Tuesday, August 06, 2013

ห้าสิบเก้าเย้ยร้อยเก้า

ห้าสิบเก้าเย้ยร้อยเก้า

         กษัตริย์เหลียงฮุ่ย มักจะทรงเกณฑ์คนมาเป็นทหารแล้วส่งไปรบเพื่อปล้นชิงทรัพย์สินของรัฐอื่นๆ อยู่เป็นประจำ วันหนึ่งพระองค์ตรัสถามเมิ่งจื่อว่า " กล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าได้ทุ่มเทจิตใจทั้งหมดให้แก่บ้านเมือง เวลาแม่น้ำด้านเหนือเกิดทุพภิกขภัย ข้าพเจ้าก็ย้ายไพร่ฟ้าไปอยู่ด้านแม่น้ำตะวันออก แล้วเอาเสบียงอาหารของแม่น้ำด้านตะวันออกย้ายที่แม่น้ำด้านหนือ เวลาแม่น้ำด้านตะวันออกเกิดทุพภิขภัยข้าพเจ้าก็ทำแบบนี้เช่นเดียวกันข้าพเจ้าพิจารณาดูแล้วรู้สึกว่ากษัตริย์ในรัฐข้างเคียงไม่มีใครที่จะรักเอาใจใส่ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์เหมือนข้าพเจ้าสักคน แต่ไพร่ฟ้าของรัฐใกล้เคียงก็ไม่เคยลดลง ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของข้าพเจ้าก็ไม่เพิ่มขึ้นทั้งนี้เป็นเพราะเหตุใด ? "

          เมิ่งจื่อกราบทูลว่า " พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ทรงโปรดการรบทัพจับศึก ข้าพระองค์ขอนำการรบมากล่าวเป็นเรื่องเปรียบเทียบ คือในการสงครามนั้นเมื่อกลองศึกดังขึ้น ทั้งสองฝ่ายก็นำศาสตราวุธต่างๆ เข้าปะทะกัน เมื่อฝ่ายหนึ่งแพ้ก็จะทิ้งอาวุธหนีเอาตัวรอด สมมติว่าบางคนวิ่งหนีไปได้ร้อยก้าว บางคนวิ่งหนี้ไปได้ห้าสิบก้าวตอนนี้ผู้ที่วิ่งหนีไปไกลห้าสิบก้าวก็หัวเราะเยาะ ผู้ที่วิ่งหนีไปไกลกร้อยก้าวว่าเป็นคนขี้ขลาดตาขาวกลัวตาย พระองค์คิดว่าถูกหรือไม่พะยะค่ะ ? "

          กษัตริย์เหลียงฮุ่ยตรัสว่า " แน่นอน เป็นการไม่ถูกต้อง เพราะคนที่ว่านั้นเป็นเพียงวิ่งหนีไปไกลไม่ถึงร้อยก้าว แต่มันก็วิ่งหนีด้วยกันทั้งนั้น "

           เมิ่งจื่อจึงกราบทูลว่า " เมื่อพระองค์ทรงตระหนักในเหตุผลข้อนี้แล้วทำไมพระองค์จึงหวังจะให้ไพร่ฟ้าของพระองค์มีมากกว่าเพื่อนบ้านเล่า ? "

บันทึกใน " เมิ่งจื่อ "



มุมมองปรัชญา

          การเปรียบเทียบของเมิ่งจื่อนี้น่าคิด คนที่วิ่งหนีไปไกลห้าสิบก้าวกับร้อยก้าวนั้นกล่าวในปริมาณแล้วถึงแม้ว่าจะต่างกัน แต่ในด้านธาตุแท้นั้นหาได้มีอะไรแตกต่างกันไม่ คือต่างก็วิ่งหนีเหมือนกัน กษัตริย์เหลียงฮุ่ยในทางผิวเผินแล้วพระองค์ได้กระทำบางสิ่งบางอย่างที่เล็กๆ น้อยๆ เพื่อราษฎร แต่ในทางธาตุแท้นั้นเป็นผู้สร้างภัยพิบัติให้แก่ประชาราษฎร์ ไม่แตกต่างกับทรราชย์ในรัฐข้างเคียง

          ในการพิจารณาปัญหานั้น เราจะพิจารณาเพียงภายนอกไม่ได้ ต้องพิจารณาให้ลึกเข้าไปถึงธาตุแท้ที่อยู่ภายในด้วย

กษัตริย์เหลียงฮุ่ย ๔๐๐ - ๓๑๙ ปี ก่อนคริสต์ศักราชเป็นกษัตริย์รัฐเว่ย
สมัยจ้านกว้อ ( ๔๗๕ - ๒๒๑ ปีก่อนคริสต์ศักราช )




By ปรัชญาชีวิตใน สุภาษิตจีน

No comments:

Post a Comment