แดงแม้สักนิด
เราอาจจะเกิดความรู้สึกแปลกใจว่า เป็นคนเหมือนๆ กัน เหตุไฉนอุปนิสัยใจคอของแต่ละคน จึงแตกต่างกันมากมายเช่นนี้หนอ ?
เมื่อใคร่ครวญอย่างละเอียด ที่แท้เรามักอาศัยภายนอกของสรรพสิ่งมาตัดสินความดีและความชั่ว เมื่อได้ฟังเสียงนกขมิ้นร้องก็ว่าเพราะ ได้ยินเสียงกบร้องก็ว่าหนวกหู เห็นดอกไม้สวยๆ ก็คิดอยากปลูกไว้ดู แต่กลับเหยียบย่ำหญ้าเขียวที่อยู่ข้างๆ ดอกไม้นั้นจนแหลกลาญ มีแต่นกขมิ้นกับดอกไม้สวยเท่านั้นหรือที่ควรจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ ? ส่วนกบและหญ้า ไม่ควรจะมีสิทธิ์ที่จะดำรงอยู่ต่อไปหรืออย่างไร
Friday, July 12, 2013
ผลได้ผลเสีย
ผลได้ผลเสีย
ฌานาจารย์เจ้าโจวฉงเหยิ่น ขณะอายุ ๑๘ ปี ได้ออกบวชศึกษาธรรมะจากฌานาจารย์หนานเฉวียนผู่ย่วน ซึ่งท่านก็ให้ความสำคัญกับศิษย์คนนี้มาก เจ้าโจวฉงเหยิ่นจึงกลายเป็นศิษย์ก้นกุฏิของท่าน
มาวันหนึ่ง เจ้าโจวขอคำแนะนำจากอาจารย์ว่า " อาจารย์ มรรค คืออะไร ? "
อาจารย์ตอบว่า " จิตปกติ คือ มรรค "
เจ้าโจวถามอีกว่า " นอกจากจิตปกติแล้ว พุทธธรรมยังมีเหตุผลที่ลึกซึ้งยิ่งกว่าหรือไม่ ? "
อาจารย์ตอบว่า " ถ้าจิตยังมีคติมุ่ง ก็จะห่วงหน้าพะวงหลัง ได้นั่นลืมนี่ ถ้าเป็นเช่นนี้ สิ่งที่เรียกว่า มรรค ก็จะสูญเสียลักษณะรอบด้าน พุทธธรรมก็จะไม่เต็มบริบูรณ์ "
เจ้าโจวถามอีกว่า " ถ้าพุทธธรรมไม่มีคติมุ่งเลย มิเท่าเวิ้งว้างไร้จุดหมายดอกหรือ ? เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ' มรรค ' คืออะไร ? "
ฌานาจารย์เจ้าโจวฉงเหยิ่น ขณะอายุ ๑๘ ปี ได้ออกบวชศึกษาธรรมะจากฌานาจารย์หนานเฉวียนผู่ย่วน ซึ่งท่านก็ให้ความสำคัญกับศิษย์คนนี้มาก เจ้าโจวฉงเหยิ่นจึงกลายเป็นศิษย์ก้นกุฏิของท่าน
มาวันหนึ่ง เจ้าโจวขอคำแนะนำจากอาจารย์ว่า " อาจารย์ มรรค คืออะไร ? "
อาจารย์ตอบว่า " จิตปกติ คือ มรรค "
เจ้าโจวถามอีกว่า " นอกจากจิตปกติแล้ว พุทธธรรมยังมีเหตุผลที่ลึกซึ้งยิ่งกว่าหรือไม่ ? "
อาจารย์ตอบว่า " ถ้าจิตยังมีคติมุ่ง ก็จะห่วงหน้าพะวงหลัง ได้นั่นลืมนี่ ถ้าเป็นเช่นนี้ สิ่งที่เรียกว่า มรรค ก็จะสูญเสียลักษณะรอบด้าน พุทธธรรมก็จะไม่เต็มบริบูรณ์ "
เจ้าโจวถามอีกว่า " ถ้าพุทธธรรมไม่มีคติมุ่งเลย มิเท่าเวิ้งว้างไร้จุดหมายดอกหรือ ? เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ' มรรค ' คืออะไร ? "
Thursday, July 11, 2013
อีกา.. วิ่งผ่านน้ำ
อีกา.. วิ่งผ่านน้ำ
หลายชาติในโลกรู้ดีว่า คนญี่ปุ่นนั้นเป็นคนช่างสังเกตและค่อนข้างจะเป็นคนที่มีนิสัยรักความมีระเบียบ ถึงขั้นเป็นคนละเอียดในทุกๆ เรื่องพวกเขามองว่าการทำอะไรที่ลวกๆ ไม่จริงจังและขาดความอดทนอดกลั้นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดีและไม่น่าจะเกิดผลประโยชน์อะไรกับชีวิต
เหมือนดังที่คนไทยมักจะว่าคนที่อาบน้ำเร็วว่า " วิ่งผ่านน้ำ " อะไรประมาณนั้น เหมือนกับที่อีกามันอาบน้ำแบบลวกๆ เอาตัวจุ่มน้ำแค่สองสามวินาทีก็บินต่อไปในขณะที่เนื้อตัวยังสกปรกอยู่
คำว่า " เกียวซุย " นั้นเป็นกิริยาในการอาบน้ำอย่างหนึ่ง คือการตักน้ำจากอ่างมาอาบรดตัว ไม่ใช่การอาบน้ำแบบญี่ปุ่นที่ลงไปแช่ในอ่างทั้งตัว
หลายชาติในโลกรู้ดีว่า คนญี่ปุ่นนั้นเป็นคนช่างสังเกตและค่อนข้างจะเป็นคนที่มีนิสัยรักความมีระเบียบ ถึงขั้นเป็นคนละเอียดในทุกๆ เรื่องพวกเขามองว่าการทำอะไรที่ลวกๆ ไม่จริงจังและขาดความอดทนอดกลั้นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดีและไม่น่าจะเกิดผลประโยชน์อะไรกับชีวิต
เหมือนดังที่คนไทยมักจะว่าคนที่อาบน้ำเร็วว่า " วิ่งผ่านน้ำ " อะไรประมาณนั้น เหมือนกับที่อีกามันอาบน้ำแบบลวกๆ เอาตัวจุ่มน้ำแค่สองสามวินาทีก็บินต่อไปในขณะที่เนื้อตัวยังสกปรกอยู่
คำว่า " เกียวซุย " นั้นเป็นกิริยาในการอาบน้ำอย่างหนึ่ง คือการตักน้ำจากอ่างมาอาบรดตัว ไม่ใช่การอาบน้ำแบบญี่ปุ่นที่ลงไปแช่ในอ่างทั้งตัว
Tuesday, July 09, 2013
คนขโมยไก่
คนขโมยไก่
มีชายคนหนึ่งชอบขโมยไก่เพื่อนบ้าน และจะขโมยวันละตัวเป็นประจำ ถ้าวันไหนไม่ขโมยก็จะรู้สึกคันไม้คันมือทนไม่ได้ มีคนเจตนาดีได้กล่าวตักเตือนเขาว่า " เลิกเป็นขโมยเสียทีเถอะ ความประพฤติเช่นนี้มันผิดศีลธรรม "
ชายผู้นั้นฟังแล้วรู้สึกอยากจะเลิกเป็นขโมยอยู่เหมือนกัน เขาจึงตอบว่า " เอาล่ะ ข้าพเจ้าจะตัดสินใจกลับเนื้อกลับตัวเลิกประพฤติชั่ว แต่เรื่องขโมยนี้มันฝังลึกในสันดานเสียแล้วจะให้เลิกเสียในทันทีย่อมจะยาก เมื่อก่อนนี้ข้าพเจ้าขโมยไก่วันละตัว ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจะลดลงให้เหลือเดือนละตัว พอถึงปีหน้าก็คงจะเลิกขโมยได้ "
เมื่อรู้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ดีก็ควรรีบแก้ไขเสีย ทำไมจะต้องรอเอาไว้ปีหน้าเล่า ?
มีชายคนหนึ่งชอบขโมยไก่เพื่อนบ้าน และจะขโมยวันละตัวเป็นประจำ ถ้าวันไหนไม่ขโมยก็จะรู้สึกคันไม้คันมือทนไม่ได้ มีคนเจตนาดีได้กล่าวตักเตือนเขาว่า " เลิกเป็นขโมยเสียทีเถอะ ความประพฤติเช่นนี้มันผิดศีลธรรม "
ชายผู้นั้นฟังแล้วรู้สึกอยากจะเลิกเป็นขโมยอยู่เหมือนกัน เขาจึงตอบว่า " เอาล่ะ ข้าพเจ้าจะตัดสินใจกลับเนื้อกลับตัวเลิกประพฤติชั่ว แต่เรื่องขโมยนี้มันฝังลึกในสันดานเสียแล้วจะให้เลิกเสียในทันทีย่อมจะยาก เมื่อก่อนนี้ข้าพเจ้าขโมยไก่วันละตัว ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจะลดลงให้เหลือเดือนละตัว พอถึงปีหน้าก็คงจะเลิกขโมยได้ "
เมื่อรู้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ดีก็ควรรีบแก้ไขเสีย ทำไมจะต้องรอเอาไว้ปีหน้าเล่า ?
บันทึกใน " เมิ่งจื่อ "
Monday, July 08, 2013
The Concept of Nirvana
The Concept of Nirvana
As described earlier, the present is not cut off from the past and the future. The present exists as the effect of the past and as the cause of the future. The present, as a whole, consisting of three sub moments, has to be the past and the future, not in the mode of identify, but in the mode of " neither the same nor difference " or " neither identify nor diversity ". The temporal continuity flows on till Nirvana is realized, as the consciousness of one who has attained Nirvana, is not reborn. Consciousness in Buddhism is not always a useless passion. There is time when passion or desire is eliminated from consciousness and thereby ceases to be the cause of suffering. Desire is eradicated when Nirvana is realized. The Buddha says :
" The extinction of desire is Nirvana. He who destroys desire overcomes all suffering.
As we know, desire is not an inherent component of consciousness, it is one of psychic factors. Desire, according to the law of Dependent Origination, is conditioned by feeling [ vetana ]. This feeling is threefold ; pleasant, unpleasant and indifferent, which tend to produce greed, hatred and delusion respectively. Thus we can say that greed, hatred and delusion are three forms in which desire manifests itself. This explains why at times, Nirvana is described in term of the destruction of greed, hatred and delusion. when consciousness is freed form greed, hatred and delusion, which are the roots of karma, consciousness becomes karmically inoperative [ kiriya - citta ]. It is no longer accumulated fresh karma - energy. Consciousness whose karma - energy is exhausted will not be reborn after death as the Buddhist knows :
As described earlier, the present is not cut off from the past and the future. The present exists as the effect of the past and as the cause of the future. The present, as a whole, consisting of three sub moments, has to be the past and the future, not in the mode of identify, but in the mode of " neither the same nor difference " or " neither identify nor diversity ". The temporal continuity flows on till Nirvana is realized, as the consciousness of one who has attained Nirvana, is not reborn. Consciousness in Buddhism is not always a useless passion. There is time when passion or desire is eliminated from consciousness and thereby ceases to be the cause of suffering. Desire is eradicated when Nirvana is realized. The Buddha says :
" The extinction of desire is Nirvana. He who destroys desire overcomes all suffering.
As we know, desire is not an inherent component of consciousness, it is one of psychic factors. Desire, according to the law of Dependent Origination, is conditioned by feeling [ vetana ]. This feeling is threefold ; pleasant, unpleasant and indifferent, which tend to produce greed, hatred and delusion respectively. Thus we can say that greed, hatred and delusion are three forms in which desire manifests itself. This explains why at times, Nirvana is described in term of the destruction of greed, hatred and delusion. when consciousness is freed form greed, hatred and delusion, which are the roots of karma, consciousness becomes karmically inoperative [ kiriya - citta ]. It is no longer accumulated fresh karma - energy. Consciousness whose karma - energy is exhausted will not be reborn after death as the Buddhist knows :
Wednesday, July 03, 2013
แนวคิดเกี่ยวกับ นิพพาน
แนวคิดเกี่ยวกับ นิพพาน
ดังที่ทราบมาแล้วว่า ปัจจุบันกาลของวิญญาณ ในปรัชญาพุทธหมายถึงวิญญาณที่เป็นอดีตและอนาคตรวมกัน เพราะวิญญาณปัจจุบันก็คือผลจากวิญญาณในอดีตซึ่งจะกลายเป็นเหตุปัจจัยต่อการเกิดดับวิญญาณในอนาคต จึงอาจกล่าวได้ว่า วิญญาณในส่วนที่เป็นปัจจุบัน อาจจะแบ่งให้เห็นได้เป็นสามช่วง วิญญาณทั้งสามช่วงไม่ใช่สิ่งเดียวกันไม่แตกต่างกัน กระแสของวิญญาณจะมีช่วงเวลาในการเลื่อนไหลเช่นนี้ตลอดไปจนกว่าจะบรรลุนิพพานวิญญาณจึงจะดับลงและไม่เกิดอีกต่อไป ดังนั้นวิญญาณในทางพุทธศาสนาจึงไม่ใช่สิ่งไร้ค่าที่ถูกควบคุมด้วยราคะ ต่อเมื่อเราสามารถจะดับลงและไม่เกิดอีกต่อไป ดังนั้นวิญญาณในทางพุทธศาสนาจึงไม่ใช่สิ่งไร้ค่าที่ถูกควบคุมด้วยราคะ ต่อเมื่อเราสามารถกำจัดตัณหาราคะออกไปจากวิญญาณได้ ก็ย่อมจะพบทางแห่งการดับทุกข์ นั่นคือบรรลุนิพพานได้ เมื่อความอยากแห่งอาสวกิเลสทั้งหลายถูกกำจัดให้หมดสิ้นลง ดังพุทธพจน์ที่ว่า
" การกำจัดกิเลสตัณหาจนหมดสิ้น ย่อม ถึงซึ่งนิพพาน บุคคลใดที่ได้กำจัดให้หมดสิ้นแห่งตัณหา บุคคลนั้นย่อมได้ชื่อว่าพ้นทุกข์ "
เราทราบแล้วว่า ตัณหาไม่ใช่สิ่งที่เกิดมาพร้อมกับวิญญาณแต่เป็นกระแสเจตสิกชนิดหนึ่งที่เข้ามาทำหน้าที่ควบคุมการรับรู้ของวิญญาณ ตามหลักปฏิจจสมุปบาท ตัณหาเกิดจากการปรุงแต่งของเวทนา เป็นเวทนาที่ประกอบด้วยอารมณ์ ๓ ชนิด คือ สุข ทุกข์ และที่เป็นกลางๆ เวทนาดังกล่าวนี้คือปัจจัยที่ก่อให้เกิดกิเลสอันประกอบ ด้วย โลภ โกรธ หลง กิเลสทั้งสามนี้ เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดตัณหา คือ ความอยากได้ใคร่มี ดังนั้นจึงมีผู้รู้บางท่านให้นิยาม นิพพาน ว่าคือ สภาวะหรือระดับของจิตที่ปราศจาก ความโลภ โกรธ หลง เมื่อวิญญาณสลัดพ้นจากกิเลสทั้งสามที่ถือว่าเป็นมูลแห่งกรรม ( กิริยาจิต ) และไม่อยู่ใต้อำนาจแห่งพลังกรรม เป็นวิญญาณที่ไม่มีการเกิดดับอีกต่อไป ดังพุทธพจน์ที่ว่า
ดังที่ทราบมาแล้วว่า ปัจจุบันกาลของวิญญาณ ในปรัชญาพุทธหมายถึงวิญญาณที่เป็นอดีตและอนาคตรวมกัน เพราะวิญญาณปัจจุบันก็คือผลจากวิญญาณในอดีตซึ่งจะกลายเป็นเหตุปัจจัยต่อการเกิดดับวิญญาณในอนาคต จึงอาจกล่าวได้ว่า วิญญาณในส่วนที่เป็นปัจจุบัน อาจจะแบ่งให้เห็นได้เป็นสามช่วง วิญญาณทั้งสามช่วงไม่ใช่สิ่งเดียวกันไม่แตกต่างกัน กระแสของวิญญาณจะมีช่วงเวลาในการเลื่อนไหลเช่นนี้ตลอดไปจนกว่าจะบรรลุนิพพานวิญญาณจึงจะดับลงและไม่เกิดอีกต่อไป ดังนั้นวิญญาณในทางพุทธศาสนาจึงไม่ใช่สิ่งไร้ค่าที่ถูกควบคุมด้วยราคะ ต่อเมื่อเราสามารถจะดับลงและไม่เกิดอีกต่อไป ดังนั้นวิญญาณในทางพุทธศาสนาจึงไม่ใช่สิ่งไร้ค่าที่ถูกควบคุมด้วยราคะ ต่อเมื่อเราสามารถกำจัดตัณหาราคะออกไปจากวิญญาณได้ ก็ย่อมจะพบทางแห่งการดับทุกข์ นั่นคือบรรลุนิพพานได้ เมื่อความอยากแห่งอาสวกิเลสทั้งหลายถูกกำจัดให้หมดสิ้นลง ดังพุทธพจน์ที่ว่า
" การกำจัดกิเลสตัณหาจนหมดสิ้น ย่อม ถึงซึ่งนิพพาน บุคคลใดที่ได้กำจัดให้หมดสิ้นแห่งตัณหา บุคคลนั้นย่อมได้ชื่อว่าพ้นทุกข์ "
เราทราบแล้วว่า ตัณหาไม่ใช่สิ่งที่เกิดมาพร้อมกับวิญญาณแต่เป็นกระแสเจตสิกชนิดหนึ่งที่เข้ามาทำหน้าที่ควบคุมการรับรู้ของวิญญาณ ตามหลักปฏิจจสมุปบาท ตัณหาเกิดจากการปรุงแต่งของเวทนา เป็นเวทนาที่ประกอบด้วยอารมณ์ ๓ ชนิด คือ สุข ทุกข์ และที่เป็นกลางๆ เวทนาดังกล่าวนี้คือปัจจัยที่ก่อให้เกิดกิเลสอันประกอบ ด้วย โลภ โกรธ หลง กิเลสทั้งสามนี้ เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดตัณหา คือ ความอยากได้ใคร่มี ดังนั้นจึงมีผู้รู้บางท่านให้นิยาม นิพพาน ว่าคือ สภาวะหรือระดับของจิตที่ปราศจาก ความโลภ โกรธ หลง เมื่อวิญญาณสลัดพ้นจากกิเลสทั้งสามที่ถือว่าเป็นมูลแห่งกรรม ( กิริยาจิต ) และไม่อยู่ใต้อำนาจแห่งพลังกรรม เป็นวิญญาณที่ไม่มีการเกิดดับอีกต่อไป ดังพุทธพจน์ที่ว่า
Subscribe to:
Posts (Atom)