Friday, July 04, 2014

ห่างไกล ก็ถูกลืม


ห่างไกล ก็ถูกลืม

         เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงอย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่เฉพาะที่เกิดกับคนญี่ปุ่น แต่สำหรับคนทุกเชื้อชาติก็ว่าได้ในเรื่องความสัมพันธ์ของคน ที่หลายคนคงรู้ดีว่าคนที่สนิทสนมกันในช่วงเวลาหนึ่ง พอต้องมีสาเหตุที่ทำให้จากกันหรือไม่ได้พบหน้ากันก็มักจะมีโอกาศลืมเลือนกันไป หรือคนที่ตายจากก็จะค่อยๆ ถูกลืมไปตามกาลเวลาด้วยเช่นกัน

         แต่เดี๋ยวนี้การติดต่อสื่อสารของโลกนั้นสะดวกสบายและรวดเร็วมากขึ้นเพียงปลายนิ้วมือก็สื่อสารกันได้ฉับไว อาจจะพอแก้ปัญหา " ห่างไกล ก็ถูกลืม " ไปได้บ้าง

        ในด้านการค้านั้นเขายิ่งรู้ซึ้งในเรื่องนี้ บริษัทห้างร้าน เจ้าของผลิตภัณฑ์สินค้าต่างๆ เขาจึงต้องทำการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อต้องการให้ลูกค้านั้นจดจำสินค้าและบริการของเขาอยู่ตลอดเวลา แต่ก็มีโฆษณาสินค้าบางอย่างที่ผู้เกี่ยวข้องในการโฆษณาสินค้าต่างๆ และควรจะมีจรรยาบรรณกำกับไว้ด้วย

        เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตมีการเสวนาเรื่อง " ถึงเวลาควบคุมโฆษณาขนมเด็กหรือยัง " โดย ร.ศ.ดร.ปาริชาต  สถาปิตานนท์ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า



        การศึกษาเรื่องอัตราความถี่ในกรโฆษณาในรายการเด็กของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ๑๓ ประเทศ มีการสำรวจและวิจัยอย่างละเอียดและพบว่า เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๙ ประเทศไทยมรการโฆษณาขนมในรายการเด็กสูงถึง ๔๒ ครั้งต่อชั่วโมง อาจจะมากที่สุดในโลกเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลียที่โฆษณา ๑๒ ครั้งต่อชั่วโมง อเมริกาโฆษณา ๑๑ ครั้งต่อชั่วโมง อังกฤษโฆษณา ๑๐ ครั้งต่อชั่วโมง 

        เด็กๆ ของเราไม่อาจแยกแยะอาหารที่มีประโยชน์กับไม่มีประโยชน์ได้จะกินแต่อาหารที่ถูกปาก ยิ่งหากมีตัวการ์ตูนหรือมีของเล่นมาล่อใจ เด็กจะยิ่งกินขนมนั้นๆ มากขึ้น

        การปล่อยให้เด็กดูโฆษณาขนมซึ่งฉายซ้ำๆ ทำให้สมองเกิดการจดจำติดภาพขนมเหล่านั้นอยู่ในสมอง กระตุ้นสมองส่วนอยาก พอเห็นสินค้าก็ต้องการลอง เมือลองแล้วจะติดเพราะขนมมีเครื่องปรุงชูรส ทำให้เด็กติดและต้องการกินมากขึ้น จนร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ อีกทั้งการใช้เด็กมาโฆษณาด้วยการทำกิริยาท่าทางพูดจาเกินวัย ทำให้เด็กเรียนรู้แบบผิดๆ

         คนทำสื่อควรคำนึงถึงเด็กไม่ทำเฉพาะสื่อร้ายที่โฆษณาอาหารขยะ หรือตอกย้ำยั่วยุให้เด็กอยากกินแต่ขนมขบเคี้ยว ทั้งนี้ทั้งนั้นควรจะมีการควบคุมสื่อสำหรับเด็กไม่ให้มีโฆษณาที่ไม่เหมาะสม เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายจึงต้องช่วยกันติดอาวุธทางปัญญาให้แก่เด็ก

        การปล่อยให้เด็กเล็กดูโทรทัศน์อย่างต่อเนื่องนั้นมีผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาของสมองและสติปัญญา ทำให้พัฒนาการช้า และการดูโทรทัศน์ในวัยแรกเกิดจนถึง ๓ ปี มีความสัมพันธ์กับโรคออทิสติก เพราะจากประวัติเด็กออทิสติกส่วนมากจะอยู่หน้าจอโทรทัศน์มากว่าเด็กปกติ จึงไม่ควรให้เด็กวัยนี้ดูโทรทัศน์โดยเฉพาะจะส่งผลให้มีปัญหาการใช้ภาษา เช่น พูดได้ช้า ไม่เข้าใจคำหรือความหมายของประโยค

         ถ้าจะห้ามการโฆษณาขนมเด็กเลยคงเป็นไปไม่ได้ เพราะโฆษณาก็มีประโยชน์เช่นกัน แต่คนทำโฆษณาควรนึกถึงผลประโยชน์ของสาธารณชนด้วยไม่ใช่เห็นแต่กำไร เช่น การสอดแทรกคำสอนเรื่องการแบ่งปันไปในโฆษณาขนมเด็ก ซึ่งเรื่องนี้คนผลิตโฆษณาก็น่าจะทำได้อยู่แล้ว

         อนาคตหวังว่าคงมีโฆษณาที่ไม่เห็นแก่ตัวเลขและกำไรบ้างในเมืองไทย




By ปรัชญา " ซามูไร "

No comments:

Post a Comment