Friday, January 24, 2014

ที่สถิตแห่ง " เต๋า "


ที่สถิตแห่ง " เต๋า "

         ตงกอจื่อ ถามจวงจื้อว่า " ท่านชอบพูดถึง " เต๋า " บ่อยๆ แล้วเต๋าอยู่ที่ไหนเล่า ? "

         จวงจื่อตอบว่า " เต๋าดำรงอยู่ในที่ทุกหนทุกแห่ง "

         " ท่านจงบอกให้แจ่มชัดหน่อยเถิด ว่าอยู่ที่ไหนกันแน่ " ตงกอจื่อถามต่อไป

         " อยู่ที่ตัวมดปลวก " จวงจื่้อบอก
       
         " ทำไมจึงอยู่ต่ำเช่นนั้นล่ะ ? "

         " อยู่ในข้าวฟ่างและเม็ดหญ้า "

         " อ้าว, ทำไมยิ่งต่ำลงไปอีก "

         " อยู่ในกระเบื้องและอิฐ "

         " ทำไมท่านยิ่งพูดยิ่งต่ำลงทุกที ? "

         " อยู่ในอุจจาระปัสสาวะ "

         พอตงกอจื่อได้ฟังคำว่า " อยู่ในอุจาระและปัสสาวะ " ก็รู้สึกว่าคำตอบของจวงจื่อไม่เข้าท่า เขาจึงไม่ถามต่อ

          จวงจื่อจึงกล่าวกับเขาว่า " ท่านต้องการให้ข้าพเจ้าบอกแก่ท่านให้แจ่มชัดว่า ' เต๋า ' อยู่ที่ไหน ข้าพเจ้าจึงพูดให้มันอยู่ในสิ่งต่ำๆ สักหน่อยจึงจะแสดงให้เห็นว่าเต๋าดำรงอยู่ในที่ทุกหนทุกแห่ง เหตุไฉนท่านจึงไม่ดีใจเล่า ? "

บันทึกใน " จวงจื่อ "

Thursday, January 23, 2014

เป่าขลุ่ยแต่ไม่มีคนฟัง


เป่าขลุ่ยแต่ไม่มีคนฟัง

         การหลอกล่อด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้คนอื่นทำตาม แต่ทว่าไม่มีใครสนใจเลยแม้แต่น้อย



By ปรัชญา " ซามูไร "

Wednesday, January 22, 2014

ปราชญ์เหนือคน


ปราชญ์เหนือคน

          มีอยู่ครั้งหนึ่ง ฌานาจารย์อู๋เต๋ออบรมสั่งสอนศิษย์ว่า " การปฏิบัติตัวในสังคม กับการปฏิบัติธรรมแบบฌาน มีหลักเหตุผลคล้ายกันบางครั้งต้องถอยหลังตั้งตัว จึงจะก้าวไปได้ไกลยิ่งขึ้น บางครั้งต้องถ่อมตัวสำรวจตนเอง จึงจะปีนป่ายได้สูงยิ่งขึ้น "

          ลูกศิษย์ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจความหมาย จึงถามว่า

          " คนที่ถอยหลัง จะก้าวหน้าได้อย่างไร ? คนที่ถ่อมตัว จะปีนป่ายขึ้นสูงได้อย่างไร ? "

          ฌานาจารย์อู๋เต๋อจึงแนะนำด้วยท่าทีเคร่งขรึมว่า " พวกเจ้าลองฟังโศลกธรรมบทนี้ดู ' ปักดำกล้าเต็มนา ก้มหัวฟ้าพริ้มน้ำ จิตสะอาดบรรลุธรรม พึงจดจำถอยคือบุก ' พวกเจ้าเข้าใจหรือยัง ? "

          ลูกศิษย์เหล่านั้นคล้ายสำนึกเข้าใจแล้ว

          คำสอนของฌานาจารย์อู๋เต๋อ บอกเราอย่างแจ่มแจ้งว่า ถ้าควรบุกก็บุก ควรถอยก็ถอย ควรสูงก็สูง ควรต่ำก็ต่ำ ดังสำนวนที่ว่า ' บุกถอยดูชั้นเชิง สูงต่ำดูกาละเทศะ ' 

Tuesday, January 21, 2014

Kamma, Samsara and Rebirth


Kamma, Samsara and Rebirth

         The Buddha's Middle way reflects the realization that once human beings have met their basic needs for food, clothing, shelter and medicine, to be known as " Four Requisites " then the very biological nature that makes survival possible becomes a basic discovery and self - realization. This biological nature depends on the biomechanical processes of " attraction " and " repulsion " common to all living things in what scientist call " the more evolt animal forms "

          According to the Buddha's teaching, these processes have developed into desire and craving. These help us find food when we are hungry, clothing and shelter when we need protection from the element or danger, and a mate when we feel lust, thus guaranteeing that we live long enough to create more human beings. Without a way to reduce or eliminate, or regulate craving, our biological nature continues to do its job and we continue to experience the attraction and repulsion of everyday life. Thus our instinct hidden within the biological nature can drag us endlessly along, caught in the treadmill of birth and death, known as Samsara or " The cycle of Existence " in Buddhist term.

Saturday, January 18, 2014

กรรม สังสารวัฏ กับ การเกิดใหม่


กรรม สังสารวัฏ กับ การเกิดใหม่

         การที่พุทธศาสนาสอนให้ตระหนักในการดำรงชีวิตตามทางสายกลางด้วยปัจจัย ๔ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคนั้น ก็ด้วยเล็งเห็นว่า สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย โดยเฉพาะ มนุษย์ที่นักวิทยาศาสตร์จัดว่าเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการสูงกว่าสัตว์ทั่วไปนั้น โดยธรรมชาติแล้วมักจะมีพฤติกรรมภายใต้กระบวนการของกลไกทางชีววิทยาอยู่อย่างหนึ่งคือ " ความรักความชอบ " คู่กับ " ความเกลียดความอยากที่จะพ้น " อยู่เสมอ 

         กระบวนการดังกล่าว ในทางพุทธศาสนาถือว่า เป็นจุดกำเนิดของตัณหา คือ ความอยากได้ใคร่มี เริ่มต้นจากการเสาะหาอาหารเมื่อหิว แสวงหาเครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัยเพื่อปกป้องร่างกายให้พ้นจากอันตราย ใฝ่หาคู่เมื่อมีความต้องการทางเพศ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นหลักประกันว่า ชีวิตจะอยู่และสืบทอดแพร่พันธุ์ต่อไป ตัณหาหรือความอยากได้ใคร่มีต่างๆ เหล่านี้หากไม่มีขอบเขตที่จำกัดและเหมาะสม ก็จะทำให้สัญชาตญาณดิบที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน นำมนุษย์ไปสู่ความทะยานอยาก ก่อเกิดวงจรที่ทางพุทธศาสนาเรียกว่า วัฏสงสาร ได้แก่ การเวียนว่ายตายเกิด ( ของจิต ) ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

แม้หวังจะเก่งกล้า จงฝนทั่งให้เป็นเข็ม




ด้ายเลื่อยไม้ขาด
น้ำหยดหินทะลุ
ผู้แสวงหาความรู้พึงค้นคว้าด้วยความพยายาม
น้ำไหลกลายเป็นคู
แตงสุกขั้วก็หล่น
ผู้พบสัจจะจักปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ

นิทัศน์อุทาหรณ์



หลวงจีนจนกับหลวงจีนรวย

           กาลครั้งหนึ่ง ที่ชายแดนของเสฉวนซึ่งอยู่ห่างไกล มีหลวงจีนอยู่สองรูป รูปหนึ่งจน รูปหนึ่งกลับมีเงินมากมาย

           หลวงจีนจนพูดกับหลวงจีนรวยว่า " ข้าพเจ้าคิดอยากจะไปไหว้พระที่ทะเลใต้ ท่านเห็นเป็นอย่างไร ? "

          หลวงจีนรวยหัวเราะว่า " ท่านจะอาศัยอะไรไปในที่อันแสนไกลนั้น ? "

          หลวงจีนจนตอบว่า " มีกระติกน้ำสักใบหนึ่ง บาตรอีกลูกหนึ่งก็ใช้ได้ "

           หลวงจีนรวยกล่าวว่า " ท่านรู้หรือไม่ว่าหลายปีมานี้ ข้าพเจ้าคิดจะจ้างเรือสักลำให้นำข้าพเจ้าไปยังทะเลใต้ แต่จนบัดนี้ ความหวังตั้งใจของข้าพเจ้าก็ยังไม่สมปรารถนา ท่านอาศัยแต่กระติกน้ำใบเดียวและบาตรลูกเดียวก็คิดจะไปให้ถึงทะเลใต้เชียวหรือ ? "

Monday, January 06, 2014

หนังฉายซ้ำ คนเบื่อ


หนังฉายซ้ำ คนเบื่อ

          หากใครเคยได้ยินชื่อเสียงของคุณเทียม  โชควัฒนา ผู้ก่อตั้งเครือสหพัฒนพิบูล หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า " เครือสหพัฒน์ " ที่ยิ่งใหญ่จนถึงทุกวันนี้ ซึ่งในปัจจุบันท่านได้ลาลับโลกไปแล้ว ทิ้งไว้แต่ผลงานของท่าน ทั้งยังได้รับการเชิดชูเกียรติจากเหล่าบรรดานักธุรกิจทั่วไปในเมืองไทย ท่านมีปรัชญาแห่งชีวิตและการทำงานข้อหนึ่งที่คล้ายๆ กับปรัชญาข้อนี้มาก

          ท่านบอกไว้ว่า " หนังฉายซ้ำไม่ตื่นเต้น ตลกมุกเก่าไม่มีคนฮา " เป็นปรัชญาของท่านที่ยึดถือมาตลอดชีวิต โดยพยายามจะสอนจะบอกกับลูกๆ หลาน ๆ และเหล่าพนักงานในองค์กรว่า

Sunday, January 05, 2014

ขี้ผึ้งกันหนังมือแตก


ขี้ผึ้งกันหนังมือแตก

          ในรัฐซ่งมีชายคนหนึ่งมีความรู้ในการผสมยาขี้ผึ้งกันหนังมือแตก เนื่องจากมียาชนิดนี้จึงทำให้ครอบครัวของเขาหากินด้วยการรับจ้างฟอกไหมและด้ายมาเป็นเวลาหลายชั่วคน มีคนต่างถิ่นคนหนึ่งเมื่อรู้เรื่องนี้ก็มาหา บอกว่าเขายินดีจะให้เงินร้อยเหรียญเพื่อซื้อตำรายานี้ ชายผู้มีอาชีพฟอกไหมและด้ายเรียกคนในบ้านมาประชุมปรึกษาหารือกัน เขาเล่าว่า " พวกเราทำงานฟอกไหมและด้ายมาหลายชั่วคนแล้ว แต่ได้เงินไม่เท่าไรเวลานี้ถ้าเรายอมขายตำรายาให้ชายผู้นั้นก็จะได้เงินถึงร้อยเหรียญ ว่ายังไง ข้าว่าขายให้เขาเถอะ "

           เมื่อชายต่างถิ่นได้ตำรายานั้นไปแล้ว เขาก็ไปถวายกษัตริย์ของรัฐหวูกราบทูลให้พระองค์ผสมยาชนิดนี้ ต่อมาไม่นานรัฐเยียะได้ยกกองทัพมารุกรานรัฐหวู กษัตริย์รัฐหวูได้ตรัสสั่งให้ชายผู้นั้นนำทหารไปรับศึก ระยะนั้นกำลังอยู่ในฤดูหนาวอากาศหนาวจัด กองทหารทั้งสองฝ่ายทำการสู้รบกันทางน้ำ ชายผู้นั้นให้ทหารของรัฐหวูแต่ละคนทายาขี้ผึ้งกันผิวแตก ทหารแต่ละคนจึงคึกคักห้าวหาญทำการรบพุ่งไล่ฆ่าฟันทหารรัฐเยียะแตกพ่ายไปกษัตริย์แห่งรัฐหวูทรงพอพระทัยมาก ได้เอาที่ดินผืนหนึ่งประทานให้เขาเป็นบำเหน็จความดีความชอบ

          ขี้ผึ้งกันผิวหนังแตกชนิดเดียวกัน แต่ฝ่ายหนึ่งได้รับที่ดินเป็นบำเหน็จรางวัล อีกฝ่ายเพียงแต่ใช้ประกอบอาชีพฟอกไหมและด้ายเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากใช้ในที่ต่างกันนั่นเอง ! 


บันทึกใน " จวงจื่อ "