Friday, July 12, 2013

ผลได้ผลเสีย

ผลได้ผลเสีย

          ฌานาจารย์เจ้าโจวฉงเหยิ่น ขณะอายุ ๑๘ ปี ได้ออกบวชศึกษาธรรมะจากฌานาจารย์หนานเฉวียนผู่ย่วน ซึ่งท่านก็ให้ความสำคัญกับศิษย์คนนี้มาก เจ้าโจวฉงเหยิ่นจึงกลายเป็นศิษย์ก้นกุฏิของท่าน

           มาวันหนึ่ง เจ้าโจวขอคำแนะนำจากอาจารย์ว่า " อาจารย์ มรรค คืออะไร ? "

           อาจารย์ตอบว่า " จิตปกติ คือ มรรค "

           เจ้าโจวถามอีกว่า " นอกจากจิตปกติแล้ว พุทธธรรมยังมีเหตุผลที่ลึกซึ้งยิ่งกว่าหรือไม่ ? "

           อาจารย์ตอบว่า " ถ้าจิตยังมีคติมุ่ง ก็จะห่วงหน้าพะวงหลัง ได้นั่นลืมนี่ ถ้าเป็นเช่นนี้ สิ่งที่เรียกว่า มรรค ก็จะสูญเสียลักษณะรอบด้าน พุทธธรรมก็จะไม่เต็มบริบูรณ์ "

           เจ้าโจวถามอีกว่า " ถ้าพุทธธรรมไม่มีคติมุ่งเลย มิเท่าเวิ้งว้างไร้จุดหมายดอกหรือ ? เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ' มรรค ' คืออะไร ? "



           อาจารย์จึงแนะนำว่า " มรรคไม่สังกัดรู้ รู้คืออุปาทาน ไม่สังกัดไม่รู้ไม่รู้คือลืม มรรคดุจเวิ้งสุญตา จะยัดเยียดว่ามันถูกหรือผิด ใช่หรือไม่ใช่ได้หรือ ? "

           ที่เรียกว่า จิตปกติ ไร้สิ่งปรุงแต่ง หมายถึง จิตแบบฌาน เกิดปัญญามุตติ คำแนะนำของฌานาจารย์หนานเฉวียนผู่ย่วนนี้เอง ช่วยให้เจ้าโจวบรรลุฌาน มีชีวิติอย่างอิสระเป็นตัวของตัวเองในภายหลัง

           คนเราเวลาทำอะไร แม้จะทำเพื่ออุดมคติอันสูงส่ง ก็ไม่ควรคำนึงถึงผลได้ผลเสียมากไป ขอเพียงมุมานะด้ยจิตปกติเรียบเย็น ดังสำนวนที่ว่า " ไถหว่านหนึ่งส่วน เก็บเกี่ยวหนึ่งส่วน " สวรรค์ย่อมไม่แล้งน้ำใจกับผู้มีมานะพยายามแน่นอน




By เซ็น : วิถีแห่งความสุขที่แท้

No comments:

Post a Comment