สามคนพูดถึงเสือ
เมื่อรัฐเว่ยทำสงครามแพ้รัฐจ้าว กษัตริย์รัฐเว่ยจึงต้องส่งพระราชบุตรและผังกงซึ่งเป็นขุนนางผู้ใหญ่ไปเป็นตัวประกันที่นครหานตานของรัฐจ้าว
ก่อนจะออกเดินทางไป ผังกงได้ทูบถามกษัตริย์รัฐเว่ยว่า " ถ้ามีคนวิ่งเข้ามากราบทูลพระองค์ว่า มีเสือตัวหนึ่งออกมาที่ถนน พระองค์จะทรงเชื่อหรือไม่ ? "
กษัตริย์รัฐเว่ยทรงคิดนิดหนึ่ง แล้วสั่นพระเศียรตรัสว่า " ข้าพเจ้าไม่เชื่อ "
ถ้ามีคนหนึ่งเข้ามากราบทูลว่า เขาเห็นเสือที่ถนน พระองค์จะทรงเชื่อหรือไม่ ?
กษัตริย์รัฐเว่ยทรงคิดนิดหนึ่ง แล้วสั่นพระเศียรตรัสว่า " ข้าพเจ้าไม่เชื่อ "
ผังกงจึงทูลถามอีก " ถ้าทันใดนั้น มีคนที่สามวิ่งเข้ามากราบทูลว่า ที่ถนนมีเสือตัวหนึ่งพระองค์จะทรงเชื่อหรือไม่ ? "
กษัตริย์ทรงพยักพระพักต์ตรัสว่า " ข้าพเจ้าเชื่อ เพราะเมื่อมีสามคนยืนยัน ย่อมจะเป็นจริง "
ผังกงจึงทูลว่า " ไม่ว่าใครย่อมรู้ดีว่า ในถนนใหญ่ไม่มีเสือ แต่เมื่อมีสามคนมากราบทูลว่ามี พระองค์ก็ทรงเชื่อว่าเป็นความจริง บัดนี้ข้าพระองค์จะไปเมืองหานตาน เมื่อเปรียบเทียบระยะทางกับถนนในเมืองหลวงแล้ว ย่อมไกลจากรัฐเว่ยอย่างเทียบไม่ได้ และผู้ที่จะกล่าวร้ายข้าพระองค์ย่อมจะมิใช่มีเพียงสามคนเท่านั้น เมื่อพระองค์ได้ฟังคำของคนเหล่านั้นแล้วขอได้โปรดชั่งพระทัยของพระองค์ในการวินิจฉัยความถูกความผิดด้วย
บันทึกใน " หานเฟยจื่อ "
มุมมองปรัชญา
คนที่ชั่วร้ายและเต็มไปด้วยเล่ห์เพทุบาย มักจะเชื่อว่า " ความเท็จ เมื่อพูดซ้ำๆ กันพันครั้ง ย่อมจะกลายเป็นความจริงได้ " คนประเภทนี้จะทำการใส่ร้ายป้ายสี ทำลายคนดีและหลอกลวงตลบแตลงด้วยวิธีต่างๆ ร้อยแปด ฉะนั้นเราจะต้องเปิดโปงมันและจะต้องไม่เหมือนกษัตริย์ของรัฐเว่ย ซึ่งรู้ว่าที่ถนนไม่มีเสือ แต่ก็เห็นว่าเมื่อมีคนพูดถึงสามคนก็ย่อมที่จะเป็นที่เชื่อถือได้ ด้วยเหตุนี้จะต้องรู้จักวิเคราะห์ค้นคว้า แยกแยะวินิจฉัยสภาพความเป็นจริงอย่างเยือกเย็น ถ้าทำได้เช่นนี้ สิ่งที่เป็นเท็จ ก็จะถูกระงับไป เพราะผู้มีปัญญาที่รู้จักไตร่ตรองด้ยเหตุและผล
By ปรัชญาชีวิตใน สุภาษิตจีน
No comments:
Post a Comment