Saturday, October 19, 2013

วิบากกรรม

วิบากกรรม

         พุทธศาสนาสอนว่า การประกอบกรรม ทำได้สามทาง  คือ ทางกาย เรียกว่า กายกรรม ทางวาจา เรียกว่า วจีกรรม ทางใจ เรียกว่า มโนกรรม

         โดยทั่วไป คนเรามักมองข้ามไปว่า การคิดก็เป็นการทำกรรมชนิดหนึ่งเรียกว่า มโนกรรม จิตหรือความคิดมิใช่เป็นเพียงสิ่งที่มีไว้สำหรับการรับรู้ต่อวัตถุหรือต่อปรากฎการณ์เท่านั้น แต่พุทธศาสนาถือว่า จิตเป็นตัวกำหนดในการทำหน้าที่ที่สำคัญที่สุดในการประกอบกรรม พุทธศาสนาเชื่อว่ามนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ถึงระดับสูงสุดทางปัญญา ก็ด้วยผลของมโนกรรม และมโนกรรมนี้เองที่เป็นตัวกำหนดให้เกิดการประกอบอาชญากรรม ดังนั้นการเพาะบ่มพัฒนาจิตใจจึงเป็นเรื่องสำคัญในการควบคุมฝึกอบรมทางจิตวิญญาณ

          เจตนาในการทำกรรมดี กรรมชั่ว หรือที่เรียกว่า กุศลกรรม อกุศลกรรม ก่อให้เกิดวิบากกรรมตามแรงเจตนานั้นๆ ซึ่งบางครั้งผลของกรรมจะปรากฎให้เห็นทันทีในปัจจุบัน แต่ในบางกรณีผลของกรรมอาจจะยังไม่ปรากฎ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยร่วมอื่นๆ เช่น สถานที่ เวลา และ บุคลิกภาพของผู้ทำกรรมดังที่เคยกล่าวมาแล้ว วิบากกรรมบางอย่าง ปรากฎในเวลาปัจจุบัน ในขณะที่กรรมบางอย่างอาจส่งผลในอนาคตตามเหตุปัจจัย ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า 

          " สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ มีกรรมเป็นแดนเกิด ทุกอย่างเกี่ยวกับกรรมและสนับสนุนโดยกรรมทั้งที่หยาบและปราณีต " ดังนี้



By แก่นพุทธธรรม

No comments:

Post a Comment