Friday, May 13, 2016

อย่าตกเป็นทาสความรู้

อย่าตกเป็นทาสความรู้

         คำว่า "อย่าตกเป็นทาสความรู้ !" ปรากฎอยู่ในหนังสือ ฟื้นโฉมหน้าเดิมแท้ของชาวญี่ปุ่น ซึ่งเขียนโดยคุณอิเคมิตสุ ซูเคสึ ผู้ก่อตั้งบริษัทน้ำมันปริโตเลียมอิเคมิตสุ คุณอิเคมิตสุจบวิทยาลัยพาณิชยการโกเบเมื่อปี ค.ศ.๑๙๐๙ วิทยาลัยพาณิชยการโกเบในสมัยนั้น ก็คือต้นกำเนิดมหาวิทยาลัยโกเบในปัจจุบัน

         ท่านกล่าวว่า "วิทยาลัยแห่งนี้เด่นดังมาก นักเรียนที่จบจากที่นี่เกือบทุกคนเข้าทำงานในบริษัทชั้นหนึ่ง แต่ผมเป็นคนแปลก ยอมสมัครเป็นพนักงานตำแหน่งเล็กๆ ในร้านค้าแห่งหนึ่ง มีพนักงานแค่ ๓ คน คาดผ้ากันเปื้อนที่เอวทำงานในร้าน ซึ่งสำหรับยุคนั้นแล้ว เป็นเรืองประหลาดมาก ถ้าไม่ละทิ้งความคิดจบมหาวิทยาลัยชั้นสูง ก็คงทำไม่ได้ และคงไม่มีผมในทุกวันนี้ ผมละทิ้งประกาศณียบัตร และทิ้งการพึ่งพาความรู้ ก้าวสู่เส้นทางชีวิตที่ขรุขระเป็นครั้งแรกตั้งแต่นั้น

         "ผมเห็นว่า ควรใช้ความรู้อย่างยืดหยุ่นพลิกแพลง จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด ความรู้โดยตัวมันเองไม่มีอะไร ถ้าต้องการฝึกความสามารถในการใช้ความรู้อย่างยืดหยุ่นพลิกแพลง จะต้องเป็นคนกอปรด้วยพลังแห่งการปฏิบัติ อีกทั้งต้องทำงานเล็กได้ จึงจะสามารถประกอบกิจการใหญ่โตถ้าเข้าบริษัทใหญ่ อยู่ในตำแหน่งค่อนข้างสูงแต่แรก ก็จะไม่เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของลูกน้อง ไม่สามารถใช้คนอย่างยืดหยุ่นพลิกแพลง ตัวเองต้องเริ่มทำงานตั้งแต่จุดต่ำสุด จึงจะเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของลูกน้อง ผมสมัครเป็นพนักงานเล็กๆ ด้วยความรู้สึกที่ต้องการไต่เต้าไปทีละขั้นๆ แบบนี้แหละ"

         ชาวจีนมีสำนวนบทหนึ่งว่า "เรียนจากต่ำบรรลุสูง" หมายความว่า เรียนรู้จากจุดต่ำสุด จึงจะสามารถบรรลุจุดสูงสุด

         ขณะที่ผมพบสำนวนบทนี้ ผมก็เกิดความรู้สึกว่า เรากำลังผลักดันส่งเสริมพฤติกรรม "เรียนจากสูงบรรลุต่ำ" ในยุคเมจินั้น มีคนจบวิทยาลัยน้อยมาก แตกต่างกับยุคนี้ คนจบวิทยาลัยพาณิชยการโกเบในยุคนั้น แต่ยอมเป็นพนักงานในร้านค้าเล็กๆ ด้วยจิตใจอะไรนั้น จึงเป็นเรืองเข้าใจยากโดยแท้

          คุณอิเคมิตสุเห็นว่า "ทุกวันนี้ ชีวิตค่อนข้างหลากหลาย พึ่งพาความรู้กันมากไป กระทั่งลืมความเป็นมนุษย์"

          หนังสือเล่มนี้พิมพ์วางจำหน่ายตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๗๑ กว่า ๒๐ ปีแล้วจะอ่านอย่างไร ก็ยังรู้สึกได้ถึงความทันสมัย เพราะสังคมของเรานับวันจะจใปลักความรู้มากขึ้น

          คุณอิเคมิตสุชอบ "เจียระไนหินเป็นหยกด้วยความยากลำบาก" มากที่สุด ท่านกล่าวอีกว่า " ต้องพยายามเดินเส้นทางยากลำบากเท่าที่จะเป็นไปได้ "ต้องเป็นคนที่เคยผ่าน...มาแล้ว" ท่านกล่าวว่า "เพื่อบรรลุเป้าหมายบางอย่างนั้น มีหนทางอยู่ ๒ สาย สายหนึงเป็นทางที่เดินสบายอย่างยิ่ง อีกสายหนึ่งเป็นทางที่เดินลำบากอย่างยิ่ง ไม่ว่าเดินทางที่ลำบากหรือทางที่สบาย ล้วนบรรลุเป้าหมายได้ แต่ถ้าถามผมว่าต้องการเดินทางไหน ผมจะเลือกทางที่ลำบาก พูดในแง่ความรู้ทั่วไป นี่เป็นเรื่องโง่มาก อันที่จริง มีแต่เดินทางที่ลำบากเท่านั้น จึงจะสามารถบ่มเพาะพลังแห่งการปฏิบัติขึ้นมา

          "รักชั่วหามเสา" ภาษิตสอนเรามาอย่างนี้ คนยอมหามเสา มีอยู่ไม่มาก สุดท้ายจึงกลายเป็น "เรียนจากสูงบรรลุต่ำ" นี่มิใช่ความจริงที่เสียดสีความคิดของมนุษย์อย่างยิ่งดอกหรือ !?







by อิบูคิ ทาคาชิ, โทขุระ โทราโอะ ( คนฉลาดแสร้งโง่ )

No comments:

Post a Comment