Sunday, September 29, 2013

เลียริดสีดวงได้รถ

เลียริดสีดวงได้รถ

         ในรัฐซ่งมีชายผู้หนึ่งชื่อเฉาซาง กษัตริย์รัฐซ่งได้ส่งให้เขาเป็นฑูตไปที่รัฐฉินเวลาขาออกเดินทาง กษัตริย์ของรัฐซ่งทรงประทานรถให้เขาไปเพียงไม่กี่คัน เมื่อเขาไปถึงรัฐฉิน กษัตริย์ของรัฐฉินทรงพอพระทัยในตัวเขามากจึงประทานรถม้าจำนวนร้อยคันให้แก่เขา

          เมื่อเขาพบจวงจื่อหลังจากกลับมารัฐซ่งแล้วเขาก็กล่าวอย่างภาคภูมิใจว่า " ถ้าพูดเรื่องการอยู่ในตรอกที่โกโรโกโส ยากจนถึงกับต้องถักรองเท้าหญ้ามาใช้อดโซจนคอยาว หน้าตาซูบซีดแล้ว ข้าพเจ้าสู้ท่านไม่ได้แน่ แต่เมื่อได้เข้าเฝ้าพระจักรพรรดิแห่งมหารัฐฉินแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้รับพระราชทานรถม้าเป็นจำนวนมากถึงร้อยคัน นี่คือความสามารถของข้าพเจ้า "

          จวงจื่อกล่าวกับเขาว่า " ข้าพเจ้าได้ฟังมาว่ากษัตริย์ฉินทรงเป็นโรคริดสีดวงที่เวจมรรค พระองค์ทรงแสวงหาคนไปถวายการรักษาพยาบาลอยู่มิได้ขาด ถ้าผู้ใดสามารถทำให้ริดสีดวงแตกก็จะได้รับพระราชทานรถคันหนึ่ง ใครเลียริดสีดวงของพระองค์ก็จะได้รับพระราชทานรถสองคัน ถวายการรักษาพยาบาลยิ่งอุจาดเท่าไร รถที่ได้รับพระราชทานก็จะยิ่งมาก ข้าพเจ้าอยากจะทราบว่าท่านถวายการรักษาพยาบาลริดสีดวงของพระองค์ด้วยวิธีใด เหตุไฉนท่านจึงได้รับพระราชทานรถม้ามามากมายเช่นนี้ ? ทุเรศ ! "

บันทึกใน " จวงจื่อ " 

คู่มือมนุษย์ ( ๖ )

คู่มือมนุษย์ ( ๖ )
คนเรายึดถืออะไร ( เบญจขันธ์ )

          ที่ตั้งแห่งความยึดถือของอุปาทานคือโลก คำว่า " โลก " ในทางธรรมหมายถึง สิ่งทุกสิ่งที่มีอยู่ นับตั้งแต่พรหมจนถึงเปรตอสุรกาย พุทธศาสนาสอนวิธีดูโลกไว้หลายชั้น เช่นให้ดูด้วยการจำแนกโลกออกเป็นฝ่ายวัตถุเรียกว่า " รูปธรรม " กับฝ่ายจิตใจ เรียกว่า " นามธรรม " ส่วนที่เป็นนามธรรมยังแยกออกได้เป็น ๔ ส่วน รวมนามธรรม ๔ ส่วน กับรูปธรรม ๑ ส่วน รวมกันได้เป็น ๕ ส่วน เรียกว่า " เบญจขันธ์หรือขันธ์ห้า " แปลว่า ส่วนที่ประกอบกันขึ้นเป็นโลก คือเป็นสัตว์หรือเป็นคน การดูโลกหมายถึงดูคนโดยเฉพาะ

          นามธรรม ๔ ส่วน จำแนกออกได้ดังนี้

          ส่วนที่ ๑ เรียกว่า " เวทนา " หมายถึงความรู้สึก ๓ ประการ คือ สุข ทุกข์ และ ไม่สุขไม่ทุกข์ อันมีประจำอยู่ในคนเป็นปกติจึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ประกอบขึ้นเป็นคน

          ส่วนที่ ๒ เรียกว่า " สัญญา " แปลว่า รู้พร้อมเป็นความรู้สึกตัวเหมือนกำลังตื่นอยู่คือไม่หลับ ไม่สลบ ไม่ตาย หรือที่เรียกว่าสติสมปฤดี แต่โดยทั่วๆ ไปมักอธิบายกันว่า เป็นความจำเป็นได้หมายรู้ก็ถูกเหมือนกันเพราะหมายความว่ายังไม่เมา ไม่สลบ ไม่หลับ ไม่ตาย ดังกล่าวมาแล้ว

          ส่วนที่ ๓ เรียกว่า " สังขาร " มีหลายความหมาย สังขารที่เป็นส่วนหนึ่งของนามธรรมนี้แปลว่า " ปรุง " ได้แก่กิริยาแห่งการคิดหรือความคิด คำว่าสังขารในที่อื่นหมายถึงบุญกุศลที่ปรุงแต่งคนให้เกิดก็มี หมายถึงร่างกายหรือโครงร่างที่มีใจครองก็มี แต่มีความหมายตรงกันอยู่ว่า เป็นเครื่องปรุงแต่ง

          ส่วนที่ ๔ เรียกว่า " วิญญาณ " หมายถึงตัวจิตที่ทำหน้าที่รู้สึกที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

          โลกในพุทธศาสนา ท่านจำแนกกันอย่างนี้ ผู้ต้องการเข้าใจโลกสมควรสนใจเรื่องขันธ์ห้าให้มากตามสมควร

           ขันธ์ห้า เป็นการยึดเกาะของอุปาทานสี่

Saturday, September 28, 2013

เป็นครูคน

เป็นครูคน

         ลูกศิษย์ ก. ถามฌานาจารย์ฝ่าเยี่ยนว่า " อาจารย์ พระจันทร์ คือ อะไร ? " ฌานาจารย์ฝ่าเยี่ยนชี้นิ้วไปที่ฟ้า

         ลูกศิษย์ ก. ถามอีกว่า " ศิษย์ไม่ได้หมายถึงที่อาจารย์ชี้ แต่ต้องการถามว่าพระจันทร์คืออะไรกันแน่ ? "

         ฌานาจารย์ฝ่าเยี่ยนถามกลับว่า " ไอ้ที่เจ้าไม่ได้ถามน่ะ ที่อาตมาชี้น่ะมันคืออะไร ? "

         ถึงตอนนี้ ลูกศิษย์ ข. เข้ามาร่วมสนทนาอีกคน ลูกศิษย์ ข. ถามว่า " ฉันไม่คิดถามถึงพระจันทร์ ที่ถามคือที่นิ้วชี้ ? "

          ฌานาจารย์ฝ่าเยี่ยนตอบว่า " พระจันทร์ "

          ลูกศิษย์ ข. ไม่เข้าใจ ถามอีกว่า " ที่ฉันถามคือที่นิ้วชี้ เหตุใดอาจารย์จึงตอบว่าพระจันทร์ ? "

          ฌานาจารย์ฝ่าเยี่ยนตอบว่า " ก็เพราะที่เจ้าถาม คือ ที่นิ้วชี้ ! "

The Law of Kamma and the moral justice

The Law of Kamma and the moral justice

        The Law of Kamma has nothing to do with the idea of moral justice religious. Although some scholars try to claim their common origin or confuse them through analogy, there is no justification for such effort.

         To begin with, the theory of moral justice is grounded on the assumption of a Supreme Being or a so - called Creator God, the lawgiver who sits in judgement over all actions. It is he who is believed to mete out justice, giving punishment to sinner and rewards to believers as the case may be. But the meaning of expression " moral justice " in theistic religious is ambiguous. History has shown that much injustice has been made in the name of moral justice.

         The Law of Kamma, on the other hand is a natural law. It is the natural law of cause and effect, of action and reaction. The law of kamma operates on its own, requiring no assumption of God. It has nothing to do with the idea of reward or punishment. The Law of Kamma operates with full and perfect justice.

กฎแห่งกรรมกับกฎศีลธรรม

กฎแห่งกรรมกับกฎศีลธรรม

         กฎแห่งกรรมไม่มีความสัมพันธ์กับกฎศีลธรรมหรือความยุติธรรมทางศีลธรรมในศาสนาเทวนิยม แม้ว่าจะมีผู้รู้บางท่านพยายามที่จะอ้างกฎทั้งสองมีที่มาจากแหล่งเดียวกัน จนทำให้เกิดความสับสนในการยกตัวอย่างเปรียบเทียบ ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรมต่อหลักการในการนำมาอธิบายกฎแห่งกรรมในทางพุทธศาสนา

          สำหรับกฎแห่งศีลธรรมนั้นเป็นทฤษฎีว่าด้วยความยุติธรรมบนฐานความเชื่อของการมีอยู่ของพระผู้เป็นใหญ่ในจักรวาลหรือพระเจ้าผู้สร้างโลก ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ความยุติธรรม พระองค์คือผู้พิจารณาตัดสินการกระทำและผลของการกระทำต่างๆ ของมนุษย์ ทรงเป็นผู้ประทานรางวัลให้กับผู้ทำดีและตัดสินลงโทษผู้ทำชั่วตามควรแก่กรณี ซึ่งคำว่า ความยุติธรรมทางศีลธรรมที่พระเจ้ากำหนดนี้ โดยความเป็นจริงที่เคยปรากฎในประวัติศาสตร์ทางศาสนาที่ผ่านมา ก็เคยมีผู้ที่ได้รับความ " ยุติธรรม " ในนามของความยุติธรรมนี้มาแล้วเป็นจำนวนมิใช่น้อย

Sunday, September 22, 2013

ความรู้สึกของวันนี้ ( เพลงนี้ถูกเขียนขึ้นด้วยความซื่อสัตย์ และความรู้สึกจริงๆ ในห้องเล็กๆ ห้องหนึ่ง )HBD


ความรู้สึกของวันนี้

หยดน้ำที่นอกหน้าต่าง
หมอกขาวและเส้นบางๆ
ลมพัดมาพาฝนโปรยตรงที่เธอเดินผ่าน
กลิ่นหอมของข้าวในจาน
บันทึกที่เขียนประจำวัน คืน ผ่าน ล่วงไป

รองเท้าที่ใช้จนเก่า
เศษเหรียญที่เรายังเก็บ
เพลงของเธอ บนชั้นวาง เพลงที่ไม่เคยเปิด
จดหมายที่เขียนถึงเธอ
ดอกไม้ที่ให้เธอวันสุดท้าย สุดท้าย

ฉันคิดถึงเธออยู่
ทุกช่วงเวลาที่ ยังหายใจ
ฉันคิดถึงเธออยู่
แม้รู้ว่ามันอ่อนแอ เหลือเกิน
คือสิ่งเดียวที่ฉันนั้นรู้สึก
แม้จะเนิ่นนานเท่าไร

ก็เพราะว่าเธอยังอยู่
ก็เพราะว่าเธอยังอยู่ในหัวใจ
ในหัวใจคนที่เธอเคยบอก
ว่ารักเขามากที่สุด
ว่ารักเขามากในสัญญา ที่เอ่ย ถ้อยคำ

ไม่เพียงแค่ฉันรู้สึก
แต่เธอก็คงรู้สึก
วันของเรา เพลงของเรา
เพลงที่เราเคยเปิด
จดหมายที่เขียนถึงกัน
ดอกไม้ที่ให้กันวันสุดท้าย วันสุดท้าย

ฉันคิดถึงเธออยู่
ทุกช่วงเวลาที่ ยังหายใจ
ฉันคิดถึงเธออยู่
แม้รู้ว่ามันอ่อนแอ เหลือเกิน
คือสิ่งเดียวที่ฉันนั้นรู้สึก
แม้จะเนิ่นนานเท่าไร

ฉันคิดถึงเธออยู่
ทุกช่วงเวลาที่ ยังหายใจ
ฉันคิดถึงเธออยู่
แม้รู้ว่ามันอ่อนแอ เหลือเกิน
มันยังคงชัดเจนทุกอย่าง
และยังมีแค่เธอเท่านั้น
แม้จะเนิ่นนานเท่าไร




By LOMOSONIC

Saturday, September 21, 2013

ได้ดีหรือตกต่ำไม่ตระหนก จะอยู่หรือจะไปไม่กังวล




ได้ดีหรือตกต่ำก็ไม่พรั่นพรึง
เดินชมดอกไม้ที่ลานบ้านเหมือนเคย
จะอยู่หรือจะไปก็ไม่วิตก
ลอยลิ่วปลิวตามก้อนเมฆบนท้องฟ้า

นิทัศน์อุทาหรณ์
เทวดาในจอกเหล้า

          คนคนนี้ เราเคยได้ยินชื่อเขามาบ่อยครั้ง ตอนนี้อยากจะมาพูดถึงเขาให้ฟังอีก เขาคือหลี่ไป๋ ซึ่งถือกันว่าคงจะเป็นเทพเจ้าแห่งกวีจุติลงมาเกิดในเมืองมนุษย์

          อำนาจวาสนาและทรัพย์ศฤงคารซึ่งเป็นที่หมายปองแก่คนทั่วไปว่าสำหรับหลี่ไป๋แล้ว เป็นเพียงก้อนเมฆที่ลอยผ่านไปบนฟ้า มีก็ได้ ไม่มีก็ได้

          แต่ไหนแต่ไรมา หลี่ไป๋ไม่เคยยินดีปรีดาไปกับเกียรติยศชื่อเสียงใดๆ ทั้งสิ้น และก็ไม่เคยตื่นตระหนกต่อการดูหมิ่นถิ่นแคลน ถือมันเป็นดอกไม้ที่ลานบ้าน บานแล้วก็โรย โรยแล้วก็บานอีก เป็นธรรมดาสามัญอย่างยิ่ง เขาเป็นเพียงคนว่างที่พอใจจะชมดอกไม้เท่านั้น เป็นขุนนางสมหวังในราชสำนักอย่างดี กลับไปหาความวิเวกในป่าเขาก็ดี เป็นเพียงก้อนเมฆบนท้องฟ้าสีครามปล่อยให้มันลอยละล่องไปมาตามความพอใจ ไม่เคยเห็นเป็นอารมณ์เลย

Friday, September 20, 2013

คู่มือมนุษย์ ( ๕ )

คู่มือมนุษย์ ( ๕ )
ขั้นของการปฏิบัติศาสนา ( ไตรสิกขา )

        วิธีที่จะตัดอุปทานตามหลักพุทธศาสนา มี ๓ ชั้น เรียกว่า ไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา

         ศีล หมายถึง การประพฤติดีประพฤติถูก ตามหลักทั่วๆ ไป ในอันที่ไม่ทำตนและคนอื่นให้เดือดร้อนจำแนกเป็นศีลห้า ศีลแปด ศีลสิบ ศีล ๒๒๗ เป็นต้น รวมใจความก็คือ การปฏิบัติเพื่อความสงบเรียบร้อยปราศจากโทษชั้นต้นๆ ที่เป็นไปทางกายวาจาเกี่ยวกับสังคมและส่วนตัว หรือสิ่งของต่างๆ ที่จำแนกแก่การเป็นอยู่

         สมาธิ ได้แก่การบังคับจิตใจของตัวไว้ในสภาพที่จะใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดตามที่ตนต้องการ ลักษณะที่ใจแน่วแน่ หรือสงบบริสุทธิ์ ยังไม่ใช่ความหมายที่แท้จริงของสมาธิ พระองค์ทรงแสดงลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิของคำอีกคำหนึ่งซึ่งสำคัญที่สุดคือคำว่า " กมฺมนีโย " แปลว่า สมควรแก่การทำการงาน คำนี้เป็นคำสุดท้ายที่ทรงแสดงลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิ

          ปัญญา หมายถึงการฝึกฝนอบรม ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจอันถูกต้องและสมบูรณ์ถึงที่สุด ในสิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริง คนเราตามปกติไม่สามารถรู้อะไรๆ ให้ถูกต้องตามที่เป็นจริง คือมักถูกตามที่เข้าใจเอาเอง หรือตามที่สมมติกัน มันจึงไม่ใช่ตามที่เป็นจริง ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนาจึงมีระเบียบปฏิบัติที่เรียกว่าปัญญาสิกขาขึ้่นอีกส่วนหนึ่งเป็นส่วนสุด สำหรับจะได้ฝึกฝนอบรมให้เกิดความเข้าใจเห็นแจ้งในสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริงโดยสมบูรณ์

         คำว่า " ความเข้าใจ " กับคำว่า " ความเห็นแจ้งนั้น " ในทางธรรมไม่เป็นอันเดียวกัน ความเข้าใจเป็นเพียงความรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการคิดคำนวณอนุมานเอาตามหลักแห่งเหตุผล ส่วนความเห็นแจ้ง หมายถึงความรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการอบรมบ่มจิต ด้วยการพิจารณาให้ซึมซาบในสิ่งต่างๆ จนเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายไม่หลงใหลในสิ่งนั้นๆ ด้วยใจจริง ปัญญาสิกขาตามหลักพุทธศาสนา จึงไม่ได้หมายถึงปัญญาที่เป็นไปตามอำนาจเหตุผล แต่ต้องเป็นการรู้แจ้งเห็นด้วยใจจริงจนฝังแน่นไม่ลืม การพิจารณาในทางปัญญาตามสิกขาข้อนี้จึงจำต้องใช้สิ่งต่างๆ ที่ผ่านมาในชีวิตของเราเองเป็นเครื่องพิจารณาให้เห็นว่า สิ่งเหล่านั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยใจจริง จนเกิดความสลดสังเวชเบื่อหน่ายในสิ่งเหล่านี้ ถ้าเป็นแต่เพียงความเข้าใจจะไม่เบื่อหน่าย ต้องเห็นแจ้งจึงจะเบื่อหน่าย เพราะเป็นของคู่กัน

Wednesday, September 18, 2013

ขโมยได้สะดวก

ขโมยได้สะดวก

         นานมาแล้ว มีเศรษฐีขี้ตระหนี่คนหนึ่ง เป็นทุกข์เป็นร้อนกังวลว่า ทรัพย์สินของตนจะถูกคนขโมยไปเขาจึงจ้างคนสานหีบหวาย ต่อหีบไม้และสานกระบุงให้เขา แล้วเขาก็เอาเงินทอง เสื้อผ้า และของจิปาถะใส่ไว้ในหีบและกระบุงเหล่านั้น หลังจากจัดใส่เรียบร้อยแล้ว เขาก็ยังไม่ค่อยจะวางใจนัก จึงหากุญแจมาใส่และเอาเชือกมัดอย่างแน่นหนาอีกชั้นหนึ่ง เสร็จแล้วก็ขนไปวางไว้ในห้อง เขาจะมาสำรวจตรวจสอบดูวันละหลายครั้ง คนในหมู่บ้านต่างก็พูดกันว่า เศรษฐีคนนี้เป็นคนที่ฉลาดรอบคอบเหลือเกิน

           วันหนึ่งในคืนข้างแรม ขโมยได้เจาะกำแพงเข้าไปในบ้านของเศรษฐีแล้วพากันขนทรัพย์สินของเศรษฐีคนนั้นไป ขณะที่ขโมยขนของออกไปจากบ้านนั้นตอนแรกยังกังวลจะมีอะไรตกหล่นให้เห็นร่องรอยแต่เมื่อตรวจดูแล้วเห็นว่าหีบห่อล้วนใส่กุญแจและมัดอย่างแน่นหนาก็พากันขนออกไปอย่างสบายใจ

           วันรุ่งขึ้น พอเศรษฐีตื่นนอนเข้ามาในห้องที่เก็บทรัพย์สิน เห็นแต่ห้องที่ว่างเปล่าก็เสียใจจนเป็นลมสิ้นสติไป เมื่อชาวบ้านรู้เรื่องเข้า ต่างพากันหัวเราะและกล่าวว่า ความฉลาดของเศรษฐีเฒ่าผู้นี้ได้กลายเป็นอำนวยความสะดวกให้แก่พวกหัวขโมยไปเสียแล้ว

Sunday, September 15, 2013

ถ่มน้ำลายรดฟ้า

ถ่มน้ำลายรดฟ้า

          บทนี้เชื่อว่าคนไทยนั้นก็คงคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี หมายถึงว่าอะไรก็ตามที่ต้องการจะกระทำต่อคนอื่นในทางที่ไม่ดี แต่แล้วมันจะวกกลับมาหาเราในที่สุด

Saturday, September 14, 2013

ว่างและไม่ว่าง

ว่างและไม่ว่าง

         ครั้งหนึ่ง ฌานาจารย์หยั่งซานเดินทางไกลไปหลบร้อน หลังกลับมาแล้ว หลวงพ่อเหว่ยซานหลิงอิ้วถามท่านว่า " ไม่เห็นหน้าตลอดฤดูร้อนนี้เจ้าทำอะไรบ้าง ? "

          หยั่งซานตอบว่า " ไถที่ไปแปลงหนึ่ง หว่านเมล็ดพืชไปตะกร้าหนึ่ง " 

          หลวงพ่อชมว่า " ถ้าเช่นนั้น หน้าร้อนนี้เจ้าไม่ได้อยู่เปล่าๆ "

          ผ่านไปครู่หนึ่ง หยั่งซานถามด้วยความเอาใจใส่ว่า " หลวงพ่อหน้าร้อนนี้ หลวงพ่อทำอะไร ? "

          หลวงพ่อตอบสบายๆ ว่า " กลางวันฉันข้าว กลางคืนนอนพัก "

          หยังซานตอบด้วยน้ำเสียงชมเชยว่า " ถ้าเช่นนั้น หน้าร้อนนี้หลวงพ่อก็ไม่ได้อยู่เปล่าๆ "

Friday, September 13, 2013

What is Kamma ?

What is Kamma ?

         Kamma [ Pali ] or Karma [ Sanskrit ] is derived from the root " kham ". It  means to do, to commit or to perform. Literally, kamma means action, something we do or perform. According to the Buddhist doctrine, not all actions are designated kamma.

          " Only those actions that are volitionally motivated by intention or cetana, under a mental factor [ cetasik ] of consciousness are called Kamma.

           For example, the simple act of eating or drinking is not kamma because it is indeterminate action by nature. But eating with mindfulness and clarity of mind as a form of meditative practice is wholesome deed or kamma. Drinking intoxicants that cloud the mind and produce heedlessness is morally unwholesome, as is borne out by the crime or violence that are associated with such consumption.

Wednesday, September 11, 2013

กรรมคืออะไร

กรรมคืออะไร

           กรรม หมายถึง การกระทำ การปฏิบัติ การประกอบการ มาจาก คำว่า กัมมะ ในภาษาบาลี และ กรรม ในภาษาสันสกฤต ตามคำสอนทางพุทธศาสนา การกระทำทั้งหมดไม่จำเป็นต้องเป็นกรรมเสมอไป

           " โดยนิยามแล้ว คำว่า กรรม หมายถึงเฉพาะการกระทำทั้งหลายที่เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นของความตั้งใจหรือเจตนาอันเป็นปัจจัยในการควบคุมวิญญาณ ที่เรียกว่า เจตสิก "

            เช่น การกิน การดื่ม โดยปกติทั่วไปไม่เรียกว่า กรรม แต่การกินดื่มอย่างมีสติสัมปชัญญะถือว่าเป็นกรรมดี การดื่มสุรายาเมาสารเสพติดให้โทษ ทำให้จิตใจมัวหมองตั้งอยู่ในความประมาท เป็นหนทางนำไปสู่การก่ออาชญากรรม ความรุนแรง การดื่มในลักษณะเช่นนี้ถือว่าเป็นกรรมชั่ว

           ศาสตราจารย์ คาร์ล ยุง นักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียง ยอมรับหลังจากได้ศึกษาทางด้านศาสนาเปรียบเทียบ โดยกล่าวว่า

           " จากการศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า พุทธศาสนามีความสมบูรณ์ที่สุดในโลก ปรัชญาพุทธ ทฤษฎีว่าด้วยวิวัฒนาการ และกฎแห่งกรรม มีคุณค่าสูงกว่าหลักความเชื่ออื่นๆ เป็นอันมาก "

           กฏแห่งกรรม ตั้งอยู่บนกฏแห่งเหตุปัจจัย เป็นกฏธรรมชาติทางด้านศีลธรรม ที่ยืนยันว่า การกระทำกรรม ย่อมก่อให้เกิดวิบากผลมากน้อยตามอัตราส่วนของเจตนาหรือเจตจำนงในการกระทำนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมที่ก่อให้เกิดความดีงาม ความสุข หรืออกุศลกรรมที่ก่อให้เกิดผลในทางตรงข้ามก็ตาม

Tuesday, September 10, 2013

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๔๐ )


เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๔๐ )
วันมาฆบูชา

          วันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญทางศาสนาวันหนึ่ง ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ( ประมาณสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ หรือไม่ก็ต้นเดือนมีนาคม ) 

          วันนี้เป็นวันที่มีการประชุมครั้งใหญ่ ( จาตุรงคสันนิบาต ) อันมีความมหัศจรรย์ ๔ ประการในครั้งพุทธกาล กล่าวคือ 

           ๑. ภิกษุจำนวน ๑,๒๕๐ องค์มาจากที่ต่างๆ กันเพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เวฬุวันวิหาร ในกรุงราชคฤห์ เมืองมคธ แต่ละองค์ก็เดินทางมาเอง โดยมิได้มีการนัดหมายกันล่วงหน้าแต่ประการใด

           ๒. พระภิกษุทั้งหมด ล้วนแต่เป็นผู้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุกๆ องค์

           ๓. พระภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ทั้งสิ้น

           ๔. ในวันนี้เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ

          ในเย็นวันนั้น พระพุทธเจ้าทรงถือโอกาสนี้แสดงโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งมีใจความอันป็นหลักของพุทธศาสนา กล่าวคือ ทำแต่ความดี ไม่ทำความชั่วและทำจิตให้บริสุทธิ์

Monday, September 09, 2013

Thailand " Land of Smile " ( Part 40 )

Thailand " Land of Smile " ( Part 40 )
Magha Puja Day

         Magha Puja Day is one of the most important Buddhist celebrations which falls on the full moon day of the third lunar month ( about the last week of February or early March ).

          This day mark the great four events that took came to places during Lord Buddha's lifetime, namely ;

           1. 1250 Buddhist monk from different places came to pay homage to Lord Buddha at Veluwan Vihara in Rajgaha, the capital of Magaha State, each on his own initiative and without prior notification or appointment .

           2. all of them were the enlightened monks ( or Arahantas )

           3. all of them had been individually ordained by Lord Buddha himself ( Ehi Bhikkhu ), and

           4. They assembled on the full moon day of the third lunar month.

          On the evening of that day, Lord Buddha gave the assembly a discourse " Ovadha Patimokha " laying down the principles of His Teachings summarised into three acts. i.e. to do good, to abstain from bad action and to purify the mind.

Saturday, September 07, 2013

สัตว์ร้ายปราบง่าย ใจคนสยบยาก




เห็นความพินาศของซีจิ้น ยังโอ้อวดอาวุธคม
จะหลงลุ่มอยู่รอมร่อ ยังเป็นห่วงทองคำ
วจีที่ว่า
ล่ำสัตว์เชื่องง่าย ใจคนสยบยาก
แม่น้ำลำคลองถมง่าย ใจคนเต็มยาก
น่าเชื่อยิ่งนัก มิผิดเลย

นิทัศน์อุทาหรณ์
วาระสุดท้ายของฮ่องเต้

         ท่านคงจะเคยฟังเรื่องราวของกษัตริย์โฉดเขลาเบาปัญญาแบบนี้มาก่อนเป็นแน่ พระเจ้าฮุ่ยตี้แห่งราชวงศ์จิ้นเมื่อทรงทราบว่าราษฎรอดอยากไม่มีข้าวจะกินก็ตกใจ ถามขุนนางที่เฝ้าแหนอยู่ทั้งซ้ายขวาว่า " ไม่มีข้าวกินทำไมไม่กินเนื้อล่ะ ? "

         พระเจ้าอู่ตี้ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ก่อนหน้านั้น ยิ่งเหลวไหลไร้สาระไปกว่านั้น มีสาวๆ อยู่ในวังถึงหมื่นกว่าคน แต่ละวันก็ทรงเป็นทุกข์อยู่แต่ว่า คืนนี้จะไปนอนกับนางสนมคนไหนดี ? อัครมหาเสนาบดีของพระองค์ก็เหลวไหลพอๆ กัน อาหารที่กินในจวนของอัครมหาเสนาบดีแต่ละวัน พอที่จะให้ราษฎรหนึ่งพันคนกินเป็นเวลาถึงเดือนหนึ่งเต็มๆ !

ความโอบอ้อมอารี... เพื่อทุกคน

ความโอบอ้อมอารี... เพื่อทุกคน

          การมีใจที่ดีและโอบอ้อมอารีต่อผู้อื่นนั้นไม่เพียงแต่ทำให้บังเกิดผลแก่ผู้อื่นเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้ที่มีใจโอบอ้อมอารีต่างก็ได้รับสิ่งดีงามกลับมาจากการกระทำของตนด้วยไม่ว่าวันใดก็วันหนึ่ง คือความหมายของปรัชญาข้อนี้

           จริงเสมอในโลกแห่งการตอบแทน นอกจากจะเป็นผู้ให้แล้วก็ยังสามารถเป็นผู้รับได้พร้อมกัน

           เรื่องของคนสองคนที่มีความรักและเอื้ออาทรต่อคนในชาติและแผ่นดินเกิด ในวันที่ประเทศญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ ๒ บ้านเรือนถูกระเบิดพังพินาศเทคโนโลยีต่างๆ ถูกทำลายย่อยยับ ไม่รวมถึงหัวใจของคนญี่ปุ่นต้องแตกสลายกลายเป็นเรื่องที่คนญี่ปุ่นพูดกันมากที่สุดในห้วงเวลาหนึ่ง

           มาซารุ อิบุกะ และ อากิโอะ โมริตะ พบกันครั้งแรกในงานประชุม การค้นคว้าอาวุธใหม่ในช่วงสงคราม ด้วยทัศนคติที่ดีของคนทั้งคู่ ภายหลังทั้งสองคนได้กลายเป็นเพื่อนสนิทกัน แม้ว่าอิบุกะจะมีอายุมากกว่าโมริตะถึง ๑๐ ปี ความห่างกันของอายุไม่ใช่เป็นเรื่องสำคัญต่อมิตรภาพของคนทั้งสอง

          ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ มาซารุ อิบุกะ ได้กลับไปยังเมืองโตเกียวหลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง ห้องเล็กๆ แคบๆ ที่ตั้งอยู่บนชั้นสามของห้างสรรพสินค้าชิโนคิยะในนิฮอมบาชิ กลายเป็นห้องทำงานของอิบุกะและทีมงานซึ่งภายหลังเขาก็ได้ อากิโอะ โมริตะ มาร่วมงานด้วย

Friday, September 06, 2013

คู่มือมนุษย์ ( ๔ )

คู่มือมนุษย์ ( ๔ )
อำนาจของความยึดถือ ( อุปาทาน )

         การที่จะถอนตัวออกจากสิ่งทั้่งหลายที่เป็นอนิจจัง ทกขัง อนัตตา ต้องศึกษาให้รู้ว่ามีต้นเหตุมาจาก " ความอยาก " เมื่อมีความอยากในสิ่งใด ความยึดถือย่อมมีในสิ่งนั้น นั่นคือความอยาก เป็นต้นเหตุของความยึดถือสิ่งที่เรียกว่า " ความยึดถือ " ได้แก่  " อุปาทาน " ซึ่งจำแนกเป็น ๔ ประการ คือ กามุปาทาน การยึดถือในของรักของใคร่ทั่วไป ทิฏฐุปาทาน การยึดทิฏฐิความคิดเห็นของตน สีลัพพตุปาทาน การยึดถือในวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่ตนเคยกระทำมาอย่างงมงาย อัตตาวาทุปาทาน การยึดถือด้วยการกล่าวว่าเป็นตัวเป็นตน

         กามุปาทาน ( การยึดมั่นในกาม ) หมายถึง ความรู้สึกติดพันสนุกสนานเพลิดเพลิน เอร็ดอร่อย ในวัตถุหรืออารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความรักใคร่พอใจ จำแนกได้เป็น ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ การยึดมั่นในกามเป็นเหตุให้เกิดความพินาศฉิบหายนานาประการ การอุตสาห์เล่าเรียนเพื่อประกอบอาชีพ การขวนขวายทำกิจการงานทุกอย่าง ก็สืบเนื่องมาจากกามารมณ์ แม้การทำบุญให้ทานเพื่อไปสวรรค์ ก็มีมูลมาจากกามารมณ์ โดยเหตุนี้จึงเห็นได้ว่า ความยุ่งยากปั่นป่วนของโลกมีมูลมาจากกามารมณ์ หรือกามุปาทานทั้งสิ้น

           ถ้าว่าอย่างโลกๆ กามุปาทานกลับมีประโยชน์เพราะทำให้ความรักครอบครัว ให้ขยันขันแข็งในการแสวงหาทรัพย์สมบัติและชื่อเสียง เป็นต้น แต่เมื่อมองในทางธรรมกลายเป็นทางมาแห่งความทุกข์ทรมานอันเร้นลับ ฉะนั้นกามุปาทานจึงเป็นสิ่งที่ต้องควบคุม และละให้ได้ในที่สุด

         ทิฏฐุปาทาน ( การยึดมั่นในทิฏฐิ ) หมายถึงการยึดมั่นในความเห็นของตนจนเกิดการถือรั้น ซึ่งมีโทษร้ายกาจไม่น้อยกว่ากามุปาทาน ถ้ายึดมั่นในความคิดความเห็นเดิมของตน เราจำเป็นจะต้องปรับปรุงทิฏฐิให้ถูกให้ดีให้สูงขึ้นเสมอ คือจากมิจฉาทิฏฐิ ให้กลายเป็น สัมมาทิฏฐิ และยิ่งๆ ขึ้น จนเห็นอริยสัจในที่สุด

ฉันข้าวพักผ่อน

ฉันข้าวพักผ่อน

          ฌานาจารย์หยุนจฺวีไปเยือนฌานาจารย์ต้งซานเหลียงเจี้ยถามท่านว่า " อาจารย์ ขอถามหน่อย ทุกวันนี้ท่านฉันอะไร ? "

           ฌานจารย์ต้งซานตอบโดยไม่ต้องคิดว่า " ฉันข้าวทุกวัน แต่ไม่เคยฉันข้าวแม้แต่เม็ดเดียว ดื่มน้ำชาทุกวัน แต่ไม่เคยดื่มน้ำชาแม้แต่หยดเดียว "

           หยุนจฺวีได้ฟังดังนั้น ก็ตอบด้วยความพอใจ พลางตอบว่า " อาจารย์ ท่านได้ฉันข้าวฉันน้ำอย่างแท้จริงทุกวัน "

           พวกเรากินอะไรทุกวันหรือ ? ที่กินเข้าไป ล้วนมิได้กินอย่างแท้จริงเพราะได้กินหรือไม่ได้กิน ล้วนเป็นปัญหาเกิดดับ กินโดยไม่กิน ไม่กินโดยกิน หมายถึงจากการกระทำสู่การไม่กระทำ จากมีลักษณ์สู่ไร้ลักษณ์ จากการเกิดดับสู่การไม่เกิดดับ ดังสำนวนที่ว่า " ผ่านสวนบุปผชาติ ไม่สัมผัสแม้กลีบดอกเดียว "

สวยไม่ดี ขี้เหร่เยี่ยม

สวยไม่ดี ขี้เหร่เยี่ยม

         ครั้งหนึ่ง หยางจื่อ นักปรัชญามีชื่อในระยะต้นของสมัยจ้านกว๋อ ( ๔๗๕-๒๑๑ ปีก่อนคริสตกาล ) เดินทางไปรัฐซ่ง ค่ำวันหนึ่งขณะที่เขาพักแรมอยู่ในโรงเตี้ยมนั้นเขาสังเกตเห็นว่าโรงเตี้ยมมีหญิงสาวอยู่สองคน คนหนึ่งรูปโฉมสวยสำอางค์ ส่วนอีกคนหนึ่งรูปร่างขี้เหร่ แต่คนทั้งหลายในโรงเตี้ยมกลับนิยมชมชอบและแสดงท่าทีให้ความยกย่องแก่สาวที่รูปร่างขี้เหร่และมองหญิงสาวที่รูปร่างสวยงามด้วยสายตาที่ดูหมิ่นและเหยียดๆ

          หยางจื่อสังเกตเห็นเช่นนั้น รู้สึกแปลกใจจึงถามคนที่ทำงานในโรงเตี้ยมว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้นชายที่ทำงานในโรงเตี้ยมได้กระซิบบอกเขาว่า " สาวที่รูปร่างสวยงามนั้นคิดว่าตนเองสวย แต่ข้าพเจ้ากลับไม่รู้สึกว่าเธอสวยที่ตรงไหน ส่วนคนที่รูปร่างขี้เหร่นั้น เธอรู้ว่าตัวเองไม่สวย แต่ข้าพเจ้ากลับไม่รู้สึกว่าเธอไม่สวยตรงไหน "

          หยางจื่อฟังแล้วนิ่งคิดอยู่ครู่หนึ่งจึงพูดขึ้นว่า " ข้าพเจ้าเข้าใจแล้วผู้ที่ทำความดีแล้วไม่ถือว่าตนทำความดี คนชนิดนี้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนย่อมเป็นที่ต้อนรับของคนทั้งหลาย "


บันทึกใน " จวงจื่อ "

Tuesday, September 03, 2013

Understanding the Law of Kamma

Understanding the Law of Kamma

         As we know, the natural course of things is called in common term - The Law of nature or the Order of Norm, referring to the fact that specific determinant inevitably leads to corresponding result. It uniformly bases on the principle of causal dependence. The Buddhist commentaries describe five categories of natural law, and of course, the law of kamma is included. There are;

          1. Utuniyama, the natural law pertaining to physical objects and changes in the natural environment such as the changes brought about by heat or temperature.

          2. Bijaniyama, the natural law pertaining to heredity which is best described in the adage " as a seed, so a fruit. "

          3. Cittaniyama, the natural law pertaining to the function of the mind such as the process of cognition of sense objects and the mental reaction to them, resulted from intentional and unintentional actions.

          4. Kammaniyama, the natural law relating to the human behavior, the process of generation of action and its result. In essence, this is summarized in the words " good deed bring good result, bad deed brings bad result. " Notice that it is intentional action only is considered as kamma.

          5. Dhammaniyama, the natural law governing the relationship and interdependence of all things. The way all things arise, exist, and then cease. All conditions are subject to change.

          If we believe that the world is partly in control of nature and partly in control of human beings, the answer is , that, other Niyama are entirely nature's domain while kammaniyama is the human responsibility, both in personal and social levels.

Monday, September 02, 2013

ความเข้าใจในกฎแห่งกรรม

ความเข้าใจในกฎแห่งกรรม

         เราทราบแล้วว่า ในทางพุทธศาสนา สิ่งต่างๆ ทั้งหลายย่อมตกอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎธรรมชาติด้วยกันทั้งสิ้น กฎธรรมชาติคือกฎแห่งเหตุปัจจัยนำเหตุไปสู่ผล แบ่งออกเป็น ๕ อย่างซึ่งภายใน ๕ อย่างนั้นมีกฎแห่งกรรมรวมอยู่ด้วย ดังนั้นผลของกรรมหรือวิบากที่ได้รับอาจขึ้นอยู่กับการกระทำกรรมเพียงอย่างเดียว หรืออาจตกอยู่ใต้เหตุปัจจัยอันเนื่องมาจากกฎข้ออื่นเช่นเดียวกันกฎธรรมชาติที่ว่านี้ประกอบด้วย

         ๑. อุตุนิยาม กฎธรรมชาติหรือกฎทางฟิสิกส์ที่คอยควบคุมการเปลี่ยนแปลงวัตถุธรรมทั้งหลาย เช่น ความร้อนหรืออุณหภูมิ ดังที่เราเคยเรียนรู้ในทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป

          ๒. พีชนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับทางชีววิทยาที่ควบคุมสิ่งที่มีชีวิต เช่นกฏทางด้านพันธุกรรม ดังที่พุทธศาสนานำมาอธิบายในเรื่องผลของกรรมด้วยสุภาษิตที่ว่า " ปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ใด ย่อมให้ผลพันธุ์นั้น " เสมอ 

         ๓. จิตนิยาม กฎธรรมชาติว่าด้วยการทำงานของจิต ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ เกิดเป็นเวทนาหรือกระบวนการในการรับรู้ตลอดจนเป็นสังขารปรุงแต่งทั้งหลายภายใต้การควบคุมของกิเลสตัณหาต่างๆ ที่เรียกว่าเจตสิก ทั้งดี ชั่ว และเป็นกลางๆ

         ๔. กรรมนิยามหรือกฎแห่งกรรม เป็นกฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับการกระทำ ( กรรม ) และผลของการกระทำ ( วิบาก )  ที่เกิดจากความตั้งใจหรือเจตนา เป็นกฎที่ควบคุมและก่อให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์

          ๕.ธรรมนิยาม เป็นกฎธรรมชาติข้อใหญ่ที่รวมสิ่งที่อยู่นอกเหนือกฎข้ออื่นๆ ไว้ทั้งหมด เป็นตัวควบคุมสรรพสิ่งทั้งหลายให้อยู่อย่างสัมพันธ์หรือเป็นเหตุปัจจัยต่อกันด้วยการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ตามกฎไตรลักษณ์